โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

31 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 เครื่องบินของการบินไทย เที่ยวบินที่ TG-311 ประสบอุบัติเหตุชนภูเขา ที่กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล

TOJO NEWS

เผยแพร่ 31 ก.ค. 2564 เวลา 05.39 น. • digivalve

ภาพจาก Thai Airways International – การบินไทย เที่ยวบินที่ 311 – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

เที่ยวบินระหว่างประเทศของไทยเที่ยวนี้ประสบอุบัติ ขณะกำลังลดระดับ เตรียมร่อนลงจอด
ที่ท่าอากาศยานนานาชาติตรีภูวัน กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล
ผู้โดยสารจำนวน 99 คน และลูกเรือ 14 คน เสียชีวิตทั้งหมด

เที่ยวบินที่ TG 311 ของสายการบิน Thai Airways International (การบินไทย) มีกำหนดการเดินทางใน
ช่วงสายของวันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม 1992 เพื่อนำผู้โดยสาร 99 คน และลูกเรือ 14 คน
เดินทางจากสนามบินนานาชาติดอนเมืองไปยังสนามบินนานาชาติตรีภูวัน, เมืองกาฐมาณฑุ, ประเทศเนปาล 
โดยใช้เครื่องบินรุ่น Airbus A310-304 ทะเบียน HS-TID ที่อายุราวๆ 5 ปีเศษ 
นำโดยกัปตันปรีดา สุทธิมัย อายุ 41 ปีและผู้ช่วยนักบินที่ 1 พูนทัศน์ บุณยะเวศ อายุ 52 ปี

เที่ยวบินดังกล่าว Take off จากสนามบินดอนเมือง ณ เวลาท้องถิ่น 10.30 น. ไต่ระดับความสูง 33,000 ฟุตมุ่งหน้าไปยังเนปาล ทุกอย่างราบรื่นและปกติดีจนกระทั่งเที่ยวบิน 311 กำลังทำการไต่ระดับลงและเตรียมนำเครื่องลงที่รันเวย์ 02 (ทางทิศใต้) ทว่าอยู่ดีๆหอควบคุมได้ทำการติดต่อมายังเที่ยวบินนี้พร้อมแจ้งว่าทัศนวิสัยจากทางทิศใต้แย่มาก ไม่สามารถทำการลงจอดที่รันเวย์ดังกล่าวได้ ขอให้ทำการลงจอดจากทางทิศเหนือที่รันเวย์ 20 แทนได้ไหม
(ด้วยลักษณะที่ตั้งของสนามบินนี้ การลงจอดจากทางทิศใต้ยังสามารถลงจอดแบบปกติได้ ก็คือวิ่งมาตรงๆลงลดระดับก่อนถึงรันเวย์ 02 ได้ เพียงแต่ต้องลดด้วยความชันที่มากกว่าปกติเท่านั้น แต่ว่าหากต้องการจะนำเครื่องลงจากทางทิศเหนือมาทางรันเวย์ 20 แล้วล่ะก็ จะไม่สามารถทำเช่นนี้ได้เพราะมีเทือกเขาสูงมากพาดขวางกั้นไว้) นักบินจำเป็นต้องทำการ Circling Approach หรือการลงจอดแบบม้วนเป็นวงลงมาพร้อมกับลดระดับ ซึ่งอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้กัปตันตัดสินใจขอปฏิเสธการลงจอดที่รันเวย์ 20 และขอเบนไปจอดพักที่ Calcutta Airport, ประเทศอินเดีย ที่อยู่ไกลออกไปถึง 400 ไมล์แทน

