โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

คำแนะนำสำหรับการเลือกซื้อ SSD

Thaiware

อัพเดต 28 ม.ค. 2563 เวลา 09.00 น. • เผยแพร่ 28 ม.ค. 2563 เวลา 09.00 น. • moonlightkz
คำแนะนำสำหรับการเลือกซื้อ SSD
SSD เป็นหน่วยความจำที่ทำงานได้เร็วกว่าฮาร์ดดิสก์แบบเดิมในอดีตเป็นอย่างมาก และปัจจุบันราคาก็จับจองง่ายขึ้นด้วย

การเลือกซื้อ SSD

วิธีที่ง่ายที่สุดในการทำให้คอมพิวเตอร์สุดแรงของคุณทำงานได้ช้าลง ก็คือการใช้หน่วยความจำความเร็วต่ำ ไม่ว่า CPU จะประมวลผลได้เร็วขนาดไหนก็ตาม บ่อยครั้งที่มันทำงานได้ไม่เต็มที่ เพราะต้องเสียเวลาไปกับการรอข้อมูลที่ถูกรับ-ส่งจากฮาร์ดดิสก์ อันที่จริง จะไปโทษว่าเป็นความผิดของฮาร์ดดิสก์ก็ไม่ได้ เพราะมันก็ทำตามหน้าที่ของมันอย่างเต็มที่แล้ว แต่กว่าที่จานแม่เหล็กจะหมุนไปถึงจุดดึงข้อมูล มันก็ต้องใช้เวลา "นิดนึง" ความนิดนึงที่ว่านี้ แม้มันจะแค่แปปเดียว แต่ก็นานพอที่ทำให้ CPU ต้องเสียเวลารอโดยเปล่าประโยชน์

ทางแก้ก็คือ การเปลี่ยนไปใช้หน่วยความจำที่มีความเร็วสูงมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งที่นิยมในปัจจุบันก็คือ SSD (Solid state drive) มันอาศัยชิปในการเก็บข้อมูลทำให้มีความเร็วสูงกว่าจานแม่เหล็กมาก (ลองดูคลิปด้านล่างนี้ประกอบ เพื่อให้เข้าใจความสำคัญเรื่องความเร็วของหน่วยความจำได้ชัดเจนขึ้น) ทุกวันนี้ SSD มีให้เลือกหลากหลายแบบ แล้วเราจะเลือกยังไงดี มาหาคำตอบได้ในบทความนี้

ใครบอกว่าเงินซื้อเวลาไม่ได้?

สำหรับคนที่ "ยาวไปไม่อ่าน"

สรุปทิปส์สั้นๆ มาให้ 4 ข้อ

  • เช็คเมนบอร์ดก่อนว่ารองรับ M.2 หรือไม่ ถ้าไม่คงต้องมองแบบ SATA 2.5 นิ้ว เท่านั้น
  • ณ ตอนนี้ ควรซื้อขั้นต่ำความจุอย่างน้อย 500GB หรือกัดฟันซื้อ 1TB ไปเลย ปัจจุบันนี้ราคาไม่โหดร้ายมากแล้ว
  • SSD แบบ SATA ราคาถูกกว่า แต่ความเร็วก็ช้ากว่าแบบ NVMe-PCIe ด้วยเช่นกัน 
  • ไม่ว่าจะ SSD แบบไหน มันก็ยังเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์ ต่อให้เป็น SSD รุ่นที่สเปคต่ำที่สุดก็ตาม

ประเภทของ SSD

ตรงนี้จะค่อนข้างชวนงงเล็กน้อย เพราะเรื่องนี้มันมีความปนเปกันระหว่าง "รูปแบบโครงสร้าง" (Form factor) กับ "มาตรฐานการทำงาน" ซึ่งเราสามารถแยกออกมาได้ ดังนี้

1) 2.5-inch Serial ATA (SATA) SSD

เป็น SSD ที่หน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกับฮาร์ดดิสก์แบบดั้งเดิม แต่ผอมเพรียวกว่า ใช้สาย SATA ในการเชื่อมต่อเหมือนเดิม ถ้าเดิมใช้ฮาร์ดดิสก์แบบ SATA อยู่แล้ว SSD แบบนี้ก็จะสามารถนำมาใช้ได้อย่างแน่นอน แต่อาจจะต้องซื้อ Bay (ตัวถาดยึด) มาช่วยในการติดตั้งด้วย เนื่องจากขนาดมันเล็กกว่าช่องเสียบฮาร์ดดิสก์แบบปกติ ทั้งนี้เคสคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะมีช่องสำหรับติดตั้ง SSD แบบนี้ให้มาเลย

