โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

มาหาคำตอบ อาหารสำหรับคนท้องเสีย กินอะไรได้บ้าง?

MThai.com - Health

เผยแพร่ 04 พ.ค. 2561 เวลา 04.50 น.
มาหาคำตอบ อาหารสำหรับคนท้องเสีย กินอะไรได้บ้าง?
แม้กองทัพจะต้องเดินด้วยท้องฉันใด แต่ทุกคนก็ควรระมัดระวังเรื่องอาหารการกินเอาไว้ให้มากๆ เพราะมันอาจทำให้เราท้องเสียได้ง่ายๆ แล้วถ้าเกิดท้องเส

แม้กองทัพจะต้องเดินด้วยท้องฉันใด แต่ทุกคนก็ควรระมัดระวังเรื่องอาหารการกินเอาไว้ให้มากๆ เพราะมันอาจทำให้เราท้องเสียได้ง่ายๆ แล้วถ้าเกิดท้องเสียขึ้นมา อาหารสำหรับคนท้องเสีย ที่กินง่าย ปลอดภัยกับสุขภาพมีอะไรบ้าง ลองมาหาคำตอบกันค่ะ

https://seeme.me/ch/health/96V2Z9

ท้องผูกเรื้อรัง ปัญหากวนใจที่รักษาให้หายได้ โดย นพ.อัครวุฒิ จันทราพิรัตน์

อาการท้องเสียเป็นอย่างไร?

คืออาการที่เราถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป หรือถ่ายเป็นมูกเลือดตั้งแต่ 1 ครั้งขึ้นไป ภายใน 24 ชั่วโมง หากมีอาการไม่เกิน 2 สัปดาห์ จะเรียกว่า ท้องเสียเฉียบพลัน แต่หากนานเกิน 2 สัปดาห์จะเรียกว่า ท้องเสียเรื้อรัง

สาเหตุมาจากอะไร?

อาการท้องเสียมักมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มที่ไม่สะอาด หรือมีเชื้อโรคเชื้อปน ทำให้เกิดการติดเชื้อ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือพยาธิ นอกจากนี้อาการท้องเสียยังสามารถเกิดได้จากการรับประทานอาหารรสจัด หรือเกิดจากยาและโรคบางชนิดได้

ท้องเสียมี 2 แบบ (แบ่งตามลักษณะอุจจาระ)

  1. อาการท้องเสียที่ถ่ายเป็นมูกเลือด โดยผู้ป่วยมักมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดท้องหรือปวดเบ่งที่ทวารหนัก ถ่ายบ่อย และมีปริมาณอุจจาระที่ออกในแต่ละครั้งไม่มากนัก

  2. อาการท้องเสียที่ถ่ายเหลวหรือเป็นน้ำ สีเหลืองหรือเขียวอ่อน ในรายที่เป็นรุนแรงอาจเป็นน้ำขุ่นขาวคล้ายน้ำซาวข้าว

อาหารสำหรับคนท้องเสีย

ข้าวหรือแป้ง

ผู้ป่วยสามารถทานข้าวได้ตามปกติ แต่อาจเปลี่ยนมารับประทานข้าวขาวแทนข้าวกล้อง เพื่อลดปริมาณใยอาหาร เนื่องจากใยอาหารจะช่วยกระตุ้นการเคลื่อนตัวของลำไส้ แต่ในภาวะที่ท้องเสีย ร่างกายไม่ต้องการให้ลำไส้เคลื่อนตัวมากจนเกินไป ดังนั้นจึงเว้นอาหารประเภทเส้นใยสูงไว้ชั่วระยะหนึ่ง ในส่วนของก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง (ไม่ใช้ขนมปังโฮลวีท) สามารถเลือกรับประทานได้ตามปกติ

เนื้อสัตว์

เนื้อสัตว์ทุกชนิดสามารถรับประทานได้ แต่หลีกเลี่ยงการนำมาปรุงอาหารรสจัดเกินไป เช่น ยำ ต้มยำ เพราะกรดซิตริกหรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวและมีความเผ็ด ก็สามารถกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ได้

