โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ทำได้เอง“แบตเตอรี่”ทางเลือก จากเหมืองเกลือหินในประเทศ

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 27 พ.ย. 2565 เวลา 06.51 น. • เผยแพร่ 27 พ.ย. 2565 เวลา 06.36 น.

พลังงาน (สะอาด) จะมาเต็มแพ็ค คณะนักวิจัยไทยประสบความสำเร็จ ในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ ชนิดโซเดียมไอออน ขึ้นใช้ได้เองเป็นแห่งแรกของอาเซียน

โดยมีประสิทธิภาพเทียบเท่าแบตเตอรีชนิดลิเธียมไอออน ผลิตภัณฑ์หลักที่ใช้งานอยู่ในท้องตลาดเวลานี้ ที่ต้องนำเข้า 100%

แต่ข้อดีของแบตเตอรีชนิดใหม่คือ ใช้วัตถุดิบตั้งต้นจากแหล่งแร่เกลือหิน ที่กลุ่มแร่โซเดียมมักเกิดควบคู่กับแหล่งโพแทช ที่มีปริมาณสำรองในภาคอีสานมากสุด 18 ล้านล้านตัน

จึงช่วยลดการพึ่งพานำเข้าได้มหาศาล ต้นทุนถูกลง 30-40 % ในสเกลที่เท่ากัน สามารถใช้เข้าไปเสริมในบางแอพพลิเคชั่นได้ดีกว่า แถมปลอดภัยกว่า เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของไทยในตลาดโลก

โครงการวิจัยนี้มี รศ.ดร.นงลักษณ์ มีทอง อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เป็นหัวหน้าทีมนักวิจัย

รศ.ดร.นงลักษณ์ มีทอง อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)
รศ.ดร.นงลักษณ์ มีทอง อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)

อาจารย์นงลักษณ์ เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนสตรีนครสวรรค์

จบปริญญาตรี สาขา Ceramic Engineering จาก Alfred University USA เมื่อปี 2547 และไปจบปริญญาเอกจาก MIT ในปี 2552

ทำงานสายวิทยาศาสตร์ต่อเนื่อง กวาดรางวัลสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม อาทิ Thailand New Gen Innovators Award 2020 กลุ่มพลังงาน รางวัลผู้ใช้แสงซินโครตรอนดีเด่น พ.ศ.2558 รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาฟิสิกส์ ประจำปี 2558 จากผลงานวิจัยวัสดุทำขั้วไฟฟ้าในแบตเตอรีลิเทียมไอออน การประกวดนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี เป็นต้น

ก่อนหน้านี้ก็ค้นพบวิธีสังเคราะห์นาโนซิลิกอนจากเถ้าแกลบ ที่สามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้ดีกว่าคาร์บอน 12 เท่า

ถ้าพัฒนาสำเร็จต่อไปถ่านไฟฉายเดิมจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และยังใช้ของเหลือทิ้งการเกษตรมาสร้างประโยชน์สูงสุด

แบตเตอรีคือหัวใจหลักระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) เพื่อให้การใช้งานพลังงานหมุนเวียนสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความยืดหยุ่น สะดวก และใช้งานได้จริง ทดแทนพลังงานจากฟอสซิล

อีกหนึ่งแรงหนุนไทย สู่เป้าหมายปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมสุทธิเป็นศูนย์ (เน็ต ซีโร) ในปี 2065

รศ.ดร.นงลักษณ์ มีทอง
อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คอลัมน์สปอตไลต์ หนัา 4 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,839 วันที่ 27-30 พฤศจิกายน พ.ศ.2565

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น