ศูนย์จีโนมฯ เปิดข้อมูล โอมิครอนลูกผสม XBB.1.5 โควิดสายพันธุ์ใหม่ที่น่ากังวลมากที่สุด คาดหลบภูมิคุ้มกันวัคซีน mRNA
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้เปิดเผยข้อมูลผ่านทางเพจ Center for Medical Genomics ถึงเรื่อง โควิด-19 สายพันธุ์อุบัติใหม่ที่ "น่ากังวลมากที่สุด" ในปัจจุบันคือโอมิครอนลูกผสม “XBB.1.5” >>>ตอนที่ 2<<<
ศ. นพ. เดวิด โฮ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ แอรอน ไดมอนด์ (Aaron Diamond AIDS Research Center, ADARC) แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และทีมวิจัยแสดงให้เห็นว่า
- โอมิครอน BQ.1 สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน mRNA ร่วมกับการติดเชื้อโอมิครอนตามธรรมชาติได้ดีกว่าไวรัสโควิด-19ดั้งเดิม(อู่ฮั่น)ประมาณ 24 เท่า
- BQ.1.1 สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน mRNA ร่วมกับการติดเชื้อโอไมครอนตามธรรมชาติได้ดีกว่าไวรัสโควิด-19 ดั้งเดิม(อู่ฮั่น)ประมาณ 44 เท่า
- XBB สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน mRNA ร่วมกับการติดเชื้อโอมิครอนตามธรรมชาติได้ดีกว่าไวรัสโควิด-19ดั้งเดิม(อู่ฮั่น)ประมาณ 90 เท่า
- XBB.1 สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันอันเกิดจากการฉีดวัคซีน mRNA ร่วมกับการติดเชื้อโอไมครอนตามธรรมชาติได้ดีกว่าไวรัสโควิด-19ดั้งเดิม(อู่ฮั่น)ประมาณ 104 เท่า
และที่น่าสนใจคือภูมิคุ้มกันที่ดีมีประสิทธิภาพในการป้องกันโอมิครอนสูงสุดในขณะนี้คือภูมิคุ้มกันลูกผสมที่ได้จากการฉีดวัคซีนร่วมกับการติดเชื้อตามธรรมชาติ
ยังไม่มีข้อมูลการนำโอมิครอน XBB.1.5 มาทดสอบกับซีรัมคนไข้ แต่จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมพบว่า XBB.1.5 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) สูงกว่า XBB.1 ถึง 105% ทำให้คาดได้ว่าโอมิครอน XBB.1.5 น่าหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันอันเกิดจากการฉีดวัคซีน mRNA ร่วมกับการติดเชื้อโอไมครอนตามธรรมชาติได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้
อาศัยการคำนวณจากรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมที่เปลี่ยนแปลงไปของโอมิครอนสายพันธุ์ต่างๆ พบว่าสัดส่วนค่าการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน (แกนตั้ง) เทียบกับค่าการจับกับปุ่ม ACE-2 receptor บนผิวเซลล์ (แกนนอน) สูงที่สุดในปัจจุบัน บ่งชี้ว่าโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยอุบัติใหม่ XBB.1.15 น่าจะมีอัตราการแพร่ระบาดสูงสุดในปัจจุบัน
จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นักวิจัยต้องเร่งพัฒนาวัคซีนและยาต้านไวรัสรุ่นใหม่ที่ board-spectrum คือสามารถต่อต้านหรือยับยั้งโอมิครอนสายพันธุ์ในปัจจุบันและที่จะอุบัติขึ้นในอนาคตได้
- อุตุฯ แจงแล้ว พายุไต้ฝุ่นยักษ์ เตรียมเข้าไทย ฝนตกหนักถึงสิ้นปี จริงหรือไม่
- สาวงัดไม้เด็ดไล่แฟนกลับบ้านดึก ให้นอนนอกบ้าน งานนี้สว่างคาตา
- กระทรวงแรงงาน เปิดรับสมัครงาน ทำงานที่บ้าน ล่าสุดมีการชี้แจงแล้ว
สำหรับยาต้านไวรัสในประเทศไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้เชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคติดเชื้อจากทั่วประเทศมาร่วมกันกำหนดแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในโรงพยาบาล เป็นแนวทาง (guideline) ให้กับแพทย์ทั่วประเทศประกอบการตัดสินใจในการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ด้วยยาไทยและยาต่างประเทศ ทั้งในเด็กเล็ก เด็กโต ผู้ใหญ่ หญิงตั้งครรภ์ ทั้งยาเม็ดต้านไวรัส และยาฉีด โดยมีแนวทางการเลือกใช้ตั้งแต่ ยาฟ้าทะลายโจร, ยาฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir), ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir), ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid: nirmatrelvir/ritonavir), ยาเรมเดซิเวียร์ (remdesivir), ยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสม ใช้เพื่อการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 (tixagevimab/cilgavimab (LAAB), และ ยาแก้อักเสบ (corticosteroid) (คลิกอ่านเพิ่มเติม)
หมายเหตุ
พบ XBB.1.5 ในสหรัฐอเมริกา
พบในฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” ประมาณ 1,275 ตัวอย่าง
ความชุก 0.199%
ประเทศเดนมาร์ก
พบในฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” ประมาณ 17 ตัวอย่าง
ความชุก 0.019%
ประเทศอังกฤษ
พบในฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” ประมาณ 12 ตัวอย่าง
ความชุก 0.008%
ประเทศแคนาดา
พบในฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” ประมาณ 12 ตัวอย่าง
ความชุก 0.014%
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
พบในฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” ประมาณ 6 ตัวอย่าง
ความชุก 0.047%
ประเทศเนเธอร์แลนด์
พบในฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” ประมาณ 6 ตัวอย่าง
ความชุก 0.025%
ฯลฯ
ยังไม่พบในประเทศไทย
ขอบคุณ Center for Medical Genomics
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมที่ Tnews
ความเห็น 1
j.somchai
มีสายพันธ์ุใหม่ๆเข้ามาเรื่อยๆ..ต้องอยู่กับมันไม่ตายก็รอดฉีดยาจนครบก็ยังมีหนาว..เกิด,แก่,เจ็บ,ตายเป็นของคู่กัน..ทำใจ..
25 ธ.ค. 2565 เวลา 03.42 น.
ดูทั้งหมด