โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ท่องเที่ยว

7 ของดีเมืองเพชรบุรี เมืองขนมหวานที่มีทั้งความอร่อย โฮมสเตย์ และแนวคิดรักษาสิ่งแวดล้อม

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

เผยแพร่ 17 พ.ค. 2565 เวลา 02.48 น. • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

เพชรบุรีไม่ได้มีดีแค่ขนมหม้อแกง จังหวัดนี้เป็นแหล่งผลิตตาลโตนดที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย เป็นเจ้าต้นตำรับขนมหม้อแกงและสารพัดของหวานไทยแสนอร่อย แต่เพชรบุรียังมีดีในอีกหลายมิติ มีจุดเด่นคือการเป็นเมืองรองที่ส่องประกายเรืองรอง ที่ยังรักษาเอกลักษณ์ท้องถิ่นและความจริงแท้ไว้

เราจึงขอเชิญชวนคุณมารู้จักของดี "เมืองพริบพรี" จากกิจการและกิจกรรมของชาวเพชรบุรีทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ ให้คุณได้กิน ได้เที่ยว และพักผ่อนหย่อนใจอย่างเป็นสุข และทำความรู้จักเมืองหน้าด่านระหว่างภาคกลางและภาคใต้นี้ด้วยแนวคิดยั่งยืนเป็นมิตรต่อทั้งชุมชนและสิ่งแวดล้อม

1.สวนตาลลุงถนอม

2.พรชัยไอติมกะทิสด

3.บ้านถ้ำเสือ Homestay

4.coco&coff ร้านกาแฟในสวนมะพร้าว

5.The Life Garden Boutique Farmstay

6.ร้านรัญจวนใจ

7.โรงเรียนลูกหว้า

ห่างจากถนนเพชรเกษมไปไม่ไกล ลัดเลาะไปตามคลอง จะรู้สึกเปลี่ยนบรรยากาศแบบรวดเร็วเข้าสู่สวนตาลที่มีต้นตาลขนาดใหญ่ยักษ์ เรียงกันเป็นระเบียบสุดลูกหูลูกตาดูร่มรื่น ท้ายสวนมีเตาตาลที่กำลังสุมไฟเตา เพื่อเตรียมเคี่ยวน้ำตาลที่เพิ่งเทลงกระทะสวนตาลลุงถนอมเป็นแหล่งปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากตาล มีทั้งน้ำตาลสด น้ำตาลข้น หรือที่เรียกติดปากกันว่าน้ำตาลปี๊บ ขนมจากตาลอำนาจ ภู่เงิน ทายาทผู้สืบทอดสวนตาลแห่งนี้เล่าว่า สวนตาลลุงถนอมเป็นสวนตาลที่อยู่ไม่ไกลจากตัวเมือง ยังมีวิถีชีวิตในการทำน้ำตาลแบบครบวงจรให้เห็น จึงเป็นที่บอกต่อกันปากต่อปาก จนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ไม่กี่แห่งที่จะเห็นวิถีชีวิตคนทำสวนตาลของจังหวัดเพชรบุรี ที่นี่จะมีการให้ความรู้เรื่องพันธุ์ การปลูกสาธิตการขึ้นตาล การเก็บน้ำตาล และการแปรรูปการเคี่ยวน้ำตาล ทำขนมตาลให้ชม และพร้อมให้คนเข้าชมได้ร่วมลงมือทำในบางกิจกรรมด้วยในช่วงวันหยุดจะมีขนมและของฝากที่เป็นทั้งผลิตภัณฑ์จากต้นตาล ขนมพื้นบ้าน รวมไปถึงผลิตภัณฑ์การเกษตรจากท้องถิ่น ให้เลือกติดไม้ติดมือกลับบ้านได้จบด้วยแวะพักดื่มอเมริกาโน่ลูกตาลลอยแก้ว เมนูขึ้นชื่อของคาเฟ่บ้านไร่ภู่หวาน คาเฟ่ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สวนตาลนี้
