โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ตามรอย SCGP กับเส้นทางรายได้ทะลุ 1 แสนล้าน

Wealthy Thai

อัพเดต 09 ส.ค. 2566 เวลา 04.31 น. • เผยแพร่ 24 พ.ค. 2564 เวลา 08.40 น. • This’s Alano

ตลาดบรรจุภัณฑ์ยังมีศักยภาพเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยได้แรงหนุนจากการเปลี่ยนแปลงของไลฟ์สไตล์ และการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของอีคอมเมิร์ซ ซึ่งบรรจุภัณฑ์ในทุกวันนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ของผู้คนในปัจจุบันไปแล้ว จึงถือเป็นผลดีต่อบริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGPอย่างสิ้นเชิง
สำหรับ SCGP ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) เพื่อให้บริการโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร โดยแบ่งออกเป็น 2 ธุรกิจหลัก ได้แก่ 1.สายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร (Integrated Packaging Chain) และ 2.สายธุรกิจเยื่อและกระดาษ (Fibrous Chain) โดยมีบริษัท สยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด เป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักซึ่งก่อให้เกิดกำไรหลัก
ทั้งนี้ SCGP ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 ต.ค.2563 ที่ผ่านมา มีราคาไอพีโอที่ 35บาท และจัดว่าเป็นหุ้นที่มีกระแสตอบรับจากนักลงทุนอย่างมาก นอกจากนี้ยังเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC อีกด้วย
ล่าสุดโชว์ผลงานไตรมาส 1/2564 โดดเด่น มีกำไรสุทธิราว 2,134.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.24%% และยังมีข่าวดีอย่างต่อเนื่อง เมื่อหุ้น SCGP ได้เข้าคำนวณในดัชนี MSCI Global Standard Index มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 27 พฤษภาคมนี้ ขณะที่สถิติปีล่าสุดของหุ้นที่เข้าคำนวณดัชนี MSCI Global Standard Index มีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 10.9% เพิ่มขึ้นจากในอดีตมีอัตราเฉลี่ยประมาณ 5%
“ประเมิน SCGP กำไรสุทธิยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากการเพิ่มกำลังการผลิต และ ผลบวกจากการเข้าซื้อกิจการในต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมี Sentiment บวกจากการได้เข้าคำนวณในดัชนี MSCI รอบใหม่มีผล 27 พ.ค. จึงยังคงแนะนำ ซื้อ ให้ราคาเป้าหมาย 60 บาท” นักวิเคราะห์บริษัท หลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) กล่าว
ขณะที่นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ระบุว่า แนวคิดในการดำเนินธุรกิจของ SCGP เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง หลังเข้าระดมทุน IPO โดย SCGP จะไม่ได้เป็นเพียงบริษัทผู้ผลิตที่อยู่ภายใต้ร่มเงาของ SCC อีกต่อไป แต่จะกลายเป็นบริษัท Consumer Company ที่ให้บริการโซลูชั่นด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งถือเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับต้นๆของโลก สินค้าเกือบ 70%ของ SCGP เกี่ยวข้องกับการอุปโภคบริโภค อาทิ อาหารและเครื่องดื่ม สินค้า FMCG และบรรจุภัณฑ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
