โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

5 เหตุผลที่เราควรมีประกัน แม้ว่าเราจะมีสวัสดิการแล้ว

Stock2morrow

อัพเดต 21 ก.ย 2563 เวลา 07.09 น. • เผยแพร่ 21 ก.ย 2563 เวลา 02.00 น. • Stock2morrow
5 เหตุผลที่เราควรมีประกัน แม้ว่าเราจะมีสวัสดิการแล้ว
5 เหตุผลที่เราควรมีประกัน แม้ว่าเราจะมีสวัสดิการแล้ว

ประเด็นวันนี้ เกิดขึ้นจากความกังวลใจครับว่า หาก

โควิดระลอก2กลับมา คนจะตกงานเยอะขนาดไหน?
เราได้เห็นกันแล้วในรอบแรกนั้น ไม่ว่าบริษัททั้งเล็กทั้งใหญ่ ต่างปิดตัวลงไปเรื่อยๆ และแม้คุณจะเป็นข้าราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ผมก็ไม่อยากให้ชะล่าใจกันไป ว่าเขาจะดูแลเราได้ไปตลอดชีวิต

หลายครั้งที่เราพบว่า "คนที่มีสวัสดิการ" มักรู้สึกว่าได้รับการดูแลอยู่แล้วโดยไม่จำเป็นต้องเสียเงินเอง ทำไมต้องสร้างภาระเพิ่ม แต่ผมอยากให้ลองคิดแค่ 5 เหตุผลนี้ครับ
ว่าทำไมคุณไม่ควรเอาอนาคต ไปผูกติดอยู่กับสวัสดิการที่คุณไม่ได้สร้างมันขึ้นมา

1.สวัสดิการของคุณผูกติดอยู่กับโต๊ะ หากในวันนี้ คุณยังทำงานอยู่ มันก็ดีครับ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณลาออก หรือ เกิดเหตุสุดวิสัยที่ทำให้บริษัทไม่สามารถดูแลหรือ จ้างงานคุณต่อได้ วันนั้นคุณจะกลายเป็นคนที่ไม่มีใครดูแล และ บางครั้งก็สายเกินไปที่มีจะคนมาดูแลเรื่องนี้แทน เหตุผลตามข้อ2ครับ

2. อายุไม่รอคุณ หากจะรอจนถึงวันที่คุณออกจากงาน หรือ วันที่บริษัทไม่สามารถดูแลคุณได้แล้ว วันนั้นคุณคิดว่าอายุเท่าไหร่? 40-45-50 ฯลฯ การวนกลับมาทำประกันในตอนที่อายุมาก ไม่ใช่เรื่องง่ายนะครับ (และแพงด้วยเพราะความเสี่ยงสูง) ถ้าคุณอายุมาก แต่ร่างกายแข็งแรงดี ก็ดีไป แต่ส่วนใหญ่เสื่อมถอยตามกาลเวลา ความเลวร้ายจะเกิดก็ตรงนี้ครับ ตรงข้อ3

3. สวัสดิการดีแต่สุขภาพแย่ เรื่องราวจะเริ่มตรงนี้ ในวันที่คุณยังมีสวัสดิการ คุณอาจพึ่งพาสวัสดิการในการตรวจสุขภาพ รักษาความเจ็บป่วย ซึ่งหากเป็นโรคภัยไข้เจ็บปกติ คงไม่มีผลอะไร แต่หากคุณพบเจอโรคร้ายแรง เช่น เบาหวาน ความดัน มะเร็ง ภาวะเสี่ยงอื่นๆ

แล้วยังไม่มีประกันของตนเองซักฉบับ ผมแนะนำให้คุณกอดงานและสวัสดิการคุณให้แน่นที่สุด เพราะคุณจะใช้ได้แค่สวัสดิการที่คุณมี หากคุณออกจากงาน คุณจะมาทำประกันภายหลัง โรคพวกนี้เป็นมาก่อนการทำประกัน ประกันไม่คุ้มครอง นะครับ สายเกินไป

