โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

แฟชั่น บิวตี้

เรียนหัวจะแตกแล้ว หน่านิ๊! 7 เหตุผล ทำไมใครๆ ก็บ่นว่าภาษาญี่ปุ่น 'ยากเกินห้ามใจ' TT

SistaCafe

อัพเดต 08 ก.ย 2563 เวลา 07.24 น. • เผยแพร่ 06 ก.ย 2563 เวลา 03.00 น. • Mollacake

 

คอนนิจิวะค่าา สาวๆ SistaCafe โซนญี่ปุ่นทั้งหลาย ( ´ ∀ `)ノ~ ♡
ได้ยินเสียงลือเสียงเล่าอ้างมาก็มาก ว่าในบรรดาภาษาทั้งหมดบนโลกใบนี้ หนึ่งในภาษาที่ซับซ้อน ไวยากรณ์และคันจิก็ยากสุดๆ จนหลายคนต้องล้มเลิกการเรียนไประหว่างทาง จะเป็นอะไรไปไม่ได้ นอกจาก ' ภาษาญี่ปุ่น '! ยิ่งคนไทยอย่างเราๆ แทบจะเรียกว่าต้องเริ่มจาก 0 เพราะระบบการออกเสียงและไวยากรณ์ของภาษาไทย ต่างกับภาษาญี่ปุ่นโดยสิ้นเชิง TT มันเศร้าตรงนี้
แต่อย่างไรก็ตาม! ก็ยังมีสาวซิสหน้าใหม่อีกมากมาย ที่สนใจและหลงรักในประเทศญี่ปุ่น ชอบอนิเมะ ซีรีส์ การ์ตูน อาหาร และวัฒนธรรมต่างๆ ของประเทศนี้ บางคนก็จะนำภาษาไปใช้ทำงาน เป็นล่ามแปลภาษา หรือแค่ติ่งหนุ่มญี่ปุ่น ( อิอิ ) จึงอยากลองลงเรียนดูสักครั้ง ซึ่งในฐานะของคนที่เรียนภาษานี้มาแล้วในระดับนึง ( ปัจจุบัน เรามีความรู้ประมาณ N3 หรือระดับกลาง ซึ่ง N5 จะง่ายสุด N1 จะยากสุด ) ก็พอจะบอกได้ว่า สาวๆ จะต้องเจอกับอะไรบ้างระหว่างเรียน เผื่อไม่ชอบ ไม่ไหว จะได้หนีทัน ( เดี๋ยวๆๆ… )  หากพร้อมแล้ว ก็สูดหายใจเข้าลึกๆ แล้วกดเลื่อนลงไปอ่านข้างล่างกันได้เลยค่ะ!
**ข้อมูลทั้งหมดจะอ้างอิงจากประสบการณ์ตรง อาจมีผิดพลาดไปบ้าง หรือไม่ครบถ้วนเท่าคนที่เรียนในระดับสูง ก็ต้องขออภัยล่วงหน้าไว้ก่อนเลยเน้อ (ไม่ใช่อะไร กลัวทัวร์ลงจ้าแม่ T
T )

1. มีตัวอักษรพื้นฐานถึง 3 ชุด! ( ฮิรางานะ, คาตาคานะ, คันจิ )

ธรรมชาติของภาษาทั่วๆ ไป จะมีระบบตัวอักษรแค่ 1 รูปแบบเท่านั้น เช่น ภาษาไทยของเรา, ภาษาอังกฤษ, ภาษาสเปน, ภาษาอิตาเลียน etc. แต่ภาษาญี่ปุ่นนางมาเหนือจ้า เพราะนางมีระบบตัวอักษรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายถึง 3 รูปแบบ ดังนี้
1. ฮิรางานะ ( ตัวอักษรพื้นฐานสุดๆ ที่ต้องรู้ถ้าจะเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่น เป็นอักษรญี่ปุ่นแท้ มี 46 ตัวด้วยกัน *ตารางครึ่งบนของรูป* )
2. คาตาคานะ ( ตัวอักษรที่คิดค้นขึ้น เพื่อสะกดคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ หรือเน้นคำสำคัญ คำใช้โฆษณา มีจำนวนเท่ากับฮิรางานะ คือ 46 ตัว *ตารางครึ่งล่างของรูป* )
3. คันจิ ( เป็นตัวอักษรที่คนต่างชาติตกม้าตายกันมากที่สุด เพราะมีมากถึงหลายพันตัว ซับซ้อนเพราะมีหลายเส้น มีตั้งแต่ขีดไม่กี่เส้น กับตัวที่ขีดเป็นสิบเส้นยุ่บยั่บไปหมด - - แต่ถ้าต้องการระดับใช้ชีวิตประจำวันได้ ต้องรู้ถึง 2,136 ตัว เรียกว่า " โจโยคันจิ " ค่ะ )