ห่างจากถนนเพชรเกษมไปไม่ไกล ลัดเลาะไปตามคลอง จะรู้สึกเปลี่ยนบรรยากาศแบบรวดเร็วเข้าสู่สวนตาลที่มีต้นตาลขนาดใหญ่ยักษ์ เรียงกันเป็นระเบียบสุดลูกหูลูกตาดูร่มรื่น ท้ายสวนมีเตาตาลที่กำลังสุมไฟเตา เพื่อเตรียมเคี่ยวน้ำตาลที่เพิ่งเทลงกระทะสวนตาลลุงถนอมเป็นแหล่งปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากตาล มีทั้งน้ำตาลสด น้ำตาลข้น หรือที่เรียกติดปากกันว่าน้ำตาลปี๊บ ขนมจากตาลอำนาจ ภู่เงิน ทายาทผู้สืบทอดสวนตาลแห่งนี้เล่าว่า สวนตาลลุงถนอมเป็นสวนตาลที่อยู่ไม่ไกลจากตัวเมือง ยังมีวิถีชีวิตในการทำน้ำตาลแบบครบวงจรให้เห็น จึงเป็นที่บอกต่อกันปากต่อปาก จนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ไม่กี่แห่งที่จะเห็นวิถีชีวิตคนทำสวนตาลของจังหวัดเพชรบุรี ที่นี่จะมีการให้ความรู้เรื่องพันธุ์ การปลูกสาธิตการขึ้นตาล การเก็บน้ำตาล และการแปรรูปการเคี่ยวน้ำตาล ทำขนมตาลให้ชม และพร้อมให้คนเข้าชมได้ร่วมลงมือทำในบางกิจกรรมด้วยในช่วงวันหยุดจะมีขนมและของฝากที่เป็นทั้งผลิตภัณฑ์จากต้นตาล ขนมพื้นบ้าน รวมไปถึงผลิตภัณฑ์การเกษตรจากท้องถิ่น ให้เลือกติดไม้ติดมือกลับบ้านได้จบด้วยแวะพักดื่มอเมริกาโน่ลูกตาลลอยแก้ว เมนูขึ้นชื่อของคาเฟ่บ้านไร่ภู่หวาน คาเฟ่ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สวนตาลนี้
ไอศกรีมที่กินกับขนมไข่ จะใส่เครื่องก็แค่ข้าวเหนียวกับเม็ดแมงลัก โรยถั่วลิสงคั่ว รสหอมมันเย็นชื่นใจ เป็นเอกลักษณ์การกินแบบคนเพชรดั้งเดิมและจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะไอศกรีมน้ำตาลสดที่ทำจากน้ำตาลโตนดของขึ้นชื่อของเพชรบุรี ยิ่งหากินได้ไม่ง่ายนัก พรชัยไอติมเป็นร้านไอศกรีมทำเองที่เปิดมายาวนานมากกว่า 30 ปี ตั้งอยู่ในตัวเมืองเพชร ตุ้ม-มาลี วัชชุปปกรณิช เจ้าของร้านเล่าว่า สูตรดั้งเดิมของเพชรบุรีคือไอศกรีมกะทิสด ไอศกรีมกะทิของร้านพรชัยจะมีกลิ่นหอมมะลิอ่อน ๆ ทางร้านใช้มะลิที่ปลูกเอง มาผสมผสานเข้าเป็นไอศกรีมรสหอมมัน แต่ตอนหลังได้ทดลองดัดแปลง จากเดิมใช้น้ำตาลทรายเพื่อให้ความหวาน เปลี่ยนเป็นใช้น้ำตาลสดของเพชรบุรีเป็นส่วนผสมแทน เลยได้เป็นสูตรไอศกรีมน้ำตาลสดขึ้นมา โดยยังคงความมันของเนื้อไอศกรีมทั้งสองจากกะทิสด ร้านพรชัยทำไอศกรีมเองแบบสดใหม่แบบวันต่อวัน ใส่ใจในการเลือกวัตถุดิบมาใช้ รวมไปถึงขนมไข่ของคู่กันที่ร้านก็อบเอง เป็นความสุขง่าย ๆ ราคาไม่แพงที่สุดพิถีพิถันแบบคนเพชรบุรี
