เริ่มขึ้นแล้วกับ ภารกิจเลี้ยงปลาบนดวงจันทร์ กระพงขาว-มีเกอร์ เข้ารอบปลาสายพันธุ์ถึก อึด ทน เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงนอกโลก
Lunar Hatch โครงการตั้งถิ่นฐานบนดวงจันทร์ของ European Space Agency (ESA – องค์กรอวกาศแห่งยุโรป) กำลังประสบกับปัญหาใหญ่อย่างหนึ่ง คือ เรื่องของแหล่งอาหาร ที่เดิมทีนักวิจัยคาดว่าจะใช้แมลงเป็นแหล่งอาหารหลักของเหล่านักวิทยาศาสตร์ที่อาศัยอยู่บนนั้น แต่หลังจากที่กล้อง SOFIA ของนาซาค้นพบแหล่งน้ำบนดวงจันทร์เมื่อปี 2020 ทำให้ในปี 2021 นี้ จึงเกิดไอเดียที่จะเลี้ยงปลาบนดวงจันทร์ขึ้น
ซีริล เพอร์ซิบีลา นักวิจัยด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจากสถาบันวิจัยฝรั่งเศส ผู้เสนอไอเดียนี้อยากให้ผู้ที่ขึ้นไปปฏิบัติภารกิจนี้ ได้รับประทานอาหารที่สดใหม่ นอกจากแมลงอัดแท่ง ซึ่งอาจช่วยให้ผ่อนคลายมากขึ้น แต่การจะเลี้ยงปลาบนดวงจันทร์ก็เป็นเรื่องท้าทายไม่น้อย
ซึ่งปลาที่จะนำขึ้นไปเลี้ยงบนดวงจันทร์นั้น ต้องเป็นปลาที่ต้องการออกซิเจนน้อย – ปล่อยคาร์บอนได้ออกไซด์ในระดับต่ำ – ระยะฟักไข่สั้น – และทนทานต่ออนุภาคประจุไฟฟ้า (เนื่องจากพวกมันต้องสัมผัสกับรังสีระหว่างการเดินทางในอวกาศ) ซึ่งได้ทำการคัดเลือกปลาจากหลายร้อยสายพันธุ์ จนได้สายพันธุ์ถึก ที่เข้ารอบสุดท้ายคือ “ปลากระพงขาว” (Seabass Fish) และ ”ปลามีเกอร์” (Meagre Fish)
ซึ่งภารกิจนี้ จะเป็นการส่งไข่ปลา ขึ้นไปฟักบนดวงจันทร์ ไม่ใช่ส่งปลาตัวเป็น ๆ ขึ้นไป ไข่ปลาทั้งสองชนิดนี้ต้องผ่านการทดสอบ การทนแรงสั่นสะเทือนของยานอวกาศขณะที่จุดระเบิดปล่อยยานเสียก่อน ซึ่งซีริลำทดสอบด้วยการบรรจุไข่ลงในบีกเกอร์และทำการเขย่าด้วยเครื่องออร์บิทัลเพื่อจำลองการสั่นสะเทือน
ผลคือ ไข่ปลากระพงขาวสามารถฟักออกมาเป็นตัวได้ 76% จากจำนวนทั้งหมด ซึ่งน้อยกว่าค่าความคาดหวังที่ตั้งไว้ คือ 82% ส่วนไข่ปลามีเกอร์สามารถฟักออกมาเป็นตัวได้ 95% จากจำนวนทั้งหมด มากกว่าค่าความคาดหวังที่ตั้งไว้คือ 92% เรียกว่าเป็นที่น่าพอใจ ทนต่อแรงสั่นสะเทือนของยานอวกาศได้ และมีความเป็นไปได้สูงที่จะสามารถฟักไข่เหล่านี้บนดวงจันทร์ได้จริง
แต่ข้อเสียของการเลี้ยงปลาบนดวงจันทร์คือ อาจต้องใช้พื้นที่จำนวนมาก ก็คงต้องรอติดตามกันต่อไปว่า จะสามารถนำปลาขึ้นไปเพาะเลี้ยงบนดวงจันทร์ได้สำเร็จเมื่อไหร่
ความเห็น 4
z
ทำไมไม่เอาบังปลาทูหัวเขาแดงไปดวงจันทร์ด้วย,, บังอึดและทนต่อแรงกระเเทก,,ต่อไปบังจะแพร่พันธุ์ได้
16 มี.ค. 2564 เวลา 16.40 น.
ปลาหมอของไทยน่าจะอึดกว่า
16 มี.ค. 2564 เวลา 16.43 น.
Jim
กุมั่นใจ....สุดท้าย ชะโดบ้านกุ จะเป็นผู้ชนะ
16 มี.ค. 2564 เวลา 16.12 น.
Wanchai
เอาแค่มนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ให้ครบ24ชม.ให้ได้ก่อนค่อยเอาอย่างอื่นตามไป
16 มี.ค. 2564 เวลา 16.38 น.
ดูทั้งหมด