ไขมัน

สามารถรับประทานได้ตามปริมาณไขมันที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน แต่ควรหลีกเลี่ยงกรดไขมันอิ่มตัว ได้แก่ พวกน้ำมันปาล์มและน้ำมันที่มาจากเนื้อสัตว์ รวมถึงอาหารประเภทแกงกะทิ เพราะไขมันดังกล่าวไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย

ผักและผลไม้

ควรหลีกเลี่ยงผักและผลไม้สดที่ยังไม่ผ่านความร้อน ก่อนการนำมาปรุงควรล้างผักให้สะอาด หลีกเลี่ยงการสัมผัสผักสดด้วยมือเปล่า เวลาจะทานผลไม้เปลือกหนา ห้ามใช้มือเปล่าหยิบเด็ดขาด เช่น ส้มโอ แตงโม พึงระวังไม่จัดอาหารประเภทผลไม้สดให้ผู้ป่วยที่ท้องเสียมากเกินไป เพราะอาจเป็นการเพิ่มเส้นใยอาหารให้ผู้ป่วยมากขึ้น น้ำผลไม้ทุกชนิดควรงดเว้นโดยเฉพาะน้ำลูกพรุน เพราะจะทำให้ถ่ายท้องมากยิ่งขึ้น หากจะรับประทานน้ำผลไม้ควรเป็นน้ำที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์แล้ว และไม่แนะนำให้รับประทานในช่วงที่อาการท้องเสียยังไม่ทุเลา

1. อาหารสำหรับคนท้องเสียฉับพลัน

– ผู้ป่วยควรทานอาหารอ่อนที่มีกากใยน้อย โปรตีนและแคลอรี่สูง อย่างเช่น โจ๊ก ข้ามต้ม น้ำซุป

– ควรชงน้ำเกลือแร่ดื่ม เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียออกไป ซึ่งควรจะเป็นผงชงเกลือแร่แบบ ORS ให้จิบครั้งละน้อยๆ จนหมด 1 แก้ว หากไม่มีผลเกลือแร่ สามารถเอาน้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ กับเกลือป่น 1 ช้อนช้า มาผสมกับน้ำต้มสุก 1 ขวดเปล่า ทั้งนี้ห้ามกินเกลือแร่สำหรับออกกำลังกายเด็ดขาด!! เพราะอาจเสี่ยงเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

– สำหรับคนที่ท้องเสียฉับพลัน สามารถดื่มน้ำมะพร้าวได้ เพราะในน้ำมะพร้าวมีเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกายในปริมาณสูง สามารถช่วยลดอาการอ่อนเพลียจากการสูญเสียน้ำได้ นอกจากนี้น้ำมะพร้าวยังมีประโยชน์ในการช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย

2. อาหารสำหรับคนท้องเสียเรื้อรัง

– ควรรับประทานอาหารที่มีกากใยสูงๆ ประเภทผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง หรือธัญพืชต่างๆ เพราะใยอาหารเหล่านี้ จะช่วยให้การเคลื่อนไหวของลำไส้กลับมาเป็นปกติ และช่วยลดแรงดันของผลักลำไส้ เพิ่มเนื้ออุจจาระ ส่งผลให้ถ่ายน้อยลง

– ควรกินอาหารไขมันต่ำ เพราะย่อยง่าย และทำให้การหดรัดตัวของลำไส้ใหญ่ลดลง จึงจะช่วยให้การขับถ่ายลดลงไปด้วย หากต้องการเพิ่มความสดชื่น สามารถเลือกดื่มน้ำมะพร้าวได้เช่นกัน

3. อาหารที่คนท้องเสียไม่ควรทาน

– ควรงดอาหารที่ระคายเคือง หรือกระตุ้นระบบทางดินอาหาร เช่น อาหารทอด อาหารมัน ผลไม้สด ผลไม้แห้ง (ยกเว้นน้ำองุ่น น้ำแอปเปิ้ล) ผักดิบ เครื่องเทศ อาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส อย่างพวกหัวหอม กะหล่ำปลี ถั่ว อาหารที่มีคาเฟอีน ได้แก่ กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ รวมถึงนม และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมด้วย

ที่มา : www.pharmacy.mahidol.ac.th / ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0