โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

7 ปลาไทยที่มีโอเมก้าสูง ดีต่อสุขภาพ

The Bangkok Insight

อัพเดต 18 ก.ค. 2562 เวลา 23.43 น. • เผยแพร่ 18 ก.ค. 2562 เวลา 23.43 น. • The Bangkok Insight
7 ปลาไทยที่มีโอเมก้าสูง ดีต่อสุขภาพ

“ป.ปลา นั้นหายาก ต้องลำบากออกเรือไป

ขนส่งจากแดนไกล ใช้น้ำแข็งเปลืองน้ำมัน

แช่เย็นต้องเสียไฟ หุงต้มไซร์ แก๊ส ทั้งนั้น

พลังงานต้องหมดกัน โอ้ลูกหลาน จำจงดี”

จริงหรือไม่ทานปลาแล้วไม่อ้วน?

ถือเป็นคำถามยอดฮิต แต่หลายท่านก็พอจะทราบคำตอบกันแล้ว ด้วยความที่ปลา จัดเป็นอาหารชั้นเลิศ สำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก หรือ รักษาสุขภาพ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ที่มีความปลอดภัยสูงเมื่อร่างกายรับประทาน เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ซึ่งมีข้อมูลทางวิชาการยืนยันมากมาย (ผู้เขียนเอง ก็เน้นทุกมื้อต้องมีเนื้อปลา)

ดังนั้น เราจึงจัดปลาอยู่ในประเภทโปรตีน รวมทั้งเนื้อสัตว์ และไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง ปลาจึงถือเป็นโปรตีนชั้นดี และมีไขมันต่ำ บางท่านชื่นชอบทานเนื้อปลา โดยเน้นที่พุงปลา (อร่อยเลยค่ะ) ไขมันที่มีอยู่ในเนื้อปลา จัดเป็นส่วนประกอบของเซลล์ต่าง ๆ โดยเฉพาะสมอง และจะช่วยป้องกันการแข็งตัวของไขมันในเส้นเลือด โดยเฉพาะวิตามิน และแร่ธาตุ ที่มีอยู่ในเนื้อปลา จะช่วยควบคุมการทำงานของร่างกายให้ทำงานได้อย่างปกติ และที่น่าสนใจอย่างยิ่ง คือ ไขมันในเนื้อปลา เป็นไขมันไม่อิ่มตัว จะมีโอเมก้า 3 โอเมก้า 6 พร้อมทั้งสารอาหารอีกมากมาย

และที่บอกว่า “ทานปลา แล้วไม่อ้วน” เป็นเพราะในเนื้อปลา โดยเมื่อเทียบเป็นน้ำหนักที่เท่า ๆ กันกับเนื้อสัตว์อื่น ๆ จะมีส่วนของโปรตีนค่อนข้างสูง และมีไขมันที่น้อย และถ้าจะอธิบายเข้าใจง่าย ๆ คือ ทานปลา เทียบกับทานเนื้ออื่น ๆ ในปริมาณที่เท่ากัน เนื้อปลาจะให้พลังงานร่างกายน้อยกว่า ได้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหารที่มากกว่า

และในส่วนกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นส่วนประกอบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของปลาและน้ำมันจากปลา อีพีเอ และ ดีเอชเอ (DHA) ช่วยในเรื่องลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ในร่างกาย ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจวายเฉียบพลันและเส้นเลือดในสมองแตก จริง ๆ แล้วประโยชน์ของโอเมก้า 3 ที่มีต่อร่างกายยังมีอีกมาก และส่วนใหญ่คนเราเข้าใจผิดคิดว่า ต้องทานปลาต่างประเทศ เช่น ปลาแซลมอน แต่แท้จริงแล้ว ปลาไทยในบ้านเรา ที่มีโอเมก้า 3 กันก็มากหลายชนิดอยู่ เรามาดูกันว่า 7 ปลาไทยที่มีโอเมก้าสูง มีอะไรกันบ้าง :-

