โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เคล็ด(ไม่)ลับ ช้อปออนไลน์ ไม่โดนโกง

LINE TODAY

เผยแพร่ 09 พ.ค. 2562 เวลา 11.23 น. • pimphicha

ทุกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราอยู่ในยุคออนไลน์ที่นอนอยู่บ้านก็สามารถช็อปปิ้งได้เพียงแค่มีอินเตอร์เน็ตและสมาร์ทโฟนสักเครื่อง แต่หนึ่งปัญหาจากการช็อปปิ้งออนไลน์ที่ต้องเสี่ยงก็คือการเสี่ยงกับคุณภาพของสินค้า เคราะห์หามยามร้ายแม่ค้าเชิดเงินปิดร้านหนี กว่าจะตามหากันได้ยากยิ่งกว่าหาเนื้อคู่ วันนี้เราจึงมีวิธีดูขั้นพื้นฐานเพื่อป้องกันการถูกโกงออนไลน์มาฝากกัน และนี่คือสิ่งที่นักช็อปออนไลน์ควรสังเกตก่อนกดซื้อ

1. สวมวิญญาณโคนัน สืบประวัติทางร้านผ่านเว็ปไซต์ยอดฮิตเช่น Google เพราะนอกจากบรรดาภาพสวยๆ เรื่องราวดีๆ ของทางร้าน อาจจะได้เจออะไรเซอร์ไพรส์ก็ได้นะ ลองเจาะหาข้อมูลให้ลึกสุดๆ ด้วยการลองพิมพ์ชื่อร้านในช่องสำหรับค้นหา (search) ของ facebook และ twitter อาจจะเจอคำชม/คำบ่นของผู้ซื้อ เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ

2. ดูประวัติการโพสต์ต่างๆ ของทางร้าน หากเป็นร้านที่เปิดมานานมีสินค้าอัพเดทเรื่อยๆ ก็น่าวางใจหน่อยว่าคงไม่ปิดร้านหนีไปง่ายๆ อย่านับจากจำนวณโพสต์นะ ลองดูวันที่ของแต่ละรูปด้วย วันเวลาที่โพสต์มันหลอกกันไม่ได้ และอย่าลืมอ่านคอมเมนต์ลูกค้า-แม่ค้าด้วย มันแสดงถึงความใส่ใจที่ทางร้านมีให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดีเลยแหละ

3. ข้อมูลต้องชัดเจน ช่องทางการติดต่อกับทางร้านที่นอกจากการคอมเมนต์ใต้ภาพ หรือการอินบอกซ์เข้าไปคุยก็สำคัญนะ หากทางร้านมีการลงที่อยู่ที่ชัดเจน หรือช่องทาง official ประกาศไว้ อย่างน้อยก็การันตีความมีตัวตนให้ลูกค้ารู้สึกสบายใจได้ระดับหนึ่ง ยิ่งถ้ามีหน้าร้านเป็นหลักแหล่งก็ยิ่งเพิ่มความน่าวางใจ จะให้ดีถ้ามีหน้าร้านยิ่งวางใจได้ยิ่งขึ้น (ลองสอบถามไซส์นางแบบคร่าวๆเช่นเรื่องของความสูง ก็จะสามารถกะขนาดเทียบกับตัวเองได้ หากทางร้านสามารถให้ข้อมูลได้ก็จะช่วยกันความผิดพลาดในการเลือกไซส์ได้อย่างดี)

4. รูปที่ใช้ vs รูปที่ถูกแท็ก ขนาดรูปโปรไฟล์ของเรายังใช้แอปแต่งแล้วแต่งอีกฉันใด รูปที่ทางร้านใช้ ร้อยทั้งร้อยถูกปรับแสงตกแต่งมาอย่างสวยงามที่สุดฉันนั้น ควรให้การดูรูปของทางร้านเป็นเพียง “ภาพตัวอย่าง” ให้เราเข้าใจในดีไซน์ และ mood&tone ของสินค้านั้นๆ แล้วไปตามหาความจริงจากรูปที่ถูกแท็ก หรือการรีวิวจะได้ความจริงที่สุด บางทีในรูปสวยใสสไตล์เกาหลี แต่ของจริงไม่เหมือนในรูปมีเยอะแยะไป ระวังตรงนี้กันไว้ด้วยนะ