คำแนะนำสำหรับการเลือกซื้อ SSD
คำแนะนำสำหรับการเลือกซื้อ SSD

ภาพจาก https://www.samsung.com/th/memory-storage/850-evo-sata-3-2-5-inch-ssd/MZ-75E250BW/

2) SSD Add-in Card (AIC) / SSD PCIe 

SSD แบบนี้ จะเสียบลงบนช่อง PCI Express bus ซึ่งปกติเราเอาไว้เสียบการ์ดจอนั่นแหละ ซึ่งความเร็วในการส่งข้อมูลของพอร์ตนี้มีความเร็วเหนือกว่า SATA มากๆ

แต่มันก็มีข้อจำกัดอยู่บ้างเช่นกัน ถ้าเมนบอร์ดคุณมีช่อง PCIe ให้มาน้อย เราก็ต้องเก็บมันไว้เสียบการ์ดจออยู่แล้ว หรือเคสที่มีพื้นที่จำกัดอาจจะไม่มีพื้นที่พอให้คุณใช้ SSD แบบนี้

คำแนะนำสำหรับการเลือกซื้อ SSD
คำแนะนำสำหรับการเลือกซื้อ SSD


ภาพจาก https://www.gigabyte.com/th/Solid-State-Drive/AORUS-RGB-AIC-NVMe-SSD-512GB#kf

3) M.2 SSD

หน้าตาของ SSD แบบ M.2 จะคล้ายๆ กับแรม ด้วยความเล็กของมัน ทำให้นิยมใช้ในโน๊ตบุ๊ค แต่ก็สามารถเห็นได้ทั่วไปในคอมพิวเตอร์สมัยนี้ เมนบอร์ดบางรุ่นมีพอร์ต M.2 ให้มาถึง 2 ช่อง เพื่อทำ RAID เลยทีเดียว

M.2 มีหลายขนาด แต่ส่วนใหญ่จะกว้าง 22 มม. ยาว 80 มม. ซึ่งเราสามารถดูได้จากรหัสของตัว SSD เลย จะมีระบุเลขเอาไว้ว่า M.2 2280

เรื่องชวนงง ก็จะอยู่ที่ M.2 นี่แหละ เพราะ SSD โครงสร้างนี้ จะมีแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามมาตรฐาน Protocol ที่ใช้ในการทำงานลงไปอีก คือ NVMe M.2 กับ SATA M.2 

NVMe M.2

NVMe ย่อมาจาก NVM Express หรือมีชื่อเต็มยศว่า Non-Volatile Memory Host Controller Interface Specification ทำงานผ่านทาง Protocal ของ PCI Express ทำให้มีความเร็วสูงกว่า SATA M.2 เป็นอย่างมาก และแน่นอนว่า SSD แบบนี้มักจะมีราคาที่สูงกว่าแบบ SATA M.2 ด้วย

แม้หน้าตาจะดูทันสมัย แต่ความจริงมันทำงานอยู่บน Protocal ของ Serial ATA (SATA) ทำให้ความเร็วนั้น ไม่ได้แตกต่างจาก 2.5-inch Serial ATA (SATA) SSD เลยแม้แต่น้อย แค่หน้าตาคนละแบบ แค่นั้นเอง

จุดสังเกตง่ายๆ คือ SATA M.2 จะมีเขี้ยวเชื่อมต่อ 3 แง่ง ในขณะที่ NVMe M.2 จะมีแค่ 2 แง่ง เท่านั้น

คำแนะนำสำหรับการเลือกซื้อ SSD
คำแนะนำสำหรับการเลือกซื้อ SSD

เปรียบเทียบความเร็วในการรับส่งข้อมูล

SATA III Hard Drive   SATA III SSD NVMe SSD ~100 MB/s อ่าน   530 MB/s อ่าน 3,500 MB/s อ่าน ~100 MB/s เขียน   500 MB/s เขียน 3,000 MB/s เขียน

ประเภทของ NAND flash

SSD เก็บข้อมูลในหน่วยความจำที่เรียกว่า NAND Flash เป็นเซลสำหรับเก็บข้อมูลเอาไว้แทนจานแม่เหล็กในฮาร์ดดิสก์แบบเก่า โดยแต่เดิมที่ถูกสร้างขึ้นมา มันจะเก็บข้อมูลได้แค่เพียง 1 บิต/เซล เท่านั้น (นั่นคือ สาเหตุที่ทำให้ SSD ในอดีตมีราคาแพงมาก) เรียกว่า SLC (Single Level Cell)

