อยู่ดีๆก็หาย Line ไม่ตอบ อยู่ดีๆเปลี่ยนไปไม่รู้ทำไม
อยู่ดีๆก็นกฉันพลาดตรงไหน ถึงได้เดินจากไปไม่บอกกันสักคำ…
คำถามปริศนาในใจที่หลายคนหงุดหงิดอยากได้คำตอบ
อ่านข้อความแล้วทำไมไม่ตอบ !!! หายไปไหน !
“ไม่ใส่ใจ”จริงหรือเปล่า
คนที่ไม่ตอบข้อความแสดงว่าไม่ใส่ใจ ควรเลิกติดต่อด้วยหรือเปล่านะ
ลองมาดูตัวอย่างเหตุผลเบื้องหลังการไม่ตอบกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
1. ตั้งใจเมิน
ไม่ตอบเพื่อส่งสัญญาณว่า ไม่อยากคุยด้วยแล้ว
หรือ จงใจหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าในบทสนทนาที่ตึงเครียด
2. ไม่ตั้งใจเมิน
ในทางจิตวิทยา ถ้าในใจลึกๆไม่อยากตอบ ไม่มีความกระตือรือร้นที่จะตอบ
จะทำให้ลืมตอบ เมินข้อความนั้นไปเองโดยที่บางครั้งไม่ได้ตั้งใจ
เช่น กำลังยุ่ง ไม่มีเวลา ให้ความสำคัญกับอย่างอื่นมากกว่าจนลืมตอบไป
3. ไม่รู้จะตอบว่าอะไร
เหตุผลง่ายๆที่ไม่มีอะไรซับซ้อนแต่หลายครั้งคนเราไม่พิมพ์ตอบเพียงเพราะว่า
ไม่เข้าใจว่าอีกฝ่ายต้องการสื่ออะไร ไม่อยากพิมพ์อธิบาย คิดว่าข้อความนั้นไม่ได้สำคัญถึงขั้นต้องตอบ
เหตุผลเหล่านี้ไม่ได้ใช้ได้เฉพาะกับความสัมพันธ์ส่วนตัวเท่านั้นแต่รวมถึงความสัมพันธ์เรื่องงานด้วย หลายครั้งงานและข้อความที่เยอะทำให้การสื่อสารตกหล่นได้ง่ายๆ
ทั้งไม่เข้าใจกันทำให้ไม่ตอบ ไม่ได้ตั้งใจเมินแต่ลืมตามเรื่องงานที่คุยค้างไว้ในแชท หรือไม่ได้คิดว่าเป็นประเด็นสำคัญเลยไม่ได้มาตอบ ทำให้บทสนทนาและการทำงานชะงักงันไป
ในกรณีที่ อ่านแต่ไม่ตอบทันที ตอบช้า อาจมีเหตุผลหลายอย่างที่ซับซ้อนกว่านั้น
เช่น เล่นเกมในความสัมพันธ์ จงใจปล่อยให้เวลาผ่านไปนานๆก่อนค่อยตอบ เพื่อให้ตัวเองดูยุ่ง ไม่รีบตอบเกินไปนัก หรือ พฤติกรรมที่หลายๆคนเป็นคือ อ่านเร็วแต่ไม่ได้พิมพ์ตอบทันที เพราะคิดหาคำตอบที่ดีอยู่
จะเห็นได้ว่าความจริงแล้วไม่ว่าจะตอบแชทหรือไม่ ตอบเร็วหรือช้า
ในทุกกรณี เราล้วนทำไปเพราะอยากให้ความสัมพันธ์สมบูรณ์แบบที่สุดจากมุมมองของเรา
ในหลายๆครั้ง เราไม่ตอบเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าที่อึดอัด เพื่อประวิงเวลา หรือ ตัดปัญหา อาจพูดได้ว่า
“การไม่ตอบก็เป็นการตอบอย่างหนึ่ง”
ที่อีกฝ่ายแสดงออกว่าอยากให้ความสัมพันธ์เดินต่อไปในทิศทางไหน
ตอบเร็วนะถึงจะรัก
แล้วการตอบเร็วหรือช้ามีผลต่อความสัมพันธ์ของคนยุคใหม่แค่ไหน ?
ความย้อนแย้ง คือ แม้เราอยู่ในยุค Instant Reply ที่โซเชียลมีเดียถูกออกแบบมาให้
สนทนาโต้ตอบกันได้ทันที แต่เรากลับแอบน้อยใจและเมินกันและกันมากขึ้น
เราเกรงใจกัน เลือกวิธีส่งข้อความไป ไม่โทรหา แต่ก็คาดหวังอยากให้พิมพ์ตอบเร็วที่สุด
เราไม่ชอบการตอบช้าแต่ในหลายๆครั้ง ก็มัก “รอเวลา” จนกว่าจะมีคำพูดเหมาะที่สุดที่จะตอบ ดั่งว่าสามารถจัดการบทสนทนาและความสัมพันธ์ให้ราบรื่นได้ ด้วยถ้อยคำที่เพอร์เฟ็คที่สุด
โดยไม่รู้ตัว การที่เรามีโอกาสเลือกตอบเร็วหรือช้าได้ ทำให้เกิดความคาดหวังและความตึงเครียดในความสัมพันธ์ตามมา
เมื่อในชีวิตจริง เราอาจกำลังคุยแชทพร้อมกัน 5 คน ในคนละเรื่อง ด้วยน้ำเสียงที่แตกต่าง
คนยุคเราจึงไม่เพียงแค่ต้องจัดลำดับความสำคัญ (prioritize) เรื่องต่างๆในชีวิตเท่านั้น
แต่ยังจึงต้องจัดลำดับความสำคัญของห้องแชทและข้อความที่ส่งมารัวๆในแต่ละวันอีกด้วย
ไม่ว่าจะเป็นทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว
ข้อแนะนำที่ดีในการจัดลำดับความสำคัญห้องแชทเรื่องงาน คือ พยายามตอบกลับภายใน 24-48 ชั่วโมง (หากไม่ใช่งานด่วน) อาจอาศัยการปักหมุดแชทคนที่สำคัญไว้ด้านบน เพื่อไม่ให้ข้อความตกหล่น หรือหาช่องทางอื่นนอกจาก Line ที่ติดต่อง่ายและสะดวกที่สุด สำหรับทุกฝ่าย
ความเร็วและช้าที่ไม่เท่ากัน
คำถามที่น่าคิดคือ ตั้งแต่เมื่อไหร่กันที่เราเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่ดีวัดได้จาก การตอบข้อความเร็วหรือช้า ?