นี่คันจิแค่เสี้ยวเดียวจ้า… #ล้องห้าย
นี่คันจิแค่เสี้ยวเดียวจ้า… #ล้องห้าย

ยังไม่นับตัวอักษรพิเศษอย่าง ' โรมะจิ ' หรือตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ถอดเสียงภาษาญี่ปุ่นมาอีกทีด้วยนะ คนต่างชาติหลายคนเลือกเรียนแค่โรมะจิเพราะไม่อยากสู้กับตัวอักษรใหม่ แต่เชื่อเราเถอะ ถ้าจะใช้ภาษานี้หากินจริงๆ โรมะจิอย่างเดียวไม่รอดเด้อ เพราะเธอจะอ่านอะไรไม่ออกเลย… --
จากประสบการณ์ส่วนตัวของเรา ฮิรางานะกับคาตาคานะไม่ยากมากนัก เพราะเป็นเพียงการขีดเส้นไม่กี่เส้น ใช้เวลา 3-4 เดือนก็จำและเขียนได้แม่นแล้ว แต่คันจิจะค่อนข้างใช้เวลาในการทำความเข้าใจ ( จะว่ายากก็ไม่เชิง สำหรับเราคือต้องใช้เวลาจำมากกว่า ) 100 ตัวถ้าเรียนเร่งสุดๆ ก็ยังใช้เวลาถึง 3 เดือน แต่บางคนหัวดีมากๆ ก็จำคันจิเป็นพันตัวในเวลาเพียงปีเดียวได้เหมือนกัน ( ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เรา… )

2. คันจิภาษาญี่ปุ่น เขียนเส้นผิดนิดเดียว ความหมายเปลี่ยนทันที!

ความปวดประสาทของ ' คันจิภาษาญี่ปุ่น ' ก็คือ มีตัวที่ขีดเส้นคล้ายๆ กันเยอะมาก ถ้าพิมพ์ในคอมหรือมือถือยังไม่เท่าไหร่ เพราะเราสามารถพิมพ์เป็นโรมะจิจากเสียงอ่าน แล้วเลือกคันจิจากคีย์บอร์ดได้ แต่ถ้าใช้มือเขียน เขียนบางเส้นผิด หรือหาย เกินไปแค่เส้นเดียว ก็มีปัญหาได้แล้ว เพราะความหมายเปลี่ยนทันที อย่างกับเล่นเกมจับผิดภาพ -_- ที่เราเจอบ่อยๆ ก็เช่น
1. 学 ( การศึกษา ), 字 ( ตัวอักษร ) *ต่างกันแค่ขีดข้างบนเส้นเดียว*
2. 待つ ( รอ, คอย ), 持つ ( ถือ ), 時 ( เวลา…โมง ) *ต่างแค่เส้นข้างหน้าไม่กี่เส้น*
3.  開ける ( เปิดประตู หน้าต่าง ), 関心 ( สนใจ ) *คันจิตัวแรกของคำว่าเปิด ต่างจากคันจิตัวแรกของคำว่าสนใจ แค่ขีดข้างบนอีกสองเส้น*
4. 月末 ( ปลายเดือน ), 未来 ( อนาคต ) *คันจิตัวหลังของคำแรก ต้องขีดเส้นแรกยาวกว่าเส้นที่สอง แต่คันจิตัวแรกของคำว่าอนาคต เส้นแรกจะสั้นกว่าเส้นที่สอง*
และอื่นๆ อีกมากมาย ที่ทำให้เราสับสนงงงวย และเผลอกาข้อผิดได้ง่ายมากๆ เรียกได้ว่าถ้าจะเรียนภาษานี้ ต้องมีสติและสมาธิอยู่ตลอดเลยค่ะซิส ที่สำคัญคือควรมีสกิลที่จำแม่นด้วยนะ!

3. คันจิ 1 ตัว ออกเสียงได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับคำศัพท์ที่ใช้!

