ว่าด้วยเรื่องการเดินทางของคนกรุงเทพฯ พูดเรื่องนี้ไปใครๆก็บ่น รถไฟฟ้าเสียก็บ่อย รถเมล์ก็น้อย ค่าเดินทางก็แพง ฯลฯ แล้วที่เราบ่นๆกันเนี่ย ระบบขนส่งสาธารณะ ของต่างประเทศเขาเป็นยังไงกันบ้างนะ? ในขณะที่เราวัดความมั่งคั่งและความเจริญจาก GDP แต่วันนี้เราจะมาวัดกันที่ “ระบบขนส่งสาธารณะ” TerraBKK จึงได้นำผลวิจัยจาก “Arcadis” บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก ได้ทำการสำรวจ 100 เมืองจากทั่วโลกในการสำรวจวิจัยเรื่อง “Sustainable Cities Mobility Index 2017” ที่ไม่ใช่แค่ ระบบขนส่งสาธารณะ ดีเท่านั้น แต่จะต้องยั่งยืนด้วยเช่นกัน และผลวิจัยพบว่า … “กรุงเทพฯ ติดอันดับเกือบรั้งท้ายคือ อันดับที่ 92 จากทั้งหมด 100 เมืองทั่วโลก!”
แล้ว ระบบขนส่งสาธารณะ ของกรุงเทพฯไม่ดีตรงไหน? ทาง Arcadis จึงได้แยกการวิจัยออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน เพื่อที่จะมาวัดผลประสิทธิภาพของ ระบบขนส่งสาธารณะ ของแต่ละเมือง
1. ผู้คน (People) แน่นอนว่าหากพูดเรื่องการเดินทาง คุณภาพของผู้คนที่ใช้บริการต้องมาก่อนเสมอ ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยในการเดินทาง, การเข้าถึง ระบบขนส่งสาธารณะ ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ และเมืองที่ได้อันดับ 1 ไปครองในด้าน People นี้ก็คือ “Hong Kong” รองลงมาคือ New York และ Tokyo ซึ่งต่างก็ขึ้นชื่อในด้านรถไฟฟ้าที่ทั้งเร็วและมีจำนวนสถานีมาก สามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้คนได้เป็นอย่างดี ตัดภาพมาที่กรุงเทพมหานครของเรานั้น… อยู่อันดับที่ 43 จาก 100 เมืองทั่วโลก คงไม่ต้องกล่าวถึงความประทับของผู้โดยสารว่ามีมากน้อยแค่ไหน เพราะมีกระทู้หนึ่งใน Pantip ได้รวบรวมสถิติมาแล้วว่าในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา รถไฟฟ้าไทยเสียไปแล้วทั้งหมด 52 ครั้ง เฉลี่ย 4 ครั้งต่อเดือน (เป็นข้อมูลที่นับเฉพาะใน twitter อย่างเป็นทางการจาก BTS เท่านั้น ไม่รวมเหตุการณ์เล็กน้อยอื่นๆที่ไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการ)
2. เป็นมิตรต่อโลก (Planet) รองลงมาที่เราหลายๆ คนอาจจะลืมนึกถึงกันคือ ระบบขนส่งสาธารณะ ในเมืองนั้นๆส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือการลดมลภาวะโลกร้อนอย่างไร เช่น โครงสร้างการคมนาคมที่เอื้อต่อการใช้จักรยาน, การปล่อยมลพิษ, การใช้ไฟฟ้าแทนน้ำมัน ฯลฯ แม้ว่าจะไม่ได้มีผลต่อเราโดยตรงนัก แต่นี่แหละคือการพัฒนา ระบบขนส่งสาธารณะ อย่างยั่งยืนและเมืองที่ได้อันดับ 1 ไปครองด้านรักษ์โลก คือ Frankfurt รองลงมาคือ Munich และ Berlin สังเกตว่าทั้ง 3 เมือง เป็นประเทศเยอรมันทั้งสิ้น ซึ่งเยอรมันเองขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่ส่งเสริมการขี่จักรยานอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเมืองให้เอื้อต่อคนขี่จักรยานมีความปลอดภัย เน้น ระบบขนส่งสาธารณะ ให้ดีเพื่อที่จะให้คนหันไปใช้การเดินทางแบบสาธารณะแทนการขับรถ และแน่นอนค่ะ กรุงเทพมหานครของเรานั้น… ขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนที่อันตรายที่สุดสำหรับผู้ใช้จักรยาน อยู่อันดับที่ 83 จาก 100 เมืองทั่วโลก