การตอบเร็วเป็นเรื่องที่ ต้องทำ หรือ ถ้าทำก็ดี (Must Do or Nice to Do)
การไม่ตอบเป็นจุดสิ้นสุดความสัมพันธ์ หรือ เป็นเพียงคำตอบจากบทสนทนาหนึ่งที่คำตอบที่ได้จากอีกฝ่ายคือ การไม่มีคำตอบ
เมื่อเข็มนาฬิกาโลกโซเชียลหมุนให้คุยกันได้รวดเร็วทันใจ
การคงความสัมพันธ์กับคนใกล้ตัวในยุค Instant Reply อาจเป็นการทำความเข้าใจว่า
ใน 365 วัน คงมีบางวันที่เราอยู่ใน Time Zone (เขตเวลา) ที่ต่างกันกับคนที่เราแชทด้วย
สำหรับคนที่อยู่คนละประเทศแต่อยากคุยกัน เมื่อตื่นคนละเวลา นอนคนละเวลา
มีจังหวะชีวิตที่ยุ่งคนละเวลา นาฬิกาชีวิตเดินคนละแบบ ทำให้หาเวลาคุยพร้อมกันได้ยาก หากลองนึกภาพว่าคนที่แชทด้วย อยู่คนละ Time Zone กับเรา ก็จะเข้าใจอีกฝ่ายมากขึ้น
แม้เวลาในห้องแชทจะแสดงเวลาเท่ากันเสมอ
แต่ที่ไม่มีข้อความตอบกลับมา เพราะความจริงเราอาจอยู่คนละ Time Zone กันก็ได้
หาคนที่พร้อมอยู่ใน Time Zone เดียวกันกับเรา และเข้าใจคนๆนั้นในวันที่ชีวิตเดินเร็วคนละเวลา
ที่มา
https://www.thetalko.com/15-guys-confess-why-they-dont-text-back/
https://www.2knowmyself.com/Why_do_people_read_messages_and_dont_respond
About Me
Instagram: http://www.instagram.com/faunglada
Facebook: http://www.facebook.com/faunglada
Youtube: http://www.youtube.com/faunglada
Twitter: @faunglada
Website: www.faunglada.com
ความเห็น 27
BoOriN3659
BEST
การไม่ตอบ นั่นล่ะ คำตอบ อีก 1 เสียง
04 เม.ย. 2562 เวลา 11.25 น.
N_Tansuwannarat
BEST
บนโลกของการสื่อสารมันมีคำว่า "การให้เกียรติ" "ใจเขาใจเรา" และ "ปฏิสัมพันธ์" หมายความว่า ในทุก ๆ การสนทนา แต่ละคนจะมีตราชั่งความนึกคิดที่ไม่เท่ากัน ปัญหาเลยเกิดตรงที่ว่า "ความคลาดเคลื่อนในการสื่อสาร ทำให้แต่ละคนเข้าใจบริบทไม่เหมือนกัน"
ยกตัวอย่างเช่น
- เจ้าของกลุ่มดูไม่อยู่เลย ... ออก
- เจ้าของกลุ่มไม่คุย ... ออก
- กลุ่มนี้ไม่เห็นมีอะไรเลย เงียบ ๆ ... ออก
ฉะนั้น คำถามคือ "การสื่อสารในยุคสมัยนี้ ทำให้ความยั่งยืนบนความสัมพันธ์สั่นคลอนได้ง่ายขึ้น จากการเอาแก่ใจของตัวเองโดยไม่มีเหตุผลหรือเปล่า"
04 เม.ย. 2562 เวลา 10.13 น.
FIRE1 SIAMNON
BEST
ครับ
04 เม.ย. 2562 เวลา 11.05 น.
โนรูลฮูดา เบลินด้า
การม่ตอบนั้นเปนคำตอบ
04 เม.ย. 2562 เวลา 11.10 น.
Ploy Jiraporn
ค่ะหนุก้เคยคิดเเบบนั้นเเต่ตอนนี้ไม่ คิดเเล้วค่ะหนุได้เข้าใจนะจุดๆนั้นค่ะคือด้วยความที่ไม่มีเวลาหรืองานอื่นๆที่หลายจนไม่รุ้จักทำอันไหนก้อนจนทำให้เกินความที่ไม่สะดวกหรือถ้าเเบบระบบก้เข้าใจค้ะว่าระบบมันก้ต้้งมีปัญหาบางหนุก้เห้นว่าเป้นเรื่องปกติค่ะ
04 เม.ย. 2562 เวลา 13.11 น.
ดูทั้งหมด