ไอศกรีมที่กินกับขนมไข่ จะใส่เครื่องก็แค่ข้าวเหนียวกับเม็ดแมงลัก โรยถั่วลิสงคั่ว รสหอมมันเย็นชื่นใจ เป็นเอกลักษณ์การกินแบบคนเพชรดั้งเดิมและจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะไอศกรีมน้ำตาลสดที่ทำจากน้ำตาลโตนดของขึ้นชื่อของเพชรบุรี ยิ่งหากินได้ไม่ง่ายนัก พรชัยไอติมเป็นร้านไอศกรีมทำเองที่เปิดมายาวนานมากกว่า 30 ปี ตั้งอยู่ในตัวเมืองเพชร ตุ้ม-มาลี วัชชุปปกรณิช เจ้าของร้านเล่าว่า สูตรดั้งเดิมของเพชรบุรีคือไอศกรีมกะทิสด ไอศกรีมกะทิของร้านพรชัยจะมีกลิ่นหอมมะลิอ่อน ๆ ทางร้านใช้มะลิที่ปลูกเอง มาผสมผสานเข้าเป็นไอศกรีมรสหอมมัน แต่ตอนหลังได้ทดลองดัดแปลง จากเดิมใช้น้ำตาลทรายเพื่อให้ความหวาน เปลี่ยนเป็นใช้น้ำตาลสดของเพชรบุรีเป็นส่วนผสมแทน เลยได้เป็นสูตรไอศกรีมน้ำตาลสดขึ้นมา โดยยังคงความมันของเนื้อไอศกรีมทั้งสองจากกะทิสด ร้านพรชัยทำไอศกรีมเองแบบสดใหม่แบบวันต่อวัน ใส่ใจในการเลือกวัตถุดิบมาใช้ รวมไปถึงขนมไข่ของคู่กันที่ร้านก็อบเอง เป็นความสุขง่าย ๆ ราคาไม่แพงที่สุดพิถีพิถันแบบคนเพชรบุรี
“คนชอบมาที่นี่ เขาว่ามาแล้วตรงปก”น้อย-สุเทพ พิมพ์ศิริ รองประธานบ้านถ้ำเสือโฮมสเตย์เอ่ยอย่างภูมิใจในชุมชนริมน้ำเพชรบุรี แรกเริ่มเดิมทีผู้นำชุมชนมุ่งมั่นเรื่องแก้ไขปัญหาความยากจนของชาวบ้าน ที่ความจำเป็นบีบบังคับให้ต้องขายที่ดินริมน้ำริมป่าให้คนนอกทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวบ้าง กู้หนี้ยืมสินบ้าง จึงร่วมทำธนาคารต้นไม้กับ ธ.ก.ส. โครงการที่ให้ชาวชุมชนปลูกต้นไม้ใหญ่เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ เปิดพื้นที่เป็นแหล่งเรียนรู้การอนุรักษ์พืชพรรณ และพื้นที่จัดกิจกรรม CSR สุดกรีนต่อมาคนทำกิจกรรมต้องการที่พักเสร็จสรรพ บ้านถ้ำเสือเลยเปิดโฮมสเตย์ไว้รองรับ โดย 1 - 2 ปีมานี้หันมาเปิดเป็นแหล่งแคมปิ้ง ตอบสนองกระแสกางเต็นท์ที่มาแรงแซงโค้ง ใครมาก็หลงรักเพราะที่นี่สวยทุกมุม โดยเฉพาะพื้นที่เกาะกลางน้ำให้กางเต็นท์ได้อย่างส่วนตัว มีห้องน้ำสะอาดเรียบร้อย แถมยังมีกิจกรรมสารพัด เช่น ล่องแพ ปั้นกระสุนเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่นไว้ยิงปลูกต้นไม้บนภูเขา