ความประสาทแ…. ตี๊ด! ของคันจิในภาษาญี่ปุ่นยังไม่จบแค่นั้นค่ะซิสขา! นอกจากมีจำนวนเยอะ ( มากกก ) เขียนคล้ายกันหลายตัว ในหนึ่งตัวยังสามารถมีมากกว่า 1 ความหมาย และออกเสียงได้มากกว่า 1 แบบอีกด้วย! ( บางตัวสามารถออกเสียงต่างกันได้ 7-8 เสียงเลยทีเดียว ) ซึ่งคนที่เรียนภาษาญี่ปุ่นจริงจัง ควรต้องจำเสียงทุกเสียงและความหมายทุกอย่างของคันจิทุกตัวได้ เป็นไง ฟังแล้วอึ้งไปรึยัง //ลูบๆ
ซึ่งคันจิแต่ละตัวจะออกเสียงแบบไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่าใช้กับคำศัพท์ หรือคำกริยาอะไร เราไม่แน่ใจว่ามีหลักในการใช้หรือไม่ แต่ส่วนใหญ่ก็เน้นการจำแยกทีละคำไปเลย ง่ายสุด เช่น
1. 食べ tabemono = ของกิน, 動 doubutsu = สัตว์, 荷 nimotsu = สัมภาระ
2. 製 seihin = สินค้าผลิตจากโรงงาน , shinamono = สินค้า, 出 shuppin = การนำสินค้าออกขาย
3. deru = ออกจาก,dasu = ส่ง นำออก, shuppatsu = ขาออก ( departure )
ก็จะประมาณนี้ และยังมีอีกหลายคำศัพท์ที่นักเรียนภาษาญี่ปุ่นจะต้องเจอ นี่แค่เบสิกเท่านั้น อย่าลืมเตรียมใจไว้รับมือด้วยนะคะ เพราะยังไงก็หนีไม่พ้นแน่นอน เหอ เหอ~~~  

4. มีรูปแบบการผันกริยา 'เยอะ มากกกก' ไม่ต่ำกว่า 11 รูปแบบ

โดยปกติ ภาษาอังกฤษที่เราๆ เรียนกันก็จะไม่มีการผันกริยาอะไรมากมายใช่ไหมคะ อย่างมากก็รูปอดีต ปัจจุบัน อนาคต past continuous, past perfect, present perfect อะไรก็ว่าไป จะเป็นรูปคำสั่ง คำถาม อะไรก็แค่เรียงคำใหม่ ไม่ต้องผันให้ยุ่งยากวุ่นวาย อย่างมากก็เติม ed หรือเปลี่ยนรูปนิดๆ หน่อยๆ 
แต่ภาษาญี่ปุ่นไม่ค่ะ!! ต้องผันกริยาใหม่ทั้งหมด ซึ่งภาษาญี่ปุ่นจะแยกกริยาเป็น 3 กลุ่มย่อย ในแต่ละกลุ่มย่อยก็จะมีกฎที่ผันต่างกันอีก! โดยการผันแต่ละรูปแบบ ต้องผันให้ได้ 4 แบบ คือ ปัจจุบัน, ปัจจุบันปฏิเสธ, อดีต และอดีตปฏิเสธ ซึ่งความยากก็คือ บางคำผันจนไม่เหลือรูปเดิมเลยก็มี ทำให้หาต้นตอของกริยานั้นๆ ไม่ได้ ต้องดูจากบริบทของประโยคอย่างเดียว ระดับสูงเราไม่แน่ใจข้อมูล แต่ถ้าจะเรียนให้ได้ถึงระดับกลาง ( N3 ) เธอต้องผันกริยาให้ได้ทั้งหมด 11 รูปแบบ! ดังนี้
1. masu-form ( สุภาพทั่วไป หากคุยกับใครแล้วไม่รู้จะลงท้ายให้สุภาพยังไง ก็ใช้รูปนี้ได้เลย ค่อนข้างครอบจักรวาล )
2. jisho-form ( รูปพจนานุกรม ลงท้ายด้วย ru る เป็นพื้นฐานหลักๆ ที่ต้องรู้ เพราะรูปนี้สามารถเอาไปผันต่อได้อีก! )
3. te-form ( ใช้ในการเชื่อมประโยคต่างๆ มากมาย รวมถึงการเชื้อเชิญ ชักชวน แนะนำ etc. )
4. ta-form ( ส่วนมากมักใช้ในรูปอดีต )
5. kanou-form ( กริยารูปสามารถ บ่งบอกว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้าง )
6. meirei-form ( รูปคำสั่ง มักจะได้ยินรูปนี้บ่อยๆ ในอนิเมะ เวลาหัวหน้าสั่งลูกน้อง หรือพ่อแม่สั่งลูก เป็นต้น )
7. ikou-form ( กริยารูปตั้งใจ ไว้ชักชวน หรือบ่งบอกความตั้งใจของตัวเองก็ได้ )
8. ukemi-form ( กริยารูปถูกกระทำ หรือ passive form บอกว่าเราหรือใครถูกทำอะไร จากใคร )
9. shieki form ( กริยารูปให้กระทำ ใช้กับคนสถานะสูงกว่า เพื่อให้เขาอนุญาตให้เราทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักใช้ในรูปขอร้อง ขออนุญาต )
10. nai form ( กริยารูปปฏิเสธ )
11. jouken form ( กริยารูปเงื่อนไข ไว้บ่งบอกเงื่อนไขที่จะเกิดขึ้น และผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นตามมา )
อย่าค่ะ อย่าเพิ่งเป็นลม ฮ่าๆๆ มันอาจจะดูเยอะนะ แต่ถ้าท่องไปเรื่อยๆ มันก็จะค่อยๆ จำได้เอง พยายามผันใส่ประโยคในชีวิตประจำวัน แล้วใช้ซ้ำๆ มันจะจำได้ไปเองโดยไม่ต้องคิดถึงกฎไวยากรณ์เลยค่ะ