5. อย่าเห็นแก่ของถูก หากเป็นร้านที่ไม่ได้ผลิตสินค้าเอง แน่นอนว่าต้องมีร้านอื่นๆ ที่มีของเหมือนกันขายตัดราคากัน แม้ไม่ใช่เรื่องผิดที่เราจะแสวงหาของดีราคาถูก แต่หากถูกจนเกินไประวังเจอของผิดมาตรฐานจนฟินไม่ออกนะ

6. ต้องฝึกเลขคณิตคิดในใจบ้าง ข้อนี้สำหรับคนที่ชอบของแบรนด์เนมราคาถูก ลองสืบราคาของที่อยากได้ผ่านเว็ปไซต์ออฟฟิเชียลของแบรนด์ แล้วนำราคามาคิดเป็นหน่วยเงินไทยเพื่อกำหนดวงเงินไว้คร่าวๆ หากเจอถูกกว่าไม่มาก เป็นไปได้ที่แม่ค้าจะเป็นเมมเบอร์และได้ส่วนลด แต่หากราคาถูกมากๆ เช่นจาก6หลักเหลือ 4หลัก ระวังจะได้ของปลอมให้เจ็บใจนะ

และหากถึงคราวเคราะห์จริงเช่นถูกเชิดเงิน ติดต่อทางร้านไม่ได้ เราสามารถแจ้งความเอาผิดกับทางร้านได้โดยเราต้องรวบรวมหลักฐานทั้งหมดที่มีอันได้แก่

- บทสนทนาที่คุยกับทางร้าน (แคปเก็บมาให้หมด ตั้งแต่ติดต่อ ต่อรองราคา ยืนยันการโอนชำระ)

- หน้าเว็ปไซต์ของทางร้าน

- ชื่อ นามสกุล เบอร์โทรติดต่อ และเลขที่บัญชีของทางร้าน

- หลักฐานการโอนเงิน และสมุดบัญชีของเรา

- บัตรประชาชน

เมื่อรวมหลักฐานได้แล้วก็สามารถเข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่ที่เกิดเหตุ โดยระบุความต้องการแจ้งความดำเนินคดี ไม่ใช่แค่บันทึกประจำวัน แม้ขั้นตอนการติดตามจะต้องใช้เวลาแต่หากสาวถึงตัวร้านค้าได้เราก็สามารถเอาเรื่องเรียกร้องเงินคืนได้ แม้จะผ่านไปนานแค่ไหน ค่าของเงินก็ยังมีค่า ดีกว่าเสียเปล่าไม่มีแม้ความหวังที่จะได้คืนนะ

จะสวยทั้งทีต้องมีไหวพริบ คิดให้ไว อย่าได้ตกเป็นเหยื่อของคนฉวยโอกาส ที่สำคัญต้องมีสติในการใช้จ่าย จำไว้ว่าเงินทองเป็นของหายาก สิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจไม่มีเงินกินข้าวบ่อยๆ คงไม่ดีแน่.

หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ที่เว็บไซต์ tcsd.go.th หรือโทร. 02-143-8447, 02-143-8763

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 7

  • pond
    ไม่ซื้อ ก็ไม่โดนโกงละ
    09 พ.ค. 2562 เวลา 16.33 น.
  • อธิคม ส.
    โคนันนี่ไม่เห็นจะสืบประวัติเองเลยนะครับ ถามแต่ด็อกเตอร์อากาสะ ฉะนั้น เราต้องถามในพันทิพเหมือนโคนัน
    09 พ.ค. 2562 เวลา 22.28 น.
  • รศ.นพ.อัครวัฒน์@KKU.
    Shop ผ่านนายหน้าใหญ่ๆ ของไทย เช่น LAZADA, Shopee, JD Central เป็นต้น สบายใจได้ หายห่วง ยกเลิก/ขอคืนเงิน/ขอคืนสินค้า นายหน้าใหญ่เป็นตัวกลางรับ-จ่ายเงินให้ร้านค้าหรือคืนเงินให้ลูกค้า แต่ต้องทำตามกติกาและเงื่อนเวลาเขาอย่างเคร่งครัดด้วยน้า รับรองไม่มีเสียแน่นอน
    10 พ.ค. 2562 เวลา 05.27 น.
  • เคยซื้อ2ครั้งและไม่คิดจะซื้ออีก เพราะไม่สามารถจินตนาการเอาเองจากรูปที่้เห็นได้เหมือนของจริง
    09 พ.ค. 2562 เวลา 19.35 น.
  • ชไมพร อาฮิม
    โดนโกงอยู่ดี เพราะคนโกงมันจ้องอยู่
    10 พ.ค. 2562 เวลา 06.38 น.
ดูทั้งหมด