โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เอาใจทุกคน ผลคือความฉิบหาย : การเป็นคน ‘อะไรก็ได้’ อันตรายมากกว่าที่คิด

The MATTER

อัพเดต 02 ก.ย 2560 เวลา 18.38 น. • เผยแพร่ 02 ก.ย 2560 เวลา 10.06 น. • Rave

เพื่อนขอให้ช่วยนั่น เจ้านายบอกให้ทำนี่ คนนั้นคนนี้มาขอให้ทำๆๆๆๆ ให้หน่อย “อ้ะ ก็ได้ๆ” คือคำที่หลุดปากไป ทั้งที่ในใจอยากบอกว่า “ไม่โว้ย!”

คำว่า ‘ไม่!’ กับอะไรสักอย่างที่ไม่สะดวกใจจะทำ สำหรับบางคนนี่มันช่างยากช่างเย็นเหลือเกิน ประโยคปลอบใจที่ใช้กันอยู่บ่อยๆ ว่า ‘บางครั้งเราต่างก็ต้องยอมทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ หรือไม่สะดวกใจจะทำเพื่อให้อยู่ในสังคมได้’ ไล่เราหลายคนให้จนมุม จนความเป็นคน ‘อะไรก็ได้’ กำลังคุกคามชีวิต

นักจิตวิทยาเตือนว่า ความที่ต้องการเอาใจทุกคน (People-Pleasing) จนกลายเป็นคน ‘อะไรก็ได้’ เนี่ย จริงๆ แล้วเป็นอาการทางจิตอย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลร้ายต่อสุขภาพจิตของคนๆ นั้น แน่นอนล่ะว่า ตามทฤษฎีของมาสโลว์แล้ว เราต่างปรารถนาจะเป็นที่รัก ที่ชื่นชม และที่ยอมรับของคนอื่นๆ แต่สำหรับคนที่มีอาการ ‘อะไรก็ได้’ ความปรารถนานั้นจะถูกขับดันด้วยระบบประสาท (Neurotic Desire) จนบั่นทอนสุขภาพ ความคิด บุคลิกภาพ และส่งผลเสียเรื้อรังด้วย

นักจิตวิทยาแจกแจงบุคลิกภาพของคนที่เป็น People-Pleaser ไว้กว้างๆ ดังนี้

ใช้ความพยายามอย่างมากในการตอบว่า ‘ไม่!’ กับอะไรสักอย่างที่ไม่อยากทำ ไม่ค่อยกล้ายืนยันอะไรอย่างมั่นใจ หรือไม่ค่อยกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น เพราะ กลัวการถูกปฏิเสธ ทำเป็นเห็นด้วยกับคนอื่นบ่อยๆ (ทั้งที่บางทีในใจก็ไม่) ใช้คำขอโทษบ่อยเกินไป เพราะแบกรับเอาความรู้สึกคนอื่นมาไว้ในใจซะหมด ไม่ชอบการปะทะ หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง แม้ในเรื่องที่บางครั้งก็จำเป็น เพราะกลัวภาวะอารมณ์เสีย ทั้งตัวเองและคนอื่น เห็นใจคนอื่นมากกว่าตัวเอง จนช่วยเหลือเขาและเราก็มาเป็นทุกข์เอง ต้องมีคนชมถึงจะรู้สึกดี และจะนอยแดกไปหลายวัน เวลามีคนมาวิจารณ์สิ่งที่ทำ เสพติดความเห็นด้วยจากคนอื่น และส่วนมากจะทำตามในสิ่งที่คนอื่นบอกว่าดี ไม่ค่อยยอมรับว่าตัวเองเจ็บปวด โกรธ เศร้า หรือผิดหวัง เพราะกลัวทำให้คนอื่นรู้สึกแย่ หรือจะลองทำแบบทดสอบทางจิตวิทยาจาก BBC ดูก็ได้ว่า เราเป็นคน ‘อะไรก็ได้’ รึเปล่า : http://www.bbc.co.uk/guides/zcvrwxs

นักจิตวิทยาบอกว่า ผลที่ตามมาจากความที่อยากจะเป็นที่รักที่ชื่นชอบของทุกคนตลอดเวลา คือ

เราจะกลายเป็นโรควิตกกังวลและซึมเศร้าได้ จากการเก็บกดอารมณ์ร้ายๆ ไว้ในใจมากเกินไป เพราะเราไม่สามารถแสดงอารมณ์ออกมา เรากลัวว่าคนอื่นจะรู้สึกแย่กับเรา เราจะเป็นโรคเครียดเรื้อรัง จากการต้อง ‘คีพลุค’ อยู่ตลอดเวลา เพราะต้องการให้คนอื่นเห็นแต่ด้านดีของเรา เราจะมีความเคารพในตัวเองต่ำและเปิดโอกาสให้คนอื่นใช้เป็นเครื่องมือ ทั้งที่บางครั้งก็รู้แหละว่าเขาหลอกใช้ แต่หลายครั้งก็ยอม เพราะต้องการดูเป็นคนเข้ากับคนอื่นง่าย สบายๆ กับทุกๆ เรื่อง และอยากรู้สึกว่าเป็นที่ต้องการ เราจะรู้สึกเหนื่อยล้ากับการรักษาสถานะนี้ไว้ เพราะจริงๆ แล้วคนที่ ‘อะไรก็ได้’ ลึกๆ คือต้องการที่จะควบคุมคนอื่น แต่รู้สึกว่าตัวเองไร้อำนาจและไร้ค่า ก็เลยพยายามที่จะทำเหมือนเป็นคนที่นึกถึงคนอื่น เพื่อให้คนอื่นทอะไรในำแบบที่เราอยากให้ทำบ้าง เราจะสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง รู้สึกไร้ตัวตน เหงา และโดดเดี่ยวในท้ายที่สุด เพราะทั้งหมดที่เราทำเพื่อเอาใจคนอื่น ทำให้ไม่มีใครรู้จักตัวตนของเราจริงๆ จะเห็นก็เฉพาะด้านที่เราเปิดให้เห็นเท่านั้น ไม่ได้บอกว่าการเป็นที่รัก ด้วยการเป็นคนไนซ์ๆ สบายๆ อะไรก็ได้ และยอมตามใจคนอื่น นั้นเป็นเรื่องไม่ดี แต่ถ้าเราเป็นคน ‘อะไรก็ได้’ มากจนเกินไป นั่นคือเรากำลังทำร้ายตัวเองอยู่ ลองถามตัวเองละกันว่า การเป็นคน ‘อะไรก็ได้’ ของเรา ตอนนี้ทำให้เราว้าวุ่นหรือทุกข์ใจจนกลายเป็นรู้สึกว่า ‘อะไรก็กู’ ไหม?

ไม่ได้แนะนำให้ ‘ช่างแม่ง’ กับทุกอย่าง แต่เริ่มจากบางอย่างที่ ‘ช่างมัน’ บ้างก็ได้ ยืนยันในความเชื่อของตัวเอง และเลือกที่จะพูดออกคำว่า ‘ไม่’ ออกไปบ้าง

อ้างอิงจาก

lonerwolf.com

psychologytoday.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0