โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ภาวะคิโตซิส (Diabetic Ketoacidosis) คืออะไร?

HonestDocs

อัพเดต 24 มิ.ย. 2562 เวลา 10.51 น. • เผยแพร่ 24 มิ.ย. 2562 เวลา 10.51 น. • HonestDocs
น้ำตาลในเลือดสูง
ภาวะคิโตซิส (Diabetic Ketoacidosis) คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร มีวิธีการตรวจอย่างไร รักษาอย่างไร

ภาวะคิโตซิส สามารถป้องกันได้ แต่หากเกิดขึ้นแล้วจัดว่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์

ภาวะคิโตซิส (Diabetic Ketoacidosis) เป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง อินซูลินต่ำ และมีคีโตนอยู่ในกระแสเลือดตั้งแต่ระดับปานกลางไปจนถึงมาก ภาวะนื้คือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ซึ่งต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเพราะหากรักษาไม่ทันอาจทำให้หมดสติดหรือเสียชีวิตได้ ถึงแม้ว่าภาวะนี้จะพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 แต่ก็สามารถเกิดกับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้เช่นกัน ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานทุกคนจึงควรเข้าใจเกี่ยวกับการติดตามระดับคีโตน

อาการของภาวะคิโตซิส

อาการและอาการแสดงของภาวะคิโตซิสนี้ ประกอบด้วย

  • หิวน้ำมากหรือปากแห้งมาก
  • ปัสสาวะบ่อย
  • อ่อนเพลียและอ่อนแรง
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ผิวแห้ง
  • ปวดท้อง
  • หายใจลึก
  • ลมหายใจมีกลิ่นเปรี้ยว

คีโตน (Ketones) คืออะไร?

คีโตน (Ketones) เป็นสารที่เป็นกรดตัวหนึ่งที่ได้จากกระบวนการเผาผลาญไขมัน การพบคีโตนปริมาณน้อยๆ ในกระแสเลือดถือเป็นเรื่องที่ปกติ และอาจพบคีโตนในปัสสาวะได้เมื่อมีการอดอาหารประมาณ 12-16 ชั่วโมง เพราะเมื่อมีระดับคีโตนในเลือดสูง ร่างกายก็จะมีการขับออกมาในปัสสาวะเช่นเดียวกับน้ำตาลกลูโคส ระดับคีโตนในเลือดที่สูงขึ้นเรียกว่า ketosis ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำมักชอบพูดว่าต้องการให้ร่างกายอยู่ในภาวะ ketosis เพราะแสดงว่าร่างกายกำลังมีการสลายไขมันแทนการสลายคาร์โบไฮเดรต แต่ระดับ ketosis ที่เกิดจากการรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำนั้นไม่ได้รุนแรงและมีปริมาณน้อยกว่าระดับที่พบในภาวะคิโตซิสมาก

ควรเริ่มติดตามระดับคีโตนเมื่อไหร่?

การตรวจติดตามระดับคีโตนมักทำในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 มากกว่าชนิดที่ 2 เนื่องจากผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มักจะยังสามารถสร้างอินซูลินได้ทำให้เกิดภาวะนี้ได้น้อยกว่า อย่างไรก็ตามมีการแนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เข้ารับการตรวจคีโตนระหว่างที่มีอาการเจ็บป่วย (เช่นไข้หวัด) และ/หรือ เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากเมื่อร่างกายมีการเจ็บป่วยหรือการติดเชื้อจะมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียดออกมา ซึ่งจะส่งผลตรงกันข้ามกับฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลของอินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ดังนั้นเมื่อคุณป่วยการรับประทานยาเบาหวานตามปกติอาจไม่เพียงพอต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในอยู่ในเกณฑ์ และหากคุณลืมกินยาหรือคิดว่าไม่ต้องรับประทานยาเนื่องจากกินข้าวได้น้อยอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนเข้าสู่ระดับอันตรายได้ ดังนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคนโดยเฉพาะคนที่ใช้อินซูลินควรสอบถามเรื่องการติดตามระดับคีโตนกับแพทย์

สามารถตรวจติดตามระดับคีโตนได้อย่างไร?

โดยทั่วไปแล้วสามารถตรวจได้ด้วยการใช้แผ่นกระดาษทดสอบกับปัสสาวะ แผ่นพลาสติกเหล่านี้มีส่วนที่สามารถดูดซึมและเปลี่ยนสีได้เมื่อมีคีโตนสามารถใช้แผ่นนี้ตรวจระหว่างปัสสาวะหรืออาจเก็บปัสสาวะมาก่อนแล้วค่อยจุ่มแผ่นตรวจก็ได้ หลังจากนั้นนำสีที่ได้จากแผ่นทดสอบมาเปรียบเทียบกับตารางสีบนกล่องเพื่อประเมินระดับคีโตน นอกจากนั้นยังมีเครื่องวัดระดับน้ำตาลบางชิ้นที่สามารถวัดระดับคีโตนได้โดยใช้แผ่นวัดคีโตน ระดับคีโตนที่ตรวจพบจะแสดงออกมาบนหน้าจอ

เมื่อไหร่ที่ต้องขอความช่วยเหลือ?

หากคุณมีคีโตนในระดับปานกลางหรือสูงมากในเลือดหรือปัสสาวะหรือมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง แม้ว่าจะเป็นเพียงแค่สูงปานกลางก็ควรเข้ารับการตรวจทางการแพทย์ทันที

การรักษาภาวะคิโตซิส

ในโรงพยาบาลจะใช้การรักษาด้วยการให้สารน้ำและให้อินซูลินเพื่อให้ผู้ป่วยไม่ขาดน้ำ ลดระดับน้ำตาลในเลือดและแก้ไขความเป็นกรดในเลือดโดยจะค่อยๆ ลดระดับน้ำตาลลงเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำ และโพแทสศียมต่ำ ตลอดการรักษาจะต้องมีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิดและต้องมีการปรับสารน้ำหากจำเป็นเพื่อให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดและเกลือเร่ (โดยเฉพาะโพแทสเซียม) ที่เหมาะสม

ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงแต่พบได้น้อย คือ การเกิดสมองบวม โดยสามารถเกิดได้มากในเด็กและพบในโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มากกว่า ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดภาวะนี้แต่อาการมักเกิดขึ้นระหว่างการรักษาภาวะคิโตซิส ซึ่งวิธีการรักษาที่ดีที่สุดของภาวะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการวิจัย

ค้นหาโรค อาการ ยา โรงพยาบาล คลินิก และอ่านบทความสุขภาพ เขียนโดยคุณหมอหรือผ่านการรีวิวจากคุณหมอแล้ว ที่ www.honestdocs.co และ www.honestdocs.id 

ไม่พลาดข้อมูลดีๆ ที่จะทำให้คุณแข็งแรงขึ้นทั้งกายและใจ คลิกที่นี่เพื่อแอดไลน์ @honestdocs หรือแสกน QR Code ด้านล่างนี้ และยังติดตามเราได้ที่ Facebook และ Twitter วันนี้

ทุกเรื่องสุขภาพอุ่นใจ ให้ HonestDocs คุณหมอมือถือ ดูแลคุณ ❤️

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0