ในเวลาถัดมา เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น ทำให้ใน 1 เซล ซอยย่อยออกเป็นหลายชั้น (Level) เพื่อให้มันยัดบิตลงไปในเซลได้มากขึ้น โดย MLC (Multi Level Cell) เก็บได้ 2 บิต/เซล, TLC (Triple Level Cell) เก็บได้ 3 บิต/เซล และ QLC เก็บได้ 4 บิต/เซล ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ SSD แบบใหม่นี้ มีราคาที่ถูกลงกว่าเดิมมาก

Intel และ Toshiba เริ่มพัฒนา SSD แบบ 5 บิต/เซลแล้ว เรียกว่า PLC (Penta Level Cell) แต่ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา และน่าจะอีกนานกว่าที่จะสามารถวางขายในท้องตลาดได้

แต่ ตรงนี้ต้องมีแต่ ไม่ใช่ว่า QLC จะดีกว่า SLC นะ สามารถบอกได้เลยว่า นอกจากราคาแล้ว SLC ยังคงเป็น SSD ที่ดีที่สุด ไล่ลงมาตามระดับ คือ MLC และ TLC เพราะความเร็ว และอัตราความทนทานจะลดลงไปเรื่อยๆ ตามจำนวน Level ภายในเซล

คำแนะนำสำหรับการเลือกซื้อ SSD
คำแนะนำสำหรับการเลือกซื้อ SSD


ภาพจาก https://www.partitionwizard.com/partitionmagic/nand-ssd.html

แล้วจะเลือกซื้อ NAND flash แบบไหนดีล่ะ?

แม้ทุกวันนี้ SSD แบบ QLC จะมีให้เลือกเป็นจำนวนมาก แต่ SLC ก็ไม่ได้หายไปไหนนะ เพียงแต่จะนิยมใช้กันในระดับองค์กรใหญ่ๆ หรืออุตสาหกรรมกันเท่านั้น เนื่องจากราคาที่แพงมากๆ คนธรรมดาทั่วไปจึงไม่นิยมซื้อมาใช้กัน

ไดร์ฟที่เราใช้เป็นหลัก สำหรับลงระบบปฏิบัติการ จะเป็นไดร์ฟที่ถูกอ่าน-เขียนข้อมูล เราจึงควรเลือกไดร์ฟที่เร็ว และมีความทนทานหน่อย อย่าง MLC หรือ TLC ส่วนจะเลือกตัวไหน ก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณที่เรามีเลย

ส่วนไดร์ฟแบบ QLC ส่วนตัวมองว่า แม้ทางผู้ผลิต จะเคลมว่าความทนทานสูงไม่ต่างจากเทคโนโลยีก่อนหน้ามากนัก แต่เราก็คิดว่าเอาไว้เก็บข้อมูลเป็นหลักน่าจะดีกว่า เช่น ติดตั้งเกม, โปรแกรม เก็บไฟล์งาน ฯลฯ 

สรุป

คิดว่าอ่านมาถึงบรรทัดนี้ ผู้อ่านน่าจะรู้จัก SSD มากขึ้นแล้ว และรู้ว่าจะเลือกซื้อแบบไหนดี แต่ถ้าอยากได้คำแนะนำเพิ่มแล้วล่ะก็ เราก็มีคำแนะนำที่จะใช้ให้คุณประหยัดเงินได้ไม่บ้างก็น้อย (สำหรับคนที่งบไม่จำกัด สามารถเลือกรุ่นที่แพงที่สุดได้เลย ไม่ต้องคิดมากเรื่องความคุ้มหรอก)

ย่อหน้านี้จะเป็นคำแนะนำเกี่ยวกับความคุ้มค่า หากคุณเป็นคนที่อัปเกรดมาจากฮาร์ดดิสก์จานหมุน ไม่ว่าจะเลือกใช้ SSD แบบไหน จะ SATA 3 หรือ NVMe คุณจะสัมผัสถึงความเร็วที่แตกต่างได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม NVMe มีราคาแพงกว่า SATA 3 ในราคาที่เท่ากัน SATA 3 จะให้ความจุเยอะกว่า

ซึ่งเอาจริงๆ NVMe จะแสดงพลังได้อย่างเต็มที่ เมื่อมีการย้ายโอนไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น การแก้ไขรูป หรือตัดต่อวิดีโอ ถ้าคุณแค่เอามาติดตั้งโปรแกรม หรือเกม เพื่อให้มันเปิดได้เร็วขึ้น SATA 3 SSD ก็ไม่ได้ให้ประสิทธิภาพต่างจาก  NVMe มากนัก (เพราะในการใช้งานจริงยังมีเรื่องคอขวดจากแรม และซีพียูที่ต้องนำมาคำนวณเวลาในการโหลดด้วย)

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0