4. อย่าให้คนอื่นดูแลสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต ในที่นี้ ผมไม่ได้หมายถึงแค่สุขภาพร่างกาย หรือ การเงินของคุณเท่านั้น ผมยังหมายถึงครอบครัว พ่อแม่ สามี/ภรรยา ลูก เพราะเรามีคนที่เรารักเสมอครับ แม้เราจากไป

ตัวคุณอาจจะหายไป สวัสดิการคุณก็หายไป แต่พวกเขายังอยู่ ยังต้องกินต้องใช้ ชีวิตต้องเดินต่อ แค่ความเสียใจที่คุณจากไปก็มากพอแล้วครับ อย่าให้เค้าต้องลำบากมากขึ้นจากการที่คุณอยู่ดูแลเค้าไม่ได้อีกเลย

5. อย่าสร้างภาระให้คนที่รัก หากวันนี้คุณยังทำงาน ยังมีสวัสดิการดูแล บางที่ดูแลครอบคลุมไปถึงครอบครัวด้วย คุณอาจจะรู้สึกว่าชีวิตเข้าที่อยู่แล้ว แต่ผมอยากให้ระลึกถึงประโยคสั้นๆนี้เสมอนะครับ

"หากตกงานวันนี้ อะไรจะหายไปบ้าง? "
หากสวัสดิการตนเองหายไป แล้วใครจะดูแลคุณ ยิ่งผ่านข้อที่2-3 ที่ประกันอาจจะช่วยคุณไม่ได้แล้ว ถึงตอนนั้นใครจะจ่ายให้คุณ หากมีเหตุให้ต้องดูแลรักษาตัว ก็ภาระตัวเองและภาระคนข้างๆหรือเปล่าครับ

 

ผมมีเคสชีวิตจริงของครอบครัวหนึ่ง หัวหน้าครอบครัวมีหน้าที่การงานดีมาก ภรรยา ลูก อยู่ในฐานะสุขสบาย มีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่เหตุร้ายของครอบครัวนี้ เกิดขึ้นวันที่หัวหน้าครอบครัวประสบอุบัติเหตุรถคว่ำ ต้องรักษาตัวในรพ. และสุขภาพไม่กลับมาเหมือนเดิม

ส่งผลให้หลังจากนั้น เขาให้ถูกพิจารณาให้ต้องออกจากงาน และฝันร้ายครอบครัวนี้ ก็เริ่มตั้งแต่นั้นมา…
เงินเก็บของทั้งครอบครัวต้องหมดลง กับการรักษาต่อเนื่องจากเหตุการณ์ครั้งนั้น แบบที่ไม่สวัสดิการอีกต่อไป และ ไม่มีประกันสักฉบับ ภรรยาต้องทำงานคนเดียว ดูแลทั้งครอบครัว ลูกๆที่เคยสุขสบายมีพี่เลี้ยง ต้องดูแลตัวเอง ต้องทำงานเสริม ต้องกู้กยศ.เรียน และความฝันของครอบครัวก็พังไปตั้งแต่วันนั้น

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเกินจริง  แต่เป็น"ชีวิตจริง" ของครอบครัวน้องคนหนึ่งที่ผมรู้จัก และผมอยากให้เรื่องนี้เป็น อุทาหรณ์แก่ทุกคน อย่าชะล่าใจครับ ไม่มีใครรู้เลยว่าทุกวันที่คุณออกจากบ้านไปทำงาน จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?
อย่าหวังพึ่งสวัสดิการใดที่คุณไม่ได้สร้างมันขึ้นมาเอง

ถ้าไม่ห่วงตัวเอง ก็ห่วงคุณที่คุณรักและรักคุณ

มงคล ลุสัมฤทธิ์

 

เจ้าของเพจที่รวมและแบ่งปันความรู้วางแผนการเงิน เพจ : Financial Times by Mongkol นักออกแบบความมั่งคั่ง โดยมงคล ลุสัมฤทธิ์ (Wealth Designer)

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0