โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

จริงหรือไม่? เล่นโทรศัพท์มือถือมากๆ เสี่ยงเป็น โรควุ้นตาเสื่อม

MThai.com

เผยแพร่ 24 ก.พ. 2562 เวลา 05.00 น.
จริงหรือไม่? เล่นโทรศัพท์มือถือมากๆ เสี่ยงเป็น โรควุ้นตาเสื่อม
โรควุ้นตาเสื่อม เป็นโรคที่เกิดกับผู้มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เมื่ออายุมากขึ้นวุ้นตาจะเริ่มเสื่อมตัวลงตามธรรมชาติ

ปัจจุบันทุกคนต่างมีมือถือพกติดตัวไว้ตลอดเวลาแม้แต่ก่อนนอน ซึ่งมือถือจะปล่อยรังสีหรือ แสงสีฟ้า (Blue-Light) การเพ่งมองมือถือนานๆจะส่งผลให้เกิดอาการปวดตา เพราะกล้ามเนื้อตาถูกใช้งานมากจนเกินไป การเล่นมือถือนานๆไม่ส่งผลให้เป็นโรควุ้นตาเสื่อม แต่จะทำให้ปวดหัว อาการตาล้า ปวดตา แสบตา ตาแห้ง ตาพร่า เห็นภาพไม่ชัดหรือภาพซ้อน ทำให้ระบบสายตาต้องทำงานหนักมากขึ้น

โรควุ้นตาเสื่อม เป็นโรคที่เกิดกับผู้มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เมื่ออายุมากขึ้นวุ้นตาจะเริ่มเสื่อมตัวลงตามธรรมชาติ โดยเส้นใยโปรตีนที่อยู่ภายในวุ้นตาจะตกตะกอนขุ่นหรือเป็นเส้นใยเมื่อเงาตกกระทบลงบนจอประสาทตาก็จะทำให้เราเห็นเป็นเส้นสีดำ จุดๆ รอยขีด หยากไย่ลอยไปมา นี่คืออาการของ วุ้นตาที่เสื่อมตัว และสามารถสังเกตอาการได้ชัดเจนเมื่ออยู่ในพื้นที่สว่าง เช่น ท้องฟ้าขาวๆ ผนังห้องสีขาว แต่สำหรับบางคนที่เป็นโรคนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย เป็นเพราะมีสายตาที่สั้นมากๆ เช่น 500, 700

โรควุ้นตาเสื่อมเป็นความเสื่อมตามธรรมชาติของสายตา วุ้นตาเสื่อมไม่มีอันตรายใดๆ และไม่ต้องรักษาเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะสมองจะเริ่มชินและภาพเหล่านี้ก็จะหายไปเอง ในช่วงที่มีอาการไม่ควรออกกำลังกายหรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมทุกอย่างที่จะสะเทือนดวงตาเพราะอาจทำให้จอตาฉีกขาดได้

ที่สำคัญควรเล่นมือถือแล้วพักสายตาทุก 2 ชั่วโมง เพื่อผ่อนคลายดวงตา ด้วยการทำกิจกรรมอื่นๆ หรือมองไปที่ไกลๆ มองต้นไม้ ดอกไม้ และควรบำรุงสายตาด้วยการกินผักผลไม้ที่มีวิตามินเอ และ เบต้าแคโรทีนสูง เช่น ผักบุ้ง ฟักทอง แครอท ตำลึง มะเขือเทศราชินี มะละกอ กล้วยไข่ มะม่วงน้ำดอกไม้สุก เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงของเซลล์ลูกตาเสื่อม และ ลดความเสี่ยงในการเป็นต้อกระจกได้อีกด้วย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0