ทำไข่เค็มอัญชันและทองม้วนน้ำตาลโตนดและช่วงปลายปีที่เขาพะเนินทุ่งเปิด เช้า ๆ ก็หิ้วปิ่นโตไปกินอาหารเช้าและชมทะเลหมอกกันได้ด้วย อยู่ที่นี่ใครจะหุงหาอาหารเองหรือซื้อที่นี่กินก็เลือกได้ตามอัธยาศัย แถมมีคาเฟ่กลางป่าดีต่อใจให้นั่งพักพิงอีกต่างหากนักท่องเที่ยวพึงพอใจ ชุมชนก็ได้รายได้ยั่งยืนตลอดปี ผลตอบรับดีขนาดนี้ชุมชนจึงจำกัดจำนวนคนเข้าพักให้ไม่แออัด ไม่รับกลุ่มกินเลี้ยงสังสรรค์ขนาดใหญ่ งดใช้เสียงดังยามค่ำคืน และที่สำคัญคือต้องแยกขยะด้วย บ้านถ้ำเสือจะได้สวยไม่สร่าง เป็นที่เที่ยวที่รักสิ่งแวดล้อมและทุกชีวิตไปอีกนาน
“คนชอบมาที่นี่ เขาว่ามาแล้วตรงปก”น้อย-สุเทพ พิมพ์ศิริ รองประธานบ้านถ้ำเสือโฮมสเตย์เอ่ยอย่างภูมิใจในชุมชนริมน้ำเพชรบุรี แรกเริ่มเดิมทีผู้นำชุมชนมุ่งมั่นเรื่องแก้ไขปัญหาความยากจนของชาวบ้าน ที่ความจำเป็นบีบบังคับให้ต้องขายที่ดินริมน้ำริมป่าให้คนนอกทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวบ้าง กู้หนี้ยืมสินบ้าง จึงร่วมทำธนาคารต้นไม้กับ ธ.ก.ส. โครงการที่ให้ชาวชุมชนปลูกต้นไม้ใหญ่เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ เปิดพื้นที่เป็นแหล่งเรียนรู้การอนุรักษ์พืชพรรณ และพื้นที่จัดกิจกรรม CSR สุดกรีนต่อมาคนทำกิจกรรมต้องการที่พักเสร็จสรรพ บ้านถ้ำเสือเลยเปิดโฮมสเตย์ไว้รองรับ โดย 1 - 2 ปีมานี้หันมาเปิดเป็นแหล่งแคมปิ้ง ตอบสนองกระแสกางเต็นท์ที่มาแรงแซงโค้ง ใครมาก็หลงรักเพราะที่นี่สวยทุกมุม โดยเฉพาะพื้นที่เกาะกลางน้ำให้กางเต็นท์ได้อย่างส่วนตัว มีห้องน้ำสะอาดเรียบร้อย แถมยังมีกิจกรรมสารพัด เช่น ล่องแพ ปั้นกระสุนเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่นไว้ยิงปลูกต้นไม้บนภูเขา ทำไข่เค็มอัญชันและทองม้วนน้ำตาลโตนดและช่วงปลายปีที่เขาพะเนินทุ่งเปิด เช้า ๆ ก็หิ้วปิ่นโตไปกินอาหารเช้าและชมทะเลหมอกกันได้ด้วย อยู่ที่นี่ใครจะหุงหาอาหารเองหรือซื้อที่นี่กินก็เลือกได้ตามอัธยาศัย แถมมีคาเฟ่กลางป่าดีต่อใจให้นั่งพักพิงอีกต่างหากนักท่องเที่ยวพึงพอใจ ชุมชนก็ได้รายได้ยั่งยืนตลอดปี ผลตอบรับดีขนาดนี้ชุมชนจึงจำกัดจำนวนคนเข้าพักให้ไม่แออัด ไม่รับกลุ่มกินเลี้ยงสังสรรค์ขนาดใหญ่ งดใช้เสียงดังยามค่ำคืน และที่สำคัญคือต้องแยกขยะด้วย บ้านถ้ำเสือจะได้สวยไม่สร่าง เป็นที่เที่ยวที่รักสิ่งแวดล้อมและทุกชีวิตไปอีกนาน