หอควบคุมยังไม่ทันทำการคอนเฟิร์มการเบนทิศไปอินเดีย ก็แจ้งใหม่ว่า รันเวย์ 02 ลงจอดได้ปกติแล้ว 
นักบินเองก็งงๆ แต่ก็ดีใจที่จะได้ลงที่จุดหมายปลายทาง จึงตั้งใจลงจอด แต่ก็ขอข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการลงมากกว่าที่แจ้งมา เช่นทัศนวิสัยและสภาพอากาศ แต่หอควบคุมก็ไม่ได้ให้ข้อมูลที่ต้องการ
บอกแต่เพียงว่า “Available for landing”
กัปตันก็เลยตัดสินใจทำการลงจอด เปิดระบบเตรียมการลงจอดให้เรียบร้อย แต่ก็เจอปัญหาว่า ปีกเครื่องบินข้างหนึ่งไม่ยอมกาง หากว่าเป็นสนามบินทั่วไปคงไม่ใช่ปัญหาขนาดนั้น แต่ที่นี่คือกาฐมาณฑุที่จำเป็นต้องใช้ ปีก 2 ข้างเพื่อลดความเร็วอย่างมีนัยยะในระยะที่จำกัด หากข้างหนึ่งไม่กางต้องรีบแก้ไขทันที ผ่านไปเพียง 21 วินาทีเท่านั้นก็ทำการเปิด Flaps ได้ทั้ง 2 ข้างสำเร็จแต่เวลา  21 วินาทีก็ทำให้เครื่องบินอยู่สูงเกินกว่าที่จะทำการลงจอดได้

กัปตันทำการติดต่อหอควบคุมขอเลี้ยวไปทางซ้าย เพื่อวนกลับเส้นทางและความสูงเดิมก่อน เพราะตอนนี้ลงจอดไม่ทันแล้ว อยากจะวนกลับไปตั้งหลัก แต่ติดต่อไปก็ไม่มีการตอบรับจากหอควบคุม กัปตันก็ติดต่อใหม่อีก 3-4 ครั้ง ก็ไม่มีการตอบรับอยู่ดี จึงตัดสินใจหักไปทางขวาเพื่อวนเป็นครึ่งวงกลม ระหว่างนั้นเองวิทยุก็ติดต่อกลับมากัปตันที่กำลังทำการบังคับเครื่องบินด้วยมือก็เป็นคนคุยกับวิทยุเอง ขอคอนเฟิร์มทัศนวิสัยและสภาพอากาศ 
คราวนี้หอควบคุมยืนยันกลับมาว่าทัศนวิสัยดีเยี่ยม แต่ที่นักบินทั้ง 2 กำลังเผชิญอยู่คือหมอกทึบเลย 
จนถึงระยะหนึ่งที่กัปตันคิดว่าหัวเครื่องบินหมุนไปทางใต้แล้ว

กัปตันจึงสั่งผู้ช่วยนักบิน ให้กรอกข้อมูลเส้นทางตามที่สนทนากับหอควบคุมลงไปในระบบการบินอัตโนมัติ
เพื่อเข้าเส้นทางอีกครั้ง แต่ไม่สำเร็จ ผู้ช่วยนักบินก็สังเกตเห็นบนหน้าจอ และเตือนกัปตันแล้วว่า 
“เฮ้ย ตอนนี้เรากำลังอยู่ทางทิศเหนือของสนามบินนะ” กัปตันก็เถียงและบอกว่า 
“เมื่อกี้พึ่งวนออกมา หน้าจอของนายพังรึเปล่า” 
หลังจากนั้นไม่ถึง 1 นาที เที่ยวบินที่ 311 ก็ทำการพุ่งชนเทือกเขาที่มีความสูง 11,500 ฟุต

ท่าอากาศยานตรีภูวัน ในสมัยนั้นไม่มีเรดาห์ หอบังคับการจึงไม่ทราบตำแหน่งของเครื่องบิน การจะนำเครื่องบินลงจอดที่สนามบินแห่งนี้ ต้องอาศัยการมองด้วยสายตาและการวิทยุประสานงานตำแหน่งเป็นระยะๆเท่านั้น
ในวันที่เกิดอุบัติเหตุนั้น เป็นวันที่สภาพอากาศปิด นักบินสามารถมองเห็นทัศนียภาพได้เพียงไม่กี่ร้อยเมตร
การนำเครื่องบินลงจอดจึงต้องอาศัยการประสานงานทางวิทยุเท่านั้น

