โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ชวนชมดวงจันทร์เต็มดวง Super Full Moon ใกล้โลกที่สุดในรอบปี พร้อมวิธีรับชม

IT24Hrs

เผยแพร่ 08 ก.ค. 2565 เวลา 11.59 น. • iT24Hrs by ปานระพี
ชวนชมดวงจันทร์เต็มดวง Super Full Moon ใกล้โลกที่สุดในรอบปี พร้อมวิธีรับชม

ชวนชมดวงจันทร์เต็มดวง Super Full Moon ใกล้โลกที่สุดในรอบปี โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยคืนอาสาฬหบูชา 13 กรกฎาคม 2565 “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” มีขนาดใหญ่และสว่างกว่าปกติเล็กน้อย

ชวนชมดวงจันทร์เต็มดวง Super Full Moon ใกล้โลกที่สุดในรอบปี พร้อมวิธีรับชม

ภาพ : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ภาพ : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สดร. เปิดเผยว่า ในวันพุธที่ 13 กรกฎาคม 2565 ซึ่งตรงกับวันอาสาฬหบูชา ดวงจันทร์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุด ห่างจากโลก 357,256 กิโลเมตร เวลาประมาณ 16:09 น. และจะปรากฏเต็มดวงในคืนดังกล่าว ในช่วงหลังเที่ยงคืน

เวลา 01:39 น. ของวันที่ 14 กรกฎาคม 2565 เกิดเป็นปรากฏการณ์ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” หรือ ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) หากเปรียบเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงช่วงเวลาปกติ จะมีขนาดใหญ่กว่าประมาณ 7% และสว่างกว่าประมาณ 16%

ในคืนวันที่ 13 กรกฎาคม 2565 จึงเหมาะแก่การสังเกตการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงเป็นอย่างยิ่ง
ดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดใหญ่ และสว่างกว่าปกติเล็กน้อย วันดังกล่าวดวงจันทร์จะโผล่พ้นขอบฟ้าเวลาประมาณ 18.37 น. สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้

วิธีการถ่ายภาพ Super Full Moon

สำหรับผู้ที่สนใจถ่ายภาพ คืนดังกล่าวยังเหมาะแก่การถ่ายภาพดวงจันทร์ โดยเฉพาะการถ่ายภาพด้วยเทคนิค “Moon illusion” ด้วยเลนส์เทเลโฟโต เป็นการถ่ายภาพดวงจันทร์เปรียบเทียบกับวัตถุบริเวณขอบฟ้า ทำให้เกิดภาพลวงตาเสมือนว่าดวงจันทร์มีขนาดใหญ่และอยู่ใกล้โลกมาก ช่างภาพสามารถรอชมและถ่ายภาพเก็บความสวยงามได้ตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า

ตัวอย่างภาพถ่ายดวงจันทร์ด้วยเทคนิค Moon Illusion
ตัวอย่างภาพถ่ายดวงจันทร์ด้วยเทคนิค Moon Illusion
ตัวอย่างภาพถ่ายดวงจันทร์ด้วยเทคนิค Moon Illusion
ตัวอย่างภาพถ่ายดวงจันทร์ด้วยเทคนิค Moon Illusion

ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นรูปวงรี 1 รอบ ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ดังนั้น ในแต่ละเดือนจะมีตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดเรียกว่า เปริจี (Perigee) มีระยะทางเฉลี่ย 357,000 กิโลเมตร และตำแหน่งที่ไกลโลกที่สุดเรียกว่า อะโปจี (Apogee) มีระยะทางเฉลี่ยประมาณ 406,000 กิโลเมตร การที่ผู้คนบนโลกมองเห็นดวงจันทร์มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อยในคืนที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี นับเป็นเหตุการณ์ปกติที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์

ภาพ : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ภาพ : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

นอกจากนี้ ทาง สดร. จัดกิจกรรม ชวนดูดาวชมจันทร์ในคืนวันอาสาฬหบูชา 4 จุดสังเกตการณ์หลัก ได้แก่ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ และหอดูดาว เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา สงขลา เวลา 18:00 – 22:00 น. ฟรี ! ไม่ค่าใช้จ่าย

นอกจากนี้ ยังร่วมกับโรงเรียนในเครือข่ายกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ 560 แห่งทั่วประเทศ ตั้งกล้องโทรทรรศน์ และจัดกิจกรรมชม Super Full Moon ในครั้งนี้ด้วย รายละเอียดตรวจสอบจุดสังเกตการณ์ใกล้บ้านได้ คลิกที่นี่

อ้างอิง และ cover สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

อ่านบทความและข่าวอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ it24hrs.com

ชวนชมดวงจันทร์เต็มดวง Super Full Moon ใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี พร้อมวิธีรับชม

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตข่าวสาร ทิปเทคนิคดีๆกันนะคะ Please follow us

Youtube it24hrs
Twitter it24hrs
Tiktok it24hrs
facebook it24hrs

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0