Coco&coff เป็นร้านกาแฟที่อยู่ในสวนมะพร้าวบ้านของ จ๊อย-ลภา บัวประดิษฐ์ และ ฮัน-รัชนีวรรณ จันทมาตย์ ทั้งคู่ลาออกจากงานมาเปิดเป็นร้านกาแฟในสวนมะพร้าว พืชที่อาจไม่ได้รับความนิยมในการปลูกเท่ากับต้นตาล แต่หมู่บ้านดอนผิงแดด อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี มีดินที่เป็นดินเหนียวและเป็นน้ำกร่อย ส่งผลทำให้มะพร้าวที่ปลูกในพื้นที่นี้มีรสชาติหอมหวานเมื่อเห็นว่ามีของดีอยู่หลังบ้านทั้งคู่เลยทำร้านกาแฟขึ้นมา ใช้น้ำมะพร้าวเป็นส่วนผสมในกาแฟ เพื่อโชว์ความหอมหวานของน้ำจากมะพร้าวดอนผิงแดด มีเมนูแนะนำของร้านคืออเมริกาโน่มะพร้าวและลาเต้มะพร้าว หรือถ้าใครไม่กินกาแฟ จะลองสั่งมะพร้าวปั่นนมสด ที่ใช้น้ำมะพร้าวผสมกับนมสดปรุงพิเศษก็ได้ และยังมีขนมที่ทำมะพร้าวอีกหลากหลายเมนูระหว่างรอขนมและเครื่องดื่ม ก็เดินเล่นถ่ายรูปในสวนมะพร้าวและสวนสนกับสระน้ำ เมื่อได้เครื่องดื่มแล้วจะมีประกาศเสียงตามสายให้ไปรับเครื่องดื่มแบบไม่ต้องเสียเวลารอหลังจากนั้นค่อยเอนหลังบนเก้าอี้ผ้าใบใต้ร่มเงามะพร้าวแบบสบายใจ ดื่มกาแฟ ซึมซับความอร่อยของน้ำมะพร้าวเพชรบุรีที่มีดีไม่แพ้น้ำตาลสด
Coco&coff เป็นร้านกาแฟที่อยู่ในสวนมะพร้าวบ้านของ จ๊อย-ลภา บัวประดิษฐ์ และ ฮัน-รัชนีวรรณ จันทมาตย์ ทั้งคู่ลาออกจากงานมาเปิดเป็นร้านกาแฟในสวนมะพร้าว พืชที่อาจไม่ได้รับความนิยมในการปลูกเท่ากับต้นตาล แต่หมู่บ้านดอนผิงแดด อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี มีดินที่เป็นดินเหนียวและเป็นน้ำกร่อย ส่งผลทำให้มะพร้าวที่ปลูกในพื้นที่นี้มีรสชาติหอมหวานเมื่อเห็นว่ามีของดีอยู่หลังบ้านทั้งคู่เลยทำร้านกาแฟขึ้นมา ใช้น้ำมะพร้าวเป็นส่วนผสมในกาแฟ เพื่อโชว์ความหอมหวานของน้ำจากมะพร้าวดอนผิงแดด มีเมนูแนะนำของร้านคืออเมริกาโน่มะพร้าวและลาเต้มะพร้าว หรือถ้าใครไม่กินกาแฟ จะลองสั่งมะพร้าวปั่นนมสด ที่ใช้น้ำมะพร้าวผสมกับนมสดปรุงพิเศษก็ได้ และยังมีขนมที่ทำมะพร้าวอีกหลากหลายเมนูระหว่างรอขนมและเครื่องดื่ม ก็เดินเล่นถ่ายรูปในสวนมะพร้าวและสวนสนกับสระน้ำ เมื่อได้เครื่องดื่มแล้วจะมีประกาศเสียงตามสายให้ไปรับเครื่องดื่มแบบไม่ต้องเสียเวลารอหลังจากนั้นค่อยเอนหลังบนเก้าอี้ผ้าใบใต้ร่มเงามะพร้าวแบบสบายใจ ดื่มกาแฟ ซึมซับความอร่อยของน้ำมะพร้าวเพชรบุรีที่มีดีไม่แพ้น้ำตาลสด
