โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ที่จามไม่หยุด เพราะอากาศชื้น หรือเป็นโรคอย่างอื่นกันแน่?

Health Addict

อัพเดต 27 มิ.ย. 2565 เวลา 09.18 น. • เผยแพร่ 27 มิ.ย. 2565 เวลา 09.18 น. • Health Addict
เคยสงสัยบ้างไหมว่าที่จามอยู่บ่อยๆ เกิดจากสาเหตุอะไร และไหนๆ ตอนนี้ก็เป็นหน้าฝนที่หันซ้ายก็ “ฮัด” หันขวาก็ “ชิ่ว” เราเลยต้องมาหาคำตอบกันสักหน่อยว่าที่จามๆ กันนั้นมีสาเหตุจากอะไรได้บ้าง และการจามก็ยังสามารถบอกโรคได้อีกด้วย
เคยสงสัยบ้างไหมว่าที่จามอยู่บ่อยๆ เกิดจากสาเหตุอะไร และไหนๆ ตอนนี้ก็เป็นหน้าฝนที่หันซ้ายก็ “ฮัด” หันขวาก็ “ชิ่ว” เราเลยต้องมาหาคำตอบกันสักหน่อยว่าที่จามๆ กันนั้นมีสาเหตุจากอะไรได้บ้าง และการจามก็ยังสามารถบอกโรคได้อีกด้วย

“แต่ทำไม ทำไมต้องจาม (จำ)” เคยสงสัยบ้างไหมว่าที่จามอยู่บ่อยๆ เป็นเพราะอะไร ซึ่งแม้ว่าจะยังไม่รู้สาเหตุการจาม แต่ที่แน่ๆ คือการจามสามารถทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายได้ เห็นได้ชัดๆ เลยจากการแพร่ระบาดช่วงโควิด-19 ที่ต้องใส่หน้ากากเข้าหากัน โดยมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal PLOS ONE บอกว่าการจามมีความเร็วลมอยู่ที่ 4.5 เมตรต่อวินาที หรือ 10 ไมล์ต่อชั่วโมง ซึ่งแค่นั้นก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้เชื้อโรคแพร่กระจาย และไหนๆ ตอนนี้ก็เป็นหน้าฝนที่หันซ้ายก็ “ฮัด” หันขวาก็ “ชิ่ว” เราเลยต้องมาหาคำตอบกันสักหน่อยว่าที่จามๆ กันนั้นมีสาเหตุจากอะไรได้บ้าง

เรื่องจาม เป็นเรื่องธรรมชาติ
การจาม (Sneezing) เป็นกลไกของร่างกายที่ขับอากาศออกจากทางเดินหายใจ ผ่านออกมาทางปากหรือจมูกอย่างรวดเร็ว มักเกิดจากสิ่งแปลกปลอมเข้าไปภายในโพรงจมูก เช่น เกสรดอกไม้ ฝุ่นละออง เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ฯลฯ โดยเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เข้าไปในร่างกาย สารระคายเคืองเหล่านั้นจะไปกระตุ้นเซลล์ประสาทรับสัมผัสที่อยู่ภายในเยื่อบุโพรงจมูก และเซลล์ประสาทนี้จะส่งกระแสประสาทผ่านเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 (Trigeminal nerve) ไปยังสมองส่วนเมดัลลา (Medulla) ที่มีหน้าที่ควบคุมการหายใจ จากนั้นเมื่อสมองส่วนเมดัลลาถูกกระตุ้นจนรับรู้ว่าว่ามีสิ่งแปลกปลอมภายในโพรงจมูก สมองส่วนนี้จะสั่งงานให้กล้ามเนื้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจทำงาน จึงเกิดการจามขึ้นมาได้ มักเกิดร่วมกับอาการคันจมูก คัดจมูก และน้ำมูกไหล เพราะสมองส่วนเมดัลลาจะไปกระตุ้นให้เกิดการหลั่งน้ำตาและของเหลวภายในโพรงจมูก ผ่านระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic nervous system) เป็นที่มาของการจามที่มีน้ำตาและน้ำมูกไหลไปพร้อมๆ กัน

จามแบบไหน…บอกอะไรได้บ้าง
ถึงจะเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่การจามก็สามารถบอกโรคได้ โดยจะเป็นการจามร่วมกับอาการข้างเคียงอื่นๆ ที่บอกได้ว่าอาจมีโรคต่างๆ ดังนี้

  • เยื่อบุจมูกอักเสบเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจ หรืออาจเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้มีอาการจามถี่ๆ จามบ่อย ไม่ยอมหายสักที หรือบางคนรายอาจมีไข้ต่ำ ร่วมกับมีน้ำมูกสีเทา เหลือง เขียว หรือสีน้ำตาล ซึ่งบ่งบอกถึงภาวะติดเชื้อ ควบคู่กับการเจ็บคอ ซึ่งมักจะเกิดกับคนที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ
  • โรคภูมิแพ้ถ้าแน่ใจว่าไม่ได้เป็นหวัด เพราะไม่มีอาการจามร่วมกับมีน้ำมูกเหนียวข้นและปวดหัว ก็ (น่าจะ) ชัวร์ว่า เป็นโรคภูมิแพ้อากาศ ยิ่งถ้าจามบ่อยติดๆ กัน หรือมีอาการคันตา น้ำตาไหลร่วมด้วย ก็ยิ่งน่าสงสัยเพราะอาการของโรคนี้จะเกิดขึ้นกับเยื่อบุจมูก ที่ไวต่อสิ่งเร้า ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ เชื้อรา ขนสัตว์ หรือแม้แต่กลิ่น และสิ่งระคายเคืองต่างๆ หรือถ้าสังเกตว่ามักจะจามในช่วงเช้าหลังตื่นนอนอยู่บ่อยๆ ให้ลองทำความสะอาดห้องนอนครั้งใหญ่ดู เพราะไม่แน่ว่าอาจจะแพ้ไรฝุ่นจากที่นอนหมอนมุ้งในห้องก็ได้
  • โรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้เป็นโรคที่มีอาการคล้ายกับโรคเยื่อบุจมูกอักเสบและโรคภูมิแพ้ คือมีอาการจามถี่ คัดจมูก น้ำมูกไหล โดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน อีกทั้งเมื่อทำการตรวจแล้วก็ไม่พบการติดเชื้อในร่างกาย แพทย์จึงสันนิษฐานว่าสาเหตุของโรคนี้น่าจะเกิดจากการตอบสนองที่มากผิดปกติของเยื่อบุจมูกต่อสารระคายเคืองต่างๆ และส่งสัญญาณไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการจาม น้ำมูกไหลผิดปกติ
  • ริดสีดวงจมูกเป็นภาวะที่เยื่อบุจมูกหรือไซนัสมีอาการอักเสบและบวม จนมียื่นออกมาคล้ายติ่ง ซึ่งมักมีสาเหตุจากการอักเสบหรือติดเชื้อที่เยื่อจมูกชนิดเรื้อรัง ความผิดปกติของการตอบสนองต่อระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของหลอดเลือดส่วนที่หล่อเลี้ยงเยื่อบุจมูก ทำให้เกิดอาการบวมที่เยื่อบุจมูก จนเป็นที่มาของอาการแน่นจมูก จามบ่อย มีน้ำมูกใสหรือมีสีพร้อมกลิ่น รวมถึงมีอาการปวดตื้อที่สันจมูกและแก้ม เจ็บคอเรื้อรัง และอาการปวดหัวเกิดขึ้นพร้อมกัน
  • ดื้อยา…ก็เป็นสาเหตุของการจามได้บ่อยครั้งที่พบว่าตัวยาที่ผู้ป่วยกินต่อเนื่องมายาวนาน สามารถทำให้เกิดอาการอักเสบชนิดไม่แพ้ (drug-induced rhinitis) ถ้าสังเกตว่าตัวเองมักมีอาการจามบ่อยๆ ไม่ยอมหายได้ บวกกับยาเดิมๆ เป็นประจำ ก็นั่นแหล่ะ! ที่อาจเป็นตัวการ ซึ่งหากเป็นที่สาเหตุนี้ก็จะมีข้อสังเกตอีกว่าผู้ป่วยมักจะจามหลังได้รับหรือสัมผัสสิ่งกระตุ้น ทั้งที่ไม่เคยมีประวัติหรืออาการบ่งชี้ว่าเป็นโรคภูมิแพ้มาก่อน นั่นก็เพราะการใช้ยาชนิดเดิมติดต่อกันนานๆ จะทำเกิดปฏิกิริยาด้านลบต่อร่างกายนั่นเองรู้แบบนี้ ต่อไปก็จะได้ไม่ต้องคิด (ไปเอง) ว่าที่จามเป็นเพราะมีคนกำลังคิดถึง…
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0