โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

สั่งอาหารเดลิเวอรี่ 1 ครั้ง อิ่มท้อง แต่...“สร้างขยะ 4 ชิ้น!!!”

PPTV HD 36

อัพเดต 29 พ.ย. 2562 เวลา 10.13 น. • เผยแพร่ 29 พ.ย. 2562 เวลา 10.10 น.
สั่งอาหารเดลิเวอรี่ 1 ครั้ง อิ่มท้อง แต่...“สร้างขยะ 4 ชิ้น!!!”
เมื่อฟู้ดเดลิเวอรี่กลายเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างขยะพลาสติกเข้าสู่ระบบปีละเกือบ 600 ล้านชิ้น ถึงเวลาที่ผู้ประกอบการจะร่วมมือกับผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์และผู้ให้บริการส่งสินค้าหานวัตกรรมหรือโปรโมชั่นใหม่ๆ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับผู้บริโภคหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ภายใต้แนวคิด Wasteless Delivery

ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่สร้างความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคจนมีการเติบโตของธุรกิจแบบก้าวกระโดด แต่อีกด้านหนึ่งกลับกลายเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มปริมาณพลาสติกที่ย่อยสลายยาก โดยพบว่าการสั่งอาหาร 1 ออเดอร์ สร้างขยะพลาสติกถึง 4 ชิ้นด้วยกัน จึงทำให้ผู้ประกอบการเริ่มหันมาให้ความสนใจและพยายามสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อลดปริมาณขยะแบบ Single – use plastics ภายใต้แนวคิด Wasteless Delivery

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> เปิดตัว ‘ถุงพลาสติก’ สลายตัวได้ใน 3 เดือน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> อีก 12 ปี “ขยะพลาสติก” หมดไปจากไทย

หากไปดูการเติบโตแบบก้าวกระโดดของธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ มูลค่าการตลาดอยู่ที่ 35,000 ล้านบาท แต่กลับสร้างขยะสูงถึง 560 ล้านชิ้นต่อปี (คาดการณ์ปี 2562) ซึ่งจำนวนชิ้นขยะดังกล่าวเป็นการคาดคะเนจากการคำนวณจำนวนเงินเฉลี่ยต่อการสั่ง 1 ครั้ง เท่ากับ 250 บาท จะทำให้มีการสั่งเดลิเวอรี่ที่จำนวนประมาณ 140 ล้านครั้ง ซึ่งในการสั่งเดลิเวอรี่ต่อ 1 ครั้ง สร้างขยะอย่างน้อย 4 ชิ้นคือ ภาชนะบรรจุภัณฑ์ 1 ชิ้น ถุงใส่น้ำจิ้ม 1 ชิ้น ถุงพลาสติก 1 ชิ้น และช้อนส้อมอีก 1 ชิ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> “วงจรขยะพลาสติก”จากบนฝั่งลงทะเล สู่ร่าง "มาเรียม"

ทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารเริ่มหันมาให้ความสำคัญในเรื่องนี้ หนึ่งในนั้นคือ ชาตยา สุพรรณพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด โดยมีเป้าหมายใหญ่สุดคือ  Zero Waste เธอขยายความว่า…

{related-program-line-75968}

เป้าหมายใหญ่ในอนาคต คือ Zero Waste มาจากตัวบรรจุภัณฑ์คือ Waste less แล้วก็ตัว Food waste ด้วย ดังนั้นในการออกแบบอาหารเราให้ความสำคัญมากกกับฟังก์ชั่นของอาหาร คือ ไม่เพียงแต่ว่าทำตามกระแสแต่ต้องเข้าใจผู้บริโภคก่อน ว่าผู้บริโภคชอบอาหารประเภทไหน ชอบแบบไหน ชอบอะไร ปริมาณเท่าไหร่  ซึ่งเราออกแบบทุกอย่าง เช่น *“ไม่มีของตกแต่งที่มันไม่มีความจำเป็น เพื่อเราก็หวังว่าของเหล่านั้นจะส่งถึงผู้บริโภค ผู้บริโภคได้ความพึงพอใจในตัวอาหารและทำให้ไม่เหลือขยะทั้งบรรจุภัณฑ์ที่เป็นขยะคงค้าง หรือว่าเป็นเศษอาหาร” *