‘บูติกฟาร์มสเตย์แบบวิลล่า 10 หลังที่รายล้อมไปด้วยสมุนไพรไทยนานาชนิด’ คือนิยามของ The Life Garden Boutique Farmstay ที่พักเปิดใหม่ที่อยากให้คนใกล้ชิดธรรมชาติ แต่ยังพักผ่อนสบายในสถาปัตย์น่ารักสวยเก๋ โดยเฉพาะห้องที่มีอ่างน้ำนั้นสุดน่ารัก แถมอยู่ห่างจากหาดเจ้าสำราญเพียง 4 กิโลเมตร แต่คนที่เข้าพักส่วนมากไม่อยากออกไปไหนหรอก อยากจะพักอยู่ข้างสระน้ำคดเคี้ยวในสวนเขียว ๆ สดชื่นมากกว่าที่พักหลากขนาดมีความสงบ อากาศดี มีชุดดริปกาแฟให้ในห้อง และเป็นส่วนตัวมากเพราะล้อมด้วยฟาร์มออร์แกนิกกว้างใหญ่ จึงทำกิจกรรมได้หลายรูปแบบ เช่น ให้อาหารปลา เป็ด และห่าน เรียนรู้การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อทำปุ๋ย ไปจนถึงเก็บมะเขือเทศราชินี ผักนานา และไข่สด ๆ จากเล้าไก่มาให้โรงแรมทำอาหารเช้า หรือใครไม่สะดวกก็ตื่นสาย ๆ มากินข้าวยำหรือแซนด์วิชใส่ผักออร์แกนิกกรุบกรอบจากฝีมือเจ้าของก็ได้ ใส่ใจสุขภาพดีมาก ตอบโจทย์ทั้งแขกคู่รัก ครอบครัวที่มีเด็ก หรือผู้สูงวัย และบางวันที่นี่ยังเปิดให้แขกพาสัตว์เลี้ยงมาได้ด้วยอีกไม่นาน The Life Garden Boutique Farmstay จะเปิดคาเฟ่ด้วย เป็นจุดเช็กอินใหม่ที่ทำให้คนได้ใกล้ชิดและรักธรรมชาติในเพชรบุรี
‘บูติกฟาร์มสเตย์แบบวิลล่า 10 หลังที่รายล้อมไปด้วยสมุนไพรไทยนานาชนิด’ คือนิยามของ The Life Garden Boutique Farmstay ที่พักเปิดใหม่ที่อยากให้คนใกล้ชิดธรรมชาติ แต่ยังพักผ่อนสบายในสถาปัตย์น่ารักสวยเก๋ โดยเฉพาะห้องที่มีอ่างน้ำนั้นสุดน่ารัก แถมอยู่ห่างจากหาดเจ้าสำราญเพียง 4 กิโลเมตร แต่คนที่เข้าพักส่วนมากไม่อยากออกไปไหนหรอก อยากจะพักอยู่ข้างสระน้ำคดเคี้ยวในสวนเขียว ๆ สดชื่นมากกว่าที่พักหลากขนาดมีความสงบ อากาศดี มีชุดดริปกาแฟให้ในห้อง และเป็นส่วนตัวมากเพราะล้อมด้วยฟาร์มออร์แกนิกกว้างใหญ่ จึงทำกิจกรรมได้หลายรูปแบบ เช่น ให้อาหารปลา เป็ด และห่าน เรียนรู้การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อทำปุ๋ย ไปจนถึงเก็บมะเขือเทศราชินี ผักนานา และไข่สด ๆ จากเล้าไก่มาให้โรงแรมทำอาหารเช้า หรือใครไม่สะดวกก็ตื่นสาย ๆ มากินข้าวยำหรือแซนด์วิชใส่ผักออร์แกนิกกรุบกรอบจากฝีมือเจ้าของก็ได้ ใส่ใจสุขภาพดีมาก ตอบโจทย์ทั้งแขกคู่รัก ครอบครัวที่มีเด็ก หรือผู้สูงวัย และบางวันที่นี่ยังเปิดให้แขกพาสัตว์เลี้ยงมาได้ด้วยอีกไม่นาน The Life Garden Boutique Farmstay จะเปิดคาเฟ่ด้วย เป็นจุดเช็กอินใหม่ที่ทำให้คนได้ใกล้ชิดและรักธรรมชาติในเพชรบุรี
