โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

"คลัง" เล็งเก็บภาษีความเค็ม-ตั้งเป้าลดบริโภคโซเดียม

Thai PBS

อัพเดต 27 พ.ย. 2564 เวลา 09.01 น. • เผยแพร่ 26 พ.ย. 2564 เวลา 13.12 น. • Thai PBS

วันนี้ ( 26 พ.ย.2564) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แต่ละปีคนไทยไม่น้อยกว่า 26 ล้านคน เจ็บป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวนื่องจากการบริโภคโซเดียม คิดเป็นภาระค่ารักษาพยาบาลไม่น้อยกว่าปีละ 100,000 ล้านบาท

ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า แนวโน้มอัตราการสูญเสียทางเศรษฐกิจ และภาระค่าใช้จ่ายสาธารณสุขจากการบริโภคโซเดียม เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 10-15 ต่อปี หลังสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ประชาชนบางส่วนบริโภคอาหารแห้ง อาหารกระป๋องเพิ่มขึ้น

ปัจจุบันคนไทยบริโภคโซเดียมวันละ 3,600 มิลลิกรัม ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดที่ 2,000 มิลลิกรัม ประกอบกับผู้เจ็บป่วยจากโรคเกี่ยวเนื่องจาก การบริโภคโซเดียมเสี่ยงเสียชีวิตมากขึ้น หากติดเชื้อโควิด-19

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวว่า ได้มอบหมายให้กรมสรรพสามิตเร่งศึกษาแนวทางจัดเก็บภาษีความเค็ม ครอบคลุมกลุ่มผู้ผลิตอาหาร ร้านอาหารและภัตตาคาร แต่ต้องพิจารณาภาวะเศรษฐกิจและความพร้อมผู้เกี่ยวข้องด้วย

รายงานจากกระทรวงการคลัง ระบุว่า ขณะนี้กระทรวงฯ ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางการจัดเก็บภาษีความเค็มแล้ว หลังใช้เวลาศึกษาและรับฟังความเห็นมานานกว่า 3 ปี เบื้องต้นได้จัดกลุ่มสินค้าที่จะเก็บภาษีความเค็ม 4-5 กลุ่มสินค้า ได้แก่ กลุ่มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง อาหารแช่เย็น ขนมขบเคี้ยว และซอสปรุงรส

ทั้งนี้จะเก็บภาษีสินค้าที่มีปริมาณโซเดียมเกินเกณฑ์ที่กำหนด คาดว่าจะประกาศอัตราภาษีและแนวทางปฏิบัติใน 2565 เพื่อให้เวลาผู้ผลิตปรับตัวและปรับสูตรผลิตภัณฑ์ ซึ่งตั้งเป้าหมายลดปริมาณการบริโภคโซเดียมของประชากร จากปัจจุบันเฉลี่ยวันละ 3,600 มิลลิกรัม เหลือวันละไม่เกิน 2,800 มิลลิกรัมต่อวัน

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0