{related-program-line-76379}

ชาตยา กล่าวต่อว่า ในปี 2563 ฟู้ดแพชชั่น  มีเป้าหมายในการลดขยะ Single-use plastics จากการเดลิเวอรี่ 1.2 ล้านชิ้น ขณะที่ร้านอาหารที่อยู่ในเครือทั้งบาร์บีคิวพลาซ่า ฌานา สเปซคิว เรดซัน เริ่มลดการใช้พลาสติกลงเช่นกัน  อย่างที่ที่ร้านบาบีคิวพล่าซ่าจะไม่ให้หลอดกับลูกค้าบนโต๊ะอาหาร ซึ่งลูกค้าอาจไม่ได้รับความสะดวกบ้างซึ่งหากต้องการสามารถขอได้ หรือร้านอย่างฌานาได้เปลี่ยนเป็นหลอดกระดาษสำหรับเครื่องดื่มบางชนิดที่จำเป็นต้องใช้หลอด ลดการใช้บรรจุขวดพลาสติก ใช้ขวดแก้วบรรจุน้ำแร่สะอาดให้ลูกค้า เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปแต่สม่ำเสมอและยั่งยืน

{related-program-line-59350}

“การทำอะไรให้ยั่งยืน เวลาเราจะคิดอะไร เราต้องคิดให้ธุรกิจเราเติบโตไปได้ด้วย ถ้าเราจะทำเรื่องรักษ์โลก ไม่ใช่แค่เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ แต่ทีมงานต้องเข้าใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบโมเดลธุรกิจที่จะทำให้ธุรกิจเราเติบโตไปได้ควบคู่ไปกับการรักษ์โลก”

ต่อมาคือการหาพาทเนอร์พัฒนาบรรจุภัณฑ์และลดการใช้แบบ Single-use plastic

โดยมีทั้ง บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน) หรือเจ้าของโครงการวน (Won) และ บริษัท เทอริเนกซ์ สยาม จำกัด (Duni Thailand) เน้นการผลิตบรรจุภัณฑ์จากชานอ้อย ย่อยสลายได้ใน 45 วัน การใช้พอลิแลคติคแอซิด (PLA) พลาสติกชีวภาพ (Bio plastic) ย่อยสลายได้ในเวลาไม่ถึงปี ขณะที่ โครงการวนคือ การพัฒนาถุงพลาสติกที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล ความหนา 5 เท่า เพื่อใช้ในการจัดส่งทุกออเดอร์ซึ่งถุงพลาสติกกลับมาใช้หมุนเวียนได้พร้อมเปิดจุดรับถุงพลาสติกทั้งในกรุงเทพฯ และ ต่างจังหวัด เพื่อนำไปรีไซเคิล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> ลดการใช้ “ถุงพลาสติก” แค่รณรงค์หรือต้องบังคับ

ต่อมาเป็นส่วนของปลายน้ำ คือ บริษัท แกร็บ ประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้จะนำออเดอร์ไปถึงมือลูกค้า จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท แกร็บ ประเทศไทย บอกว่า สิ่งที่แกร็บต้องทำก่อนคือการปรับพฤติกรรมของลูกค้าว่า เราไม่ควรใช้ Single-use plastic โดยผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย หรือ ในแอพพลิเคชั่นแกร็บเองมีฟีเจอร์ให้เลือกว่าไม่รับช้อนส้อมและมีดพลาสติกเมื่อสั่งอาหาร ซึ่งทำให้ลูกค้าประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ไม่ได้รับช้อนส้อมพลาสติกซึ่งอาจจะเสียงตอบรับถึงความไม่สะดวกสบายบ้างแต่เป็นสิ่งที่แกร็บตั้งใจทำจริงๆ รวมถึงการมอบโค้ดส่วนลดค่าส่งมูลค่า 10 บาท จำนวน 50,000 โค้ด เมื่อสั่งชุดอาหารตามที่กำหนดในเงื่อนไข

แต่อีกด้านหนึ่งในส่วนของร้านค้าที่เป็นสมาชิกแกร็บที่จะไปสู่การเป็นร้านค้า Go Green  จันต์สุดา เชื่อว่าร้านค้าขนาดใหญ่อย่าง บาร์บีคิวพลาซ่า มีแคมเปญในเรื่องนี้อยู่แล้ว แต่ในส่วนของร้านค้า SMEs ร้านค้าขนาดเล็กเป็นสิ่งที่ทางแกร็บอาจต้องเข้าไปช่วยเหลือ เพราะผลิตภัณฑ์รักษ์โลกมีราคาสูง แกร็บจึงจัดแคมเปญในปี 2563 ในการช่วยร้านค้าเหล่านั้นโดยต้นทุนเท่าเดิมแต่ได้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

แต่สุดท้ายแล้ว “ จิ๊กซอว์สำคัญที่จะทำให้ *Wasteless Delivery ประสบความสำเร็จ ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้บริโภคที่พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลด Single-use plastic หรือ ใช้พลาสติกให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อนไปสู่เป้าหมายในการแก้ไขปัญหาการใช้ Single-use plastic ได้ในระยะยาวอย่างยั่งยืน” *

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น