โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ส่องทิศทาง “ราคาทองคำ” (31 มี.ค-4 เม.ย.68 ) ผู้เชี่ยวชาญ-นักลงทุน คาดราคาปรับขึ้น

การเงินธนาคาร

อัพเดต 31 มี.ค. เวลา 11.17 น. • เผยแพร่ 31 มี.ค. เวลา 03.05 น.

ศูนย์วิจัยทองคำ เปิดผลสำรวจทิศทาง "ราคาทองคำ" สัปดาห์นี้ (31 มี.ค-4 เม.ย.68 ) ผู้เชี่ยวชาญ-นักลงทุน คาดราคาปรับขึ้น แนะมาตรการภาษีตอบโต้ของสหรัฐที่จะมีผลบังคับใช้ในสัปดาห์นี้

วันที่ 31 มีนาคม 2568 ศูนย์วิจัยทองคำ เปิดผลสำรวจมุมมองต่อทิศทางราคาทองคำในประเทศรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 31 มี.ค -4 เม.ย.68 จากการสำรวจ GRC Gold Survey พบว่า

14 ผู้เชี่ยวชาญในตลาดทองคำที่ได้มีส่วนร่วมตอบแบบสำรวจ ในจำนวนนี้มี 7 ราย หรือเทียบเป็น 50% คาดว่าราคาทองคำในสัปดาห์หน้าจะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนจำนวน 4 ราย หรือเทียบเป็น 29% คาดว่าราคาทองคำจะลดลง และ จำนวน 3 ราย หรือเทียบเป็น 21% คาดว่าราคาทองคำจะใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา

สำหรับนักลงทุนทองคำ ได้เข้าร่วมตอบแบบสำรวจ จำนวน 320 ราย ในจำนวนนี้มี 239 ราย หรือเทียบเป็น 75% คาดว่าราคาทองคำในประเทศของสัปดาห์หน้าจะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนจำนวน 45 ราย หรือเทียบเป็น 14% คาดว่าราคาทองคำจะลดลง และ จำนวน 36 ราย หรือเทียบเป็น 11% คาดว่าราคาทองคำจะใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โดยสถานการณ์ราคาทองคำนั้น ราคาทองคำแท่งในประเทศ 96.5% ตามประกาศ สมาคมค้าทองคำ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 48,450 – 49,600 บาท ต่อบาททองคำ โดยราคาทองคำปิดอยู่ที่ระดับ 49,600 บาท ต่อบาททองคำ เพิ่มขึ้น 1,100 เมื่อเปรียบเทียบกับราคาปิดของสัปดาห์ก่อนหน้า (สัปดาห์ก่อนหน้าปิดที่ 48,500 บาท)

ทั้งนี้ปัจจัยที่ต้องติดตามดังนี้

1. มาตรการภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariff) เป็นการกำหนดมาตรการภาษีตอบโต้ของ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะมีการประกาศในวันที่ 2 เมษายน 2568 นโยบายดังกล่าวจะเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะผลกระทบต่อประเทศคู่ค้าอย่างจีนและยุโรป

2. นโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ความไม่แน่นอนทางนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ ส่งผลให้ FED ยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบระมัดระวัง หากเศรษฐกิจเริ่มได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีและความตึงเครียดทางการค้า FED อาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้

3. รายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ ดัชนี ISM และ PMI ภาคการผลิต/ภาคบริการ, ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน, ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร, อัตราการว่างงานเดือน มีนาคม 2568 และตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

อ่านข่าว การเงิน-อัตราแลกเปลี่ยน-ราคาทอง ทั้งหมด ได้ที่นี่