ระหว่างทางจากเพชรบุรีไปชะอำ มีร้านอาหารไทยฝีมือดีอยู่ร้านหนึ่งอยู่ที่อำเภอท่ายาง ร้านห่างออกมาจากตัวอำเภอเล็กน้อย รับลูกค้าวันละไม่กี่โต๊ะผ่านการจองล่วงหน้า เสิร์ฟอาหารไทยที่ เชฟเปอร์โยต์-กิจณรงค์ จันทร์ปลูก คนเพชรบุรีเป็นคนปรุงร้านรัญจวนใจเปลี่ยนเมนูตามฤดูกาล เราจึงสั่งได้ตามเมนูที่ถูกกำหนดไว้แล้ว ในเมนูของแต่ละฤดูกาลจะมีทั้งอาหารไทยโบราณที่แกะจากตำราเก่าเช่นน้ำพริกลงเรือ อย่างเจ้าจอมหม่อมราชวงค์สดับ ลดาวัลย์ หรือแกงชื่อไม่คุ้นอย่างแกงมาชะแมน อาหารพื้นบ้านแบบคนเพชรบุรีอย่างแกงหลอกเนื้อดองหน่อไม้เปรี้ยว หรืออาหารที่มีเฉพาะฤดูกาล เช่น สะเดาน้ำปลาหวาน กับปลากะพงแดงเขี้ยวทอด ปลาที่ได้จากประมงพื้นบ้าน หรือบางวันก็เป็นฝีมือการตกของเชฟโยเองไม่ใช่เฉพาะอาหารที่มาจากสูตรหรือตำราเท่านั้น เชฟโยยังมีเมนูที่คิดขึ้นเองจากประสบการณ์การทำครัว จับนั่นนิด ผสมนี่หน่อย กลายเป็นอาหารจานใหม่ แต่รสชาติจัดจ้านแบบรสมือคนเพชรเชฟเทเบิ้ลฝีมือดีรสชาติจัดจ้าน ในบรรยากาศแบบบ้าน ๆ และจริงใจ เป็นเพชรเม็ดงามแห่งเมืองเพชรที่ควรแวะไปลองชิม
ระหว่างทางจากเพชรบุรีไปชะอำ มีร้านอาหารไทยฝีมือดีอยู่ร้านหนึ่งอยู่ที่อำเภอท่ายาง ร้านห่างออกมาจากตัวอำเภอเล็กน้อย รับลูกค้าวันละไม่กี่โต๊ะผ่านการจองล่วงหน้า เสิร์ฟอาหารไทยที่ เชฟเปอร์โยต์-กิจณรงค์ จันทร์ปลูก คนเพชรบุรีเป็นคนปรุงร้านรัญจวนใจเปลี่ยนเมนูตามฤดูกาล เราจึงสั่งได้ตามเมนูที่ถูกกำหนดไว้แล้ว ในเมนูของแต่ละฤดูกาลจะมีทั้งอาหารไทยโบราณที่แกะจากตำราเก่าเช่นน้ำพริกลงเรือ อย่างเจ้าจอมหม่อมราชวงค์สดับ ลดาวัลย์ หรือแกงชื่อไม่คุ้นอย่างแกงมาชะแมน อาหารพื้นบ้านแบบคนเพชรบุรีอย่างแกงหลอกเนื้อดองหน่อไม้เปรี้ยว หรืออาหารที่มีเฉพาะฤดูกาล เช่น สะเดาน้ำปลาหวาน กับปลากะพงแดงเขี้ยวทอด ปลาที่ได้จากประมงพื้นบ้าน หรือบางวันก็เป็นฝีมือการตกของเชฟโยเองไม่ใช่เฉพาะอาหารที่มาจากสูตรหรือตำราเท่านั้น เชฟโยยังมีเมนูที่คิดขึ้นเองจากประสบการณ์การทำครัว จับนั่นนิด ผสมนี่หน่อย กลายเป็นอาหารจานใหม่ แต่รสชาติจัดจ้านแบบรสมือคนเพชรเชฟเทเบิ้ลฝีมือดีรสชาติจัดจ้าน ในบรรยากาศแบบบ้าน ๆ และจริงใจ เป็นเพชรเม็ดงามแห่งเมืองเพชรที่ควรแวะไปลองชิม
