โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

มลพิษทางอากาศ ทำเสี่ยงสมองเสื่อม-อัลไซเมอร์ก่อนวัยอันควร

SpringNews

อัพเดต 25 พ.ค. 2565 เวลา 08.09 น. • เผยแพร่ 25 พ.ค. 2565 เวลา 07.56 น.

การศึกษาฉบับใหม่ที่เผยแพร่ในวารสารชีวจิตเวชศาสตร์ ระบุว่าการสัมผัสมลพิษจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ พีเอ็ม2.5 (PM2.5) ในอากาศเป็นเวลานาน ถือเป็นการเพิ่มอัตราความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม (cognitive decline) และอาจส่งผลให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ก่อนเวลาอันควร

สำนักข่าวซินหัว เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจ โดยระบุว่า การศึกษาฉบับใหม่ที่เผยแพร่ในวารสารชีวจิตเวชศาสตร์ (Biological Psychiatry) ระบุว่าการสัมผัสมลพิษจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ พีเอ็ม2.5 (PM2.5) ในอากาศเป็นเวลานาน ถือได้ว่าเป็นการเพิ่มอัตราความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม (cognitive decline) และอาจส่งผลให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ก่อนเวลาอันควร
ผลการศึกษาที่เผยแพร่ในวารสารชีวจิตเวชศาสตร์ (Biological Psychiatry) ระบุว่า มลพิษทางอากาศ อาทิ พีเอ็ม2.5 (PM2.5) โอโซนภาคพื้นดิน และไนโตรเจนไดออกไซด์ สามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาที่เป็นพิษต่อระบบประสาท และอาจส่งผลเสียต่อสภาวะด้านความคิด ความเข้าใจของมนุษย์ได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ ทีมวิจัยนานาชาติที่นำโดยคณะนักวิจัยจีนจากโรงพยาบาลหัวซานแห่งมหาวิทยาลัยฟู่ตั้นในนครเซี่ยงไฮ้ดำเนินการศึกษาการสัมผัสมลพิษจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ พีเอ็ม2.5 (PM2.5) ในอากาศเป็นเวลานาน โดยใช้ข้อมูลของผู้เข้าร่วม 31,573 คน ในแบบสำรวจไชนีส ลอนจิทูดินัล เฮลธ์ตี ลอนเจวิตี เซอร์เวย์ (Chinese Longitudinal Healthy Longevity Survey) ซึ่งเป็นแบบสำรวจด้านสุขภาพและความชรา และข้อมูลของผู้เข้าร่วม 1,131 คน จากกลุ่มการศึกษาเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคความจำเสื่อม
บรรดาผู้เชี่ยวชาญพบว่าการสัมผัสฝุ่นพีเอ็ม2.5 (PM2.5) ที่เพิ่มขึ้น 20 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อาจนำไปสู่ความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ขณะการสัมผัสโอโซนภาคพื้นดินและไนโตรเจนไดออกไซด์ทำให้เกิดความเสี่ยงสูง ทว่าไม่มีนัยสำคัญด้านการประมาณการ

ผลการศึกษา การสัมผัสมลพิษจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ พีเอ็ม2.5 (PM2.5) ในอากาศเป็นเวลานาน ระบุว่า การสัมผัสฝุ่นพีเอ็ม2.5 เป็นเวลานานั้น ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น
โดยอาจอธิบายได้บางส่วนว่าการสะสมของสารแอมีลอยด์ (Amyloid) ในสมองบ่งชี้ถึงความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ที่เพิ่มขึ้น
สำหรับ อาการสมองเสื่อม อาจจะมีปัจจัยของโรคในหลายๆสาเหตุ และก่อนหน้านี้เพิ่งมีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิสซูรี พบว่า ผู้ป่วยปอดอักเสบ ที่มีผลพวงมาจากโควิด-19 มีความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม (dementia) สูงกว่าผู้ป่วยโรคปอดอักเสบชนิดอื่น

มลพิษทางอากาศ ทำเสี่ยงสมองเสื่อม-อัลไซเมอร์ก่อนวัยอันควร Credit ภาพ Xinhuathai
มลพิษทางอากาศ ทำเสี่ยงสมองเสื่อม-อัลไซเมอร์ก่อนวัยอันควร Credit ภาพ Xinhuathai
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0