3. ผลกำไร (Profit) คือ ด้านตัวเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่เราเสียไปในการเดินทาง (เมื่อคิดออกมาเป็นตัวเงิน) หรือการเดินทางที่เอื้อต่อการไปทำงาน แม้กระทั่ง “ค่าเดินทาง” ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่นำมาเป็นตัววัดในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน เมืองที่ได้อันดับ 1 ในด้านนี้คือ “Zurich” รองลงมาคือ Prague และ Warsaw ซึ่งล้วนแต่เป็นเมืองที่ผู้คนใช้ ระบบขนส่งสาธารณะ ได้สะดวกสบาย และไม่เสียเวลาไปกับมักมากนัก รวมถึงค่าโดยสารที่ไม่สูงจนเกินไปเมื่อเทียบกับรายได้ของประชาชน นี่จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนใน ระบบขนส่งสาธารณะ ของประเทศเหล่านี้น่าใช้มากขึ้น และกรุงเทพมหานครของเรานั้น ตกอยู่ในอันดับที่ 97 จาก 100 เมืองทั่วโลก
เอาล่ะ มาถึงบทสรุปสุดท้าย ว่าหากเรารวม 3 ปัจจัยเข้าด้วยกัน พบว่า Hong Kong คือเมืองที่ครองแชมป์ ระบบขนส่งสาธารณะ ที่ดีและยั่งยืนมากที่สุดในโลก ประจำปี 2017 ซึ่งประเทศฮ่องกงเองก็ขึ้นชื่อในเรื่อง ระบบขนส่งสาธารณะ ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ด้วยระบบจ่ายเงินที่แสนสะดวกสบาย ไม่ต้องต่อแถวแลกเหรียญเปลี่ยนเป็นบัตรให้ยุ่งยาก ด้วยระบบการจ่ายเงินด้วยบัตร Octopus ที่สามารถต่อรถ ลงเรือ หรือแม้กระทั่งซื้อสินค้าและบริการ ก็ใช้ได้ด้วยบัตรเพียงใบเดียว
(คลิกที่ภาพเพื่อดู Score แบบเต็ม)
เห็นแบบนี้แล้ว ถึงเวลาหรือยังที่เมืองหลวงกรุงเทพมหานครของเราจะต้องปรับตัวอะไรซักอย่างเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของคนเมือง ในอนาคตก็เพียงแค่หวังว่าการเดินทางไปทำงานในเมืองจะไม่มีสภาพประหนึ่งไปสนามรบ หรือการที่ต้องมาฟังประกาศรถเสียในช่วง Rush hour หรือแม้กระทั่งรถเมล์ที่มีเส้นทางบอกได้ชัด และมาตรงเวลามากขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนเมืองขึ้นบ้างเท่านั้นเอง - TERRABKK
สามารถอ่าน Report ฉบับเต็มได้ที่ >> Sustainable Cities Mobility Index 2017 - Arcadis
*บทความโดย : TerraBKK *
เคล็ดลับการลงทุน TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก
ความเห็น 14
Surajit
ผมว่าคนเขียนบทความนี้ซึ่งน่าจะเป็นคนไทย แต่มีอคติกับระบบรถไฟฟ้าของไทยมากไปหน่อย ท่านเขียนโดยอ้างข้อมูลการจัดอันดับของชาวต่างชาติ เสริมด้วยข้อมูลเชิงอคติต่างๆทีสรรหามาได้เกี่ยวกับการดำเนินการของรถไฟฟ้าไทยในช่วงเวลาแค่ 20 ปีตั้งแต่ดำเนินการมาทั้งบีทีเอสและเอ็มอาร์ที ท่านไม่มองว่าประเทศต่างๆที่ยกมาเปรียบเทียบนั้น ได้สร้างและดำเนิการระบบรถไฟฟ้ามาก่อนประเทศไทยนานกว่า 30ปีทั้งสิ้น ผมว่าระบบรถไฟฟ้าของไทย ทำได้ขนาดนี้ ก็โอเคแล้วนะ ท่านอย่าเพิ่งติติงอะไรมากเลย
23 พ.ย. 2560 เวลา 03.15 น.
Gang
ต่ำตม
22 พ.ย. 2560 เวลา 10.13 น.
贲光光 Ben Guang Guang
กทม ยังด้อยพัฒนา
22 พ.ย. 2560 เวลา 10.02 น.
จะดีขึ้นน่ะหวังไว้
22 พ.ย. 2560 เวลา 09.59 น.
nnon♾️
บอกเลยโคตรอาย มันห่วยแตก มันแบบ อะไรกันนี่ ทำมัยรัฐบาลไม่ลงมาดูแลเลย แย่มากๆๆๆๆ
22 พ.ย. 2560 เวลา 09.54 น.
ดูทั้งหมด