โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เปิดที่มา "Bangkok" (บางกอก)กับ "Krung thep"(กรุงเทพ) : ชื่อไหนมาก่อน

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 16 ก.พ. 2565 เวลา 10.16 น. • เผยแพร่ 16 ก.พ. 2565 เวลา 09.45 น.

การเปลี่ยนชื่อ "Bangkok" (บางกอก)มาเป็น "Krung thep Maha Nakhon" (กรุงเทพมหานคร) ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ และตั้งคำถามว่า ครม.ไม่มีอะไรทำหรือ ก่อนอื่นมารู้จักเรื่องราวประวัติศาสตร์บ้านเกิดพวกเราสักนิด

“คนทั่วโลกรู้จักกรุงเทพฯในนามบางกอก จากBangkok คนไปเรียนที่อังกฤษ แฟมิลี่ถามว่า ยูมาจากประเทศอะไร บอกว่ามาจากไทยแลนด์ไม่รู้จัก แต่ถ้าบอกว่า มาจาก "Bangkok" เขาจะอ๋อทันที” หนึ่งในความเห็นคนไทย  

การเรียกเมืองหลวงไทยว่า Bangkok เป็นคำที่คนทั่วโลกรู้จักดี และถ้าต้องมาปรับชื่อกรุงเทพฯ ภาษาอังกฤษจาก Bangkok เป็น Krung Thep Maha Nakhon

แม้จะเป็นมติครม. และประกาศของราชบัณฑิตฯ ซึ่งหน่วยงานราชการทั้งหมด ต้องปฎิบัติใช้ตามระเบียบสารบรรณฯ ของสำนักนายกฯ ก็ย่อมได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ล้นหลาม

ชื่อดั้งเดิมบางกอก (ฺBangkok)

ไม่ใช่แค่ชาวต่างชาติเรียกเมืองหลวงของไทยว่า"บางกอก" ชาวบ้านธรรมดาๆ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ก็เรียกเช่นนั้น

ส.พลายน้อย นักเขียนประว้ติศาสตร์ บันทึกไว้ว่า ในสมัยนั้นเป็นเพียงตำบลที่มีหมู่บ้านใหญ่แห่งหนึ่งเท่านั้น

สันนิษฐานว่าคำว่า”บางกอก”อาจมาจากการที่แม่น้ำเจ้าพระยาคดเคี้ยวไปมา บางแห่งมีสภาพเป็นเกาะเป็นโคก จึงเรียกกันว่า "บางเกาะ" หรือ "บางโคก" หรือไม่ก็เป็นเพราะบริเวณนี้มีต้นมะกอกอยู่มาก จึงเรียกว่า "บางมะกอก"

โดยคำว่า "บางมะกอก" มาจากวัดอรุณ  ซึ่งเป็นชื่อเดิมของวัดดังกล่าว และต่อมากร่อนคำลงจึงเหลือแต่คำว่าบางกอก

หมอสมิธ มัลคอล์ม แพทย์หลวง กล่าวไว้ในหนังสือ A Physician at the Court of Siam ว่าชื่อบางกอกมาจากคำว่า บาง คือหมู่บ้านหนึ่ง กอก ซึ่งเป็นผลไม้ป่าชนิดหนึ่ง (Spondias pinnata) อันเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวยุโรป และว่าชาวโปรตุเกสที่เข้ามาในไทยสมัยศตวรรษที่ 16 เป็นผู้ให้กำเนิดคำนี้

แต่ในหนังสือจดหมายรายวันของท่านบาทหลวงเดอ ชวาสี ซึ่งหลวงสันธานวิทยาสิทธิ์ เป็นผู้แปลและเรียบเรียง ได้ให้เหตุผลไว้ว่า บางกอกคือจังหวัดธนบุรี บางแปลว่า "บึง" กอกแปลว่าน้ำ (กลายเป็นแข็ง) หรือน้ำกลับเป็นดินหรือที่ลุ่มกลายเป็นดอน แต่ไม่ได้บอกว่ากอกนั้นเป็นภาษาอะไร