  • ปลาทู

เลือกมาประเดิมสายพันธ์ปลาอันแรกเลยค่ะ ปลาทู มีลำตัวแป้นยาวเพรียว ปากกว้าง ผิวเงา ตาโต เกล็ดเล็กละเอียด ขนาดโดยประมาณ 14-21 ซม. ทำอาหารได้ทั้งทอด นึ่ง ต้มยำ หรือบางท่านอาจชอบทานน้ำพริกปลาทู โดยหยิบเนื้อปลาทูมาโขลกละเอียดผสมรวมกับกะปิ ก็อร่อยไม่น้อย

  • ปลากะพงขาว

ถือเป็นปลายอดนิยมที่คนชอบทานเหมือนกัน ปลากะพงขาว อาศัยได้ทั้งน้ำจืด และ น้ำกร่อย มีรูปร่างลำตัวหนา และด้านข้างแบน หัวจะโต จะงอยปากค่อนข้างยาวและแหลม มีขนาดประมาณ 20-40 ซม. เคยมีคนพบได้ขนาดใหญ่สุดที่ 2 เมตร นิยมทำอาหารได้หลากหลาย ต้ม นึ่ง ผัด แกง

  • ปลาเก๋า

ปลาเก๋าและเก๋าน่าทานตลอด ถือเป็นปลาขนาดใหญ่ มีรูปร่างโดยรวม ถือ ร่างยาวอ้วนป้อม แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็ก สีตามตัวและครีบเป็นดอกดวงแต้ม ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด สามารถนำมาทำหลายเมนูได้หลากหลาย ทั้งสามรส นึ่งซีอิ๊ว ผัดฉ่า ราดพริก

  • ปลาดุก

ปลาดุกเป็นปลาที่ไม่มีเกล็ด ลำตัวยาว มีหัวที่แบนแข็ง มีหนวดยาวแปดเส้น นิยมนำไปทอดกรอบ ผัดฉ่า หรือ ยำปลาดุกฟู ก็น่ารับประทานมาก

  • ปลาช่อน

ปลาช่อน ถือเป็นปลาที่ชื่นชอบและนิยมมากสุดในไทย มีส่วนหัวค่อนข้างขนาดใหญ่ รูปร่างทรงกระบอกยาว ๆ ภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวสีคล้ำอมมะกอกหรือน้ำตาลอ่อน นิยมนำไปใส่แกงส้มปลาช่อน ทำต้มยำ ก็อร่อยมาก

  • ปลานิล

ถือเป็นปลาที่หาง่ายมาก ๆ เข้าตลาดไหนเจอกันทุกตลาดสด ก็เลยทีเดียว ปลานิล สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 ซม. เจริญแพร่พันธ์ง่ายมาก มีรสชาติดี เนื้อนุ่ม อร่อย ทำอาหารได้สารพัด เช่น สามรส ผัดพริก นึ่ง ย่าง ก็อร่อยไม่แพ้กัน

  • ปลากราย

มีปากกว้าง ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะโค้ง ส่วนหลังโก่งสูง ในวัยอ่อนจะมีลายลำตัวเหมือนเสือ และจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเทาเงินเมื่อโตขึ้น ที่เราได้ยินบ่อย น่าจะเป็นทอดมันปลากราย น้ำยาปลากราย

แล้วควรทานปลาปริมาณเท่าไหร่ถึงจะพอดี?

อธิบายง่าย ๆ เลยว่า ในแต่ละวันคนทำงานอย่างเรา ๆ ต้องการโปรตีนประมาณวันละ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ดังนั้น คนที่มีน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม ต้องการโปรตีนจากปลาเพียงอย่างเดียว ก็คงต้องรับประทานปลาจำนวนเพิ่มขึ้น เกือบ 2 เท่าตัว และโดยปกติแล้ว เนื้อปลามีส่วนที่รับประทานได้ประมาณ 55-80% และปลาต้ม ปลานึ่ง ทุกชนิด มีไขมันและพลังงานต่ำ ส่วนปลาย่าง และปลาทอด จะมีไขมันสูงและพลังงานสูง (ดังนั้นผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก แนะนำทานปลานึ่ง ปลาลวก ปลาต้มจะดีสุด)

อย่างไรแล้ว แนะนะควรสลับทานปลาทะเล และปลาน้ำจืด อย่าลืมทานเนื้อสัตว์เพื่อให้ครบสารอาหาร ครบหมู่ ด้วยนะคะ

(อ้างอิง : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข)
#KINN_Biopharma

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น