โรงเรียนลูกหว้าก่อตั้งโดย จำลอง บัวสุวรรณ์ อดีตครูสอนภาษาอังกฤษและชาวเพชรบุรีคนแรก ๆ ที่ได้ใช้อินเทอร์เน็ตในจังหวัด การเชื่อมต่อกับโลกกว้างทำให้เขามองเห็นว่า การศึกษาแค่ในห้องเรียนไม่เพียงพอให้เด็ก ๆ ชาวเพชรบุรีได้เรียนรู้ทักษะจำเป็นในชีวิต รวมถึงรู้จักแง่งามของบ้านเกิด เขาจึงก่อตั้ง ‘กลุ่มลูกหว้า’ ให้เยาวชนได้ออกมาทำกิจกรรมช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่เคเบิลคาร์ อาเขต หรือบริเวณเขาวังเคเบิลคาร์ ทั้งทำพวงมโหตร ตอกกระดาษ วาดรูประบายสี รวมถึงพูดคุยทำกิจกรรมร่วมกับนักท่องเที่ยว และจัดหอศิลป์สุวรรณารามในกุฏิเก่าร้าง ทำให้เยาวชนได้รู้จักทั้งงานช่างศิลป์สกุลเมืองเพชร และสร้างสมประสบการณ์ชีวิตด้านการปฏิสัมพันธ์ต่อมากลุ่มลูกหว้าขยายกิจกรรมเป็นโรงเรียนลูกหว้า โรงเรียนสาธารณะที่เด็กหรือผู้ใหญ่จากที่ไหน ๆ ก็มาเรียนรู้ได้ตลอด ทั้งชมนิทรรศการช่างศิลป์เมืองเพชร เรียนทำพวงมโหตร ทำขนมจากตาลโตนดสุก ไปจนถึงวาดรูประบายสีและพิมพ์ลงบนผลงานอย่างกระเป๋าผ้า แก้วน้ำ แถมยังมีมุมขายของคราฟต์ของที่ระลึกจากลุงป้าในชุมชนทั่วเพชรบุรี และที่นี่ยังเป็นแหล่งข้อมูลการท่องเที่ยวเพชรบุรีที่เยี่ยมยอดจากคนท้องถิ่น เรียกได้ว่ามาที่นี่ที่เดียวได้ครบทุกสิ่ง เหมาะกับกิจกรรมวันหยุดของครอบครัวหรือคนรักศิลปวัฒนธรรม
โรงเรียนลูกหว้าก่อตั้งโดย จำลอง บัวสุวรรณ์ อดีตครูสอนภาษาอังกฤษและชาวเพชรบุรีคนแรก ๆ ที่ได้ใช้อินเทอร์เน็ตในจังหวัด การเชื่อมต่อกับโลกกว้างทำให้เขามองเห็นว่า การศึกษาแค่ในห้องเรียนไม่เพียงพอให้เด็ก ๆ ชาวเพชรบุรีได้เรียนรู้ทักษะจำเป็นในชีวิต รวมถึงรู้จักแง่งามของบ้านเกิด เขาจึงก่อตั้ง ‘กลุ่มลูกหว้า’ ให้เยาวชนได้ออกมาทำกิจกรรมช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่เคเบิลคาร์ อาเขต หรือบริเวณเขาวังเคเบิลคาร์ ทั้งทำพวงมโหตร ตอกกระดาษ วาดรูประบายสี รวมถึงพูดคุยทำกิจกรรมร่วมกับนักท่องเที่ยว และจัดหอศิลป์สุวรรณารามในกุฏิเก่าร้าง ทำให้เยาวชนได้รู้จักทั้งงานช่างศิลป์สกุลเมืองเพชร และสร้างสมประสบการณ์ชีวิตด้านการปฏิสัมพันธ์ต่อมากลุ่มลูกหว้าขยายกิจกรรมเป็นโรงเรียนลูกหว้า โรงเรียนสาธารณะที่เด็กหรือผู้ใหญ่จากที่ไหน ๆ ก็มาเรียนรู้ได้ตลอด ทั้งชมนิทรรศการช่างศิลป์เมืองเพชร เรียนทำพวงมโหตร ทำขนมจากตาลโตนดสุก ไปจนถึงวาดรูประบายสีและพิมพ์ลงบนผลงานอย่างกระเป๋าผ้า แก้วน้ำ แถมยังมีมุมขายของคราฟต์ของที่ระลึกจากลุงป้าในชุมชนทั่วเพชรบุรี และที่นี่ยังเป็นแหล่งข้อมูลการท่องเที่ยวเพชรบุรีที่เยี่ยมยอดจากคนท้องถิ่น เรียกได้ว่ามาที่นี่ที่เดียวได้ครบทุกสิ่ง เหมาะกับกิจกรรมวันหยุดของครอบครัวหรือคนรักศิลปวัฒนธรรม
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0