ในแผนที่และเอกสารของชาวตะวันตก ปรากฏชื่อเขียนต่าง ๆ กัน เช่น Bancoc, Bancok, Banckok, Bankoc, Banckock, Bangok, Bancocq, Bancock

ส่วนคำว่า Bangkok เป็นคำที่สังฆราชฝรั่งเศสใช้เขียนรายงานไปยังสำนักงานใหญ่ที่กรุงปารีสเป็นประจำ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระอักษรไปถึงพวกฝรั่งก็ทรงใช้คำนี้ จึงได้ถือเป็นคำทางการตลอดมา

กรุงเทพมหานคร(Krung Thep Maha Nakhon)

นับตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสั่งย้ายพระนครจากกรุงธนบุรีมาฝั่งตะวันออกของกรุงธนบุรี เนื่องจากมีชัยภูมิดีกว่าตะวันตก

เพราะมีลำน้ำเป็นขอบเขตอยู่เกินครึ่ง หากข้าศึกยกมาติดถึงชานพระนคร ก็จะต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่าอยู่ข้างตะวันตก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นราชธานีแห่งใหม่

ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2325 ทรงประกอบพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ และทรงประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษกในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325

ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนใหม่ขึ้น ทรงดำริให้ตัดถนนเจริญกรุง เป็นถนนเส้นแรกในกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 และเปลี่ยนรูปแบบผังเมืองกรุงเทพมหานครเฉกเช่นอารยประเทศ เนื่องจากในสมัยนั้นถูกคุกคามจากมหาอำนาจยุโรป และตรงจุดนี้เป็นหนึ่งในข้ออ้างที่มหาอำนาจนำมาใช้เพื่อแทรกแซงและคุกคามสยามประเทศ

ภายหลัง ต่างชาติยุโรปเองได้ยอมรับกรุงเทพมหานครว่า เป็นหนึ่งในเมืองที่มีผังเมืองงดงามที่สุดในโลกในสมัยนั้น

ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรได้รวม จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เข้าด้วยกันเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี และภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 จึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อเป็น กรุงเทพมหานคร แต่นิยมเรียกกันว่า กรุงเทพฯ

อ้างอิง

-เล่าเรื่องบางกอก ส.พลายน้อย,มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม และวิกีพีเดีย 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 6

  • katt22
    แล้วจะเปลี่ยนทำติ่งไร เวลาเขียนเข้า ออก ต่างประเทศต้องเขียนยาวๆแบบนั้นเหรอ คิดให้ถี่ถ้วนหน่อยได้มั้ย ที่อยู่passport visa ก็ต้องไปเปลี่ยนด้วยมั้ย หรือยังไง ใช้ bangkok มากี่สิบปีแล้ว มาเปลี่ยนตอนนี่เพื่อไร มีประโยชน์อะไร แล้วจะสื่อถึงอะไร
    16 ก.พ. 2565 เวลา 10.22 น.
  • นายเคยชิน
    คนไทยได้ประโยชน์อะไรจากการเปลี่ยนชื่อหรอ รึว่าการเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงจะทำให้พวกเราคงลืมตาอ้าปากได้ซะที สุดยอดไปเลยน่ะคับ
    16 ก.พ. 2565 เวลา 10.50 น.
  • Kamphol
    Holland , Netherlands , Dutch ก็ประเทศเดียวกัน มีหลายชื่อ ตามยุคสมัย เก่ากว่านั้นคือ ฮอลันดา 😁😁😁
    16 ก.พ. 2565 เวลา 10.28 น.
  • Lim
    อยู่ดีๆไม่มีอะไรทำเห็นเพจพรรคประชาชาติฉวยโอกาสบอกว่าพวกอยากเปลี่ยนนราธิวาสกับปัตตานีเป็นภาษายาวีพรรคนี้ยังไงชอบกลอยู่
    16 ก.พ. 2565 เวลา 10.53 น.
  • ป๊าเอ็ม๖๕๙
    พัฒนาไปเรื่อยไปจริงๆประเทศไทย
    16 ก.พ. 2565 เวลา 19.05 น.
ดูทั้งหมด