โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ยาหยอดตาแต่ละรูปแบบมีข้อดี-ข้อเสียต่างกันอย่างไร

อาวุโส โซไซตี้

เผยแพร่ 31 ต.ค. 2565 เวลา 14.06 น. • อาวุโสโซไซตี้
ยาหยอดตาแต่ละรูปแบบมีข้อดี-ข้อเสียต่างกันอย่างไร
ยาหยอดตาแต่ละรูปแบบมีข้อดี-ข้อเสียต่างกันอย่างไร

ผลิตภัณฑ์ยาหยอดตามีหลายรูปแบบ (Dosage forms) ซึ่งส่วนประกอบหลัก ๆ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ตัวยาสำคัญ และสารช่วยในตำรับ รูปแบบยาที่แตกต่างกันนี้มีความสำคัญต่อการกระบวนออกฤทธิ์ของตัวยาที่จะส่งยาไปยังบริเวณเป้าหมาย รวมถึงมีผลต่ออายุหรือความคงตัวของยา การเก็บรักษา และผลข้างเคียงต่อผู้ใช้ยา

รูปแบบยาหยอดตาที่พบได้บ่อย มีดังนี้

1.ยาหยอดตาชนิดน้ำใส (Ophthalmic solutions) ประกอบด้วยตัวยาซึ่งละลายได้ดีในน้ำ

ข้อดี หยอดได้ง่าย โดยทั่วไปไม่รบกวนการมองเห็น

ข้อเสีย จะสัมผัสตาได้ในระยะสั้น การออกฤทธิ์คงอยู่ไม่นาน

2.ยาหยอดตาชนิดยาน้ำแขวนตะกอน (Ophthalmic suspensions) ยาชนิดนี้มีลักษณะขุ่นขาว เวลาใช้ต้องเขย่าขวดก่อนเพื่อให้ยากระจายตัวเต็มที่

ข้อดี อยู่ที่ถุงตาได้นานและมีระยะเวลาในการออกฤทธิ์นานกว่ายาหยอดตาชนิดน้ำใส

ข้อเสีย ผู้ใช้ต้องเขย่าขวดก่อนใช้ เพราะอาจทําให้ตัวยากระจายไม่ทั่วถึง ส่งผลต่อการรักษา

ยาหยอดตาชนิดน้ำทั้ง 2 รูปแบบอาจมีการปนเปื้อนได้ง่าย และอาจมีอันตรายจากปลายขวดหรือ

หลอดที่ใช้หยอดอาจทิ่มตาได้

3.ยาขี้ผึ้งป้ายตา (Ophthalmic ointments) ยาป้ายตาประเภทนี้จะมีความเหนียวหนืด จึงเหมาะสมที่ใช้ในเวลากลางคืนก่อนนอน

ข้อดี สัมผัสกับตาได้นาน ฤทธิ์คงอยู่ได้นานกว่าการหยอดตา ไม่ทําให้เกิดอาการระคายเคือง และไม่มีการไหลของยาลงไปในท่อน้ำตาและลงไปในคอ ซึ่งจะทําให้มีการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายน้อยกว่า

ข้อเสีย จะรู้สึกเหนอะหนะและขี้ผึ้งจะทําให้เกิดฝ้า ซึ่งรบกวนการมองเห็นของผู้ใช้ จึงใช้ป้ายก่อนนอน

การรักษาจะได้ผลดีต้องเลือกใช้ยาหยอดตาให้เหมาะสมกับสาเหตุของโรค ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญจากแพทย์หรือเภสัชกรในการเลือกยารักษา ร่วมกับการปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด จึงไม่ควรซื้อยามาใช้เองหรือยืมของคนอื่นมาใช้เพราะอาจเกิดอันตรายจากการใช้ยาได้ นอกจากนี้การเก็บรักษา

ยาหยอดตาแต่ละประเภทก็มีความแตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรอ่านฉลากยาอย่างละเอียดให้เข้าใจ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย. )

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0