จากการสอบสวนในภายหลังพบว่า เมื่อเครื่องบินกำลังลดระดับจากทิศใต้เพื่อลงจอดยัง ท่าอากาศยานนานาชาติตรีภูวัน หอบังคับการบินแจ้งว่าสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยในการเปิดใช้ทางวิ่ง หอบังคับการบินได้สั่งให้ไปลงทางทิศเหนือ รันเวย์0-2 ซึ่งกัปตันปฏิเสธ พร้อมบอกนักบินผู้ช่วยว่า ทำไม่ได้ กัปตันตัดสินใจไปลงที กัลกัตตา ​
หลังจากนั้นไม่นาน หอบังคับการบินแจ้งว่าสภาพอากาศอยู่ในวิสัยที่จะสามารถนำเครื่องลงจอดได้
ขณะที่กำลังลดระดับลงจอด แฟลบที่ปีกทำงานได้ไม่เต็มที่ แม้จะแก้ไขได้แล้ว
แต่เครื่องบินก็พ้นระยะลงร่อนจอดไปแล้ว จึงต้องยูเทิร์นกลับไปยังจุดเริ่มต้นใหม่อีกครั้งทางทิศใต้
การสอบสวนพบว่าในระหว่างที่ทำการยูเทิร์นนี้
กัปตันเป็นผู้ทำหน้าที่วิทยุกับหอการบินเสียเอง ซึ่งตามปกติเป็นหน้าที่ของนักบินผู้ช่วย หอบังคับการปฏิเสธให้เขาเลี้ยวซ้ายเนื่องจากมีเครื่องบินลำอื่นอยู่ กัปตันถามไปสามครั้งแต่ไม่มีคำตอบ เขาจึงตัดสินใจเลี้ยวขวา ขณะเดียวกันก็มีสัญญาณแจ้งเตือนแสดงผลขึ้นจำนวนมาก และเครื่องบินได้ทำการยูเทิร์น 340 องศา

ผู้สอบสวนได้ตั้งข้อสังเกตว่า กัปตันปรีดากำลังรับภาระงานมากเกินไปจนเสียสมาธิ และอาจเผลอปรับเกจ HDG SEL ซึ่งใช้ควบคุมทิศทางหัวเครื่อง เลยกว่าที่ควรจะเป็น แทนที่เครื่องบินจะยูเทิร์น 180 องศา
แต่กลับกลายเป็นว่าเครื่องบินทำการยูเทิร์น 340 องศา
และเครื่องบินถูกหอบังคับการสั่งให้คงเพดานบิน
ในขณะที่นักบินคิดว่าเครื่องบินกำลังมุ่งหน้าสู่ทิศใต้
แต่ในความจริงเครื่องบินกลับกำลังมุ่งหน้าสู่เทือกเขาหิมาลัยทางทิศเหนือ

การถอดข้อความเสียงในกล่องดำ นักบินผู้ช่วย พูนทัศน์ กล่าวขึ้นมาว่า “เอ้ เรากำลังขึ้นเหนือใช่ไหมครับ?” 
กัปตันปรีดาตอบว่า “เออ เดี๋ยวเราก็เลี้ยวกลับละ” จากนั้นจึงประสานขอเลี้ยวกลับไปยังหอบังคับการบิน 
“เอ่อ กาฐมาณฑุ ไทย 311 รีเควสต์ไรต์เทิร์นแบ็กทูดิแอร์ฟิลด์” ทว่าในเวลาเดียวกันนั้นเอง
ก็มีสัญญาณเตือนความสูงจากพื้นดินดังขึ้น นักบินผู้ช่วยกล่าวว่า “เลี้ยว เลี้ยวกลับเหอะครับ” 
กัปตันตอบว่า “สัญญาณมันผิด! สัญญาณมันผิด!” และเสียงสุดท้ายในเทปคือ 
“โอ้ไม่-!” แล้วเครื่องบินก็ชนเข้ากับเทือกเขาหิมาลัยที่ระยะทาง 35 กม.ทางเหนือจากสนามบินตรีภูวัน
ที่ความสูง 11,500 ฟุต

