โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

5 ข้อควรรู้! เอาตัวรอดอย่างไรเมื่อต้องเผชิญเหตุไฟไหม้

The MATTER

อัพเดต 08 ส.ค. 2565 เวลา 09.36 น. • เผยแพร่ 05 ส.ค. 2565 เวลา 12.17 น. • Quick Bite

เหตุไฟไหม้สถานบันเทิงที่เกิดขึ้นในจังหวัดชลบุรี ในช่วงกลางดึกเมือคืนวานนี้จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 13 ราย ถือเป็นอีกหนึ่งโศกนาฏกรรมที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น

เหตุการณ์ในครั้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และเป็นเหตุฉุกเฉินทำให้เราได้รู้ว่า เหตุไม่คาดคิดสามารถเกิดขึ้นได้เสมอและสามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่เราควรจะรู้วิธีการรับมือหากเกิดเหตุในลักษณะนี้ขึ้น

The MATTER ได้รวบรวม 5 วิธีการเอาตัวรอดเมื่อเราต้องเผชิญเหตุไฟไหม้ จาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้แนะนำความรู้ติดตัวเมื่อประสบเหตุไฟไหม้มา ดังนี้

ตั้งสติให้ดี อย่าตื่นตระหนก

เมื่อเรารู้ว่าเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ ให้ตั้งสติให้ดีอย่าตื่นตระหนก อย่าเพิกเฉยกับสัญญาณเตือนไฟไหม้ หลังจากนั้นให้ประเมินความรุนแรงของสถานการณ์ มองหาทางออกที่ปลอดภัยและใกล้ที่สุด ละทิ้งสิ่งของที่ไม่จำเป็นหรืออาจทำให้การอพยพออกจากที่เกิดเหตุยากลำบากเอาไว้

หากมีควันไฟให้ก้มต่ำเอาไว้

เมื่อเจอทางออกแล้ว ให้ก้มตัวและอพยพคลานต่ำไปยังทางออกด้วยการคลานต่ำ เนื่องจากควันไฟจะลอยขึ้นสูงและอากาศบริสุทธิ์จะอยู่ในระดับพื้นไม่เกิน 1ฟุต และก็อย่าลืมปิดปากปิดจมูกไปด้วย เพื่อป้องกันการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกาย

ปิดปากและจมูกให้ดี

ปิดปากปิดจมูกด้วยผ้า หรือผ้าชุบน้ำ เนื่องจากการสูดดมควันเป็นเวลานานอาจทําให้สําลักควันจนหมดสติและเสียชีวิตได้

หากไฟลุกติดเสื้อผ้า ให้หยุด นอนกับพื้น แล้วกลิ้ง

ถ้าหากไฟลุกลามติดเสื้อผ้า ให้ถอดเสื้อผ้าออก หรือ หยุดทันที แล้วลงนอนกับพื้น กลิ้งไปมาเพื่อดับไฟ

หากติดอยู่ในห้อง ให้หาผ้าชุบน้ำอุดขอบประตูและหน้าต่าง

กรณีที่ไม่สามารถอพยพออกมาจากที่เกิดเหตุได้เนื่องจากเพลิงลุกไหม้ขวางทางอยู่ ให้ปิดประตู หน้าต่างห้องให้สนิท ใช้ผ้าชุบน้ำอุดขอบประตูและหน้าต่าง และพยายามส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือให้คนภายนอกรู้

ข้อควรรู้เมื่อเจอเหตุเพลิงไหม้

หากสถานที่เกิดเหตุเป็นอาคารนอกจากนี้ หากสถานที่เกิดเหตุมีลักษณะเป็นอาคารสูงก็ให้หลีกเลี่ยงการใช้ลิฟต์ ให้ใช้บันไดหนีไฟแทน ห้ามหนีเข้าไปในจุดอับ เช่นห้องน้ำ ห้องเก็บของ เนื่องจากปริมาณน้ำในห้องน้ำไม่เพียงพอต่อการดับเพลิงและจุดอับของอาคารอาจจะทำให้ทีมกู้ภัยเข้าไปช่วยเหลือได้ยาก ห้ามหนี้ขึ้นไปบริเวณดาดฟ้าหรือหลังคา เพราะเปลวไฟและควันไฟจะลุกลามไปจากชั้นล่างสู่ชั้นบน อาจจะทำให้ได้รับอันตรายได้ อย่าพยายามดับไฟด้วยตัวเอง ควรจะเร่งอพยพออกจากที่เกิดเหตุโดยเร็ว ห้ามใช้ผ้าชุบเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปิดปากและจมูกโดยเด็ดขาด เนื่องจากแอลกอฮอล์ ในเครื่องดื่มเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี หากสามารถหนีออกจากที่เกิดเหตุได้แล้ว ห้ามกลับเข้าไปในพื้นที่เกิดเหตุเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นหรือเอาสิ่งของมีค่าเป็นอันขาด เพราะโครงสร้างอาคารอาจพังถล่มลงมาได้

อ้างอิงจาก

https://www.rama.mahidol.ac.th/…/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0…/

https://edition.cnn.com/…/public-fire-safety/index.html

Illustration by Kodchakorn Thammachart

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0