SCGP ตั้งเป้าจะเพิ่มยอดขายขึ้นอีก 1เท่าตัว ภายในปี 2567หรือเฉลี่ยปีละ 14.9%CAGR เทียบกับฐานรายได้ก่อนเข้า IPO ในปี 2562ที่ 8.9หมื่นล้านบาท ซึ่งจะเห็นการเร่งตัวของยอดขายตั้งแต่ปี 2564เป็นต้นไป หลัง 5โครงการลงทุนแบบ Brown Field เริ่มทยอยรับรู้รายได้ตั้งแต่ไตรมาส 2/64เป็นต้นไป บวกกับอีก 4โครงการ Merger & Partnership ที่ได้ประกาศออกมาแล้ว
ฝ่ายวิจัยคาดการณ์รายได้ปี 2564ที่ 1.1แสนล้านบาท เติบโต 19.8%จากปีก่อน และในปี 2565อยู่ที่ 1.27แสนล้านบาท เติบโตอีก 14.6%จากปี 2564 โดยประเมินกำไรสุทธิปี 2564 ที่ระดับ 8,244 ล้านบาท เติบโตจากปี 2563 ที่อยู่ระดับ 6,457 ล้านบาท ขณะที่ปี 2565 คาดเพิ่มมาสู่ 10,409 ล้านบาท
จุดเด่นที่สำคัญของ SCGP คือการบริหาร Product Mixed และต้นทุนเพื่อรักษาอัตราการทำกำไรที่ดีและสม่ำเสมอ หากเปรียบเทียบอัตรา EBITDA margin กับผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำของประเทศไทยอย่าง BJC,CPALL,OSOT ซึ่งมีสินค้ารายล้อมผู้บริโภคคล้ายกับ SCGP จะพบว่า SCGP มี EBITDA ที่สูงกว่า BJC และ CPALL อย่างชัดเจน โดยทำ EBITDA Margin ได้สูงถึง 17-18%เป็นรองเพียง OSOT ที่ทำได้ 18-21%
แต่หากพิจารณาถึงอัตราการเติบโตของ EBITDA ในช่วง 5ปี (2017-2021) SCGP ถือเป็นบริษัทที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดอยู่ที่เฉลี่ย 14%CAGR ขณะที่ OSOT มีอัตราการเติบโตสูงเป็นอันดับสองที่ 7%ด้วยอัตราการเติบโตของกำไรที่โดดเด่นในช่วง 5ปีข้างหน้า เฉลี่ยทบต้นปีละ 20%บวกกับทิศทางธุรกิจของ SCGP ที่มุ่งหน้าไปสู่การเป็น Consumer Company เต็มตัว มีส่วนช่วยให้ PER ของ SCGP ถูก Rerate ขึ้นไปใกล้เคียงกับบริษัทที่อยู่ในกลุ่ม Commerce ที่ปัจจุบันมีค่า Forward PER ประมาณ 30เท่า
ดังนั้นฝ่ายวิจัยจึงมีการทบทวนสมมุติฐานในการคำนวณมูลค่าเหมาะสมโดยปรับเพิ่ม Terminal Growth จาก 3% เป็น 3.5% ตามแผนการเติบโตเชิงรุก และปรับ Risk Free Rate ลงจาก 1.5% เหลือ 1.0% ให้สอดคล้องกับ Bond Yield 5 ปีของไทย ส่งผลให้ราคาเหมาะสมเพิ่มขึ้นจาก 47 บาท เป็น 65 บาท เทียบเท่า PER ปี 2564 ที่ 33.85 เท่า และลดลงเหลือ 26.81 เท่า ในปี 2565 ตามกำไรที่เติบโตขึ้น เพิ่มคำแนะนำจาก Switch เป็น ซื้อ
กลยุทธ์การเติบโตในภูมิภาคอาเซียนของ SCGP ใช้วิธีที่เรียกว่า T Model ซึ่งเป็นโมเดลที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในประเทศไทย โดยเป็นการขยายการลงทุนตั้งแต่ต้นน้ำคือโรงงานผลิตวัสดุที่ใช้ในการทำบรรจุภัณฑ์ประเกทต่างๆรวมถึงศูนย์จัดหาวัสดุรีไซเคิล และโครงการปลายน้ำที่ผลิตบรรจุภัณฑ์หลากหลายชนิดในหลายกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานของลูกค้าตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์ปฐมภูมิสำหรับบรรจุสินค้าบรรจุภัณฑ์ทุติยภูมิสำหรับแสดงสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์ตติยภูมิสำหรับการขนส่งรวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมทางการตลาด

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0