เมื่อเครื่องบินขาดการติดต่อไป ทางการเนปาลก็ปูพรมค้นหาเครื่องบิน
ในบริเวณเทือกเขาทางทิศใต้ของกรุงกาฐมาณฑุ เป็นเวลามากกว่า 2 วัน
แต่ก็ไม่พบซากหรือชิ้นส่วนใดๆของเครื่องบิน
จนกระทั่งมีชาวบ้านจากภูเขาทางเหนือมาบอกว่าได้ยินเสียงระเบิด
ทางการจึงค้นหาที่เทือกเขาทางเหนือและก็พบซากเครื่องบินดังกล่าว
หลังอุบัติเหตุครั้งร้ายแรงดังกล่าว ทำให้ทางการเนปาลนำเรดาห์มาติดตั้งยังท่าอากาศยานตรีภูวัน
การบินไทยได้เปลี่ยนรหัสของเที่ยวบิน กรุงเทพ-กาฐมาณฑุ เป็น TG319/320 ใช้เครื่องโบอิง 777-200 การบินไทยยังยกเลิกการจับคู่นักบินที่อายุต่างกันมากถึง10ปีขึ้นไป
โดยที่นักบินผู้ช่วยอายุมากกว่ากัปตัน รวมถึงเปลี่ยนวิธีฝึกนักบิน
นักสืบสวนชาวอังกฤษ Gordon Corps เสียชีวิตจากการขาดอ็อกซิเจนขณะทำการเดินขึ้นไปสำรวจซากเครื่องบิน

ข้อมูลจาก
https://t.co/CDkErzzLKw / Twitter 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 เครื่องบินแอร์บัส เอ 310-300 ของการบินไทย ชนกับเทือกเขาหิมาลัย ขณะกำลังลดระดับ เตรียมร่อนลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติตรีภูวัน กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล
https://imgur.com/The crash of Thai Airways flight 311 – Analysis
The crash of Thai Airways flight 311 – Analysis (reddit.com)
– https://twitter.com/AirCrashMayday/status/784773854401101824?s=20
Tribhuvan International Airport, Kathmandu Nepal (KTM) (airport-data.com)
การบินไทย เที่ยวบินที่ 311 – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)
Thai Airways International Flight 311 – Wikipedia

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 6

  • BIG JACK
    ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตครับ...
    31 ก.ค. 2564 เวลา 07.50 น.
  • jeab
    ขอแสดงความเสียใจด้วยค่ะ อ่านข่าวนี้แล้วไม่รู้ทำไมน้ำตามันไหล เชื่อว่านักบินทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้วเพื่อที่จะรักษาชีวิตของทุกๆคนที่อยู่บนเครื่องบินอย่างดีที่สุดแล้วและไม่มีใครอยากให้มันเกิดขึ้น และเป็นสายการบินไทยซึ่งเราเป็นคนไทยและเคยบินกับการบินไทยโดยส่วนตัวช็อคค่ะ และขอโทษถ้าพูดไม่ถูกใจใคร
    31 ก.ค. 2564 เวลา 11.37 น.
  • Jakkapatt
    อ่านข่าวแนวนี้แล้วเสียววาบเรยคัฟ ปกติเดินทางโดยเครื่องบินทุกเดือนคับ
    31 ก.ค. 2564 เวลา 08.56 น.
  • TS
    อ่านข่าวนี้แล้วน้ำตาไหลพรากเลยค่ะ สงสารกัปตันจัง คุณทำเต็มที่แล้วนะคะ 🙏 ขอแสดงความเสียใจกับทุกครอบครัวผู้สูญเสีย และขอให้ดวงวิญญาณทุกท่านสู่สุคติภพนะคะ
    31 ก.ค. 2564 เวลา 16.01 น.
  • supakorn แม่ทัพรหัส1
    ปฏิรูปคือการป้องกันดีกว่าแก้ เมื่อสถานการแย่ควรแก้ไขอย่างไร ธรรมะสอนให้คิด จะมีสิทธิแก้ไข อาจจะมีสายการบินยุคไหม่ ที่ มองการไกลถึงความปลอดภัย ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหริอน้อยที่สุด ของโลก จะโชคดีแค่ไหนหาก ไม่มีอุบัติเหตุเลย การชดเชย ในสิ่งที่ขาดหายไปเป็นความไฝ่ฝันมายาวนาน ที่ต้องการ พิสูจให้เห็นว่า การพัฒนาการของมนุษย์ ในสิ่งที่ขาด จึงเป็นโจทที่เปิดโอกาส ในยุคไหม่ให้ตอบโจทใด้ ฟ้าไหม่ที่แท้จริง จะเกิดขึ้นใด้ก็ต้องมีความพร้อม ในสิ่งที่หลากหลาย นิยามคำว่าฟ้า ถึงเวลาพัฒนาการบินไทยก็ตองตรวจสอบสิ่งที
    31 ก.ค. 2564 เวลา 12.58 น.
ดูทั้งหมด