5. มีระดับชั้นทางภาษาค่อนข้างเยอะ (ยกย่อง, ถ่อมตัว, สุภาพปกติ, ทั่วไป)

อย่างที่รู้กันว่า ประเทศญี่ปุ่นจะค่อนข้างซีเรียสเรื่องสถานะ ชนชั้น มารยาท เห็นได้จากภาษาที่มีระดับชั้นค่อนข้างซับซ้อนและละเอียดสุดๆ โดยเท่าที่เรียนมา จะมีรูปแบบหลักๆ ดังนี้
1. 尊敬語 sonkei-go รูปยกย่อง > ใช้พูดกับคนที่มีสถานะสูงกว่า โดยใช้รูปนี้กับพวกเขา โดยปกติจะใช้คู่กับรูปถ่อมตัว
2. 謙譲語 kenjou-go รูปถ่อมตัว > ใช้พูดกับคนที่มีสถานะสูงกว่า โดยใช้รูปนี้กับตัวเอง โดยปกติจะใช้คู่กับรูปยกย่อง
3. 丁寧語 teinei-go รูปสุภาพ > ใช้พูดกับคนที่ไม่รู้จักกันมาก่อน คนที่เราให้เกียรติ คนที่สถานะสูงกว่า แต่จะให้ความรู้สึกสบายๆ กว่าสองรูปข้างบน ค่อนข้างเป็นภาษากลางๆ ที่คนพูดกันในชีวิตทั่วไปมากที่สุดแล้ว
4. 普通形 futsuu-kei รูปธรรมดา > ใช้พูดกับคนที่สนิท เพื่อน หรือคนที่สถานะต่ำกว่า เช่น ลูกน้องที่ทำงาน ลูก สัตว์เลี้ยง และมักใช้เป็นส่วนประกอบของไวยากรณ์หลายข้อในภาษาญี่ปุ่นระดับพื้นฐานถึงระดับกลาง
ซึ่งหากเป็นเพื่อนสนิทกันมากๆ จริงๆ หรือเป็นคนที่เราไม่ชอบ ก็จะมีคำที่ถือว่า ' ไม่สุภาพ ( ค่อนไปทางหยาบคาย ) ' ได้อีก ซึ่งเอาจริงๆ เราว่าก็แอบคล้ายภาษาไทยนะ เพราะภาษาของเราก็มีระดับทางการ กึ่งทางการ สุภาพ ธรรมดา และรูปไม่สุภาพเหมือนกัน ข้อนี้น่าจะพอเก็ทได้ไม่ยาก แต่ฝรั่งตะวันตกที่ไม่เคยมีระดับภาษามาก่อน คงจะงงน่าดู

6. คำศัพท์ และคำกริยา มีคำพ้องเสียงซ้ำๆ เยอะมาก ต้องดูความแตกต่างที่คันจิ!

ข้อนี้แทบจะทำให้เราร้องกรี๊ด ช่วงที่เริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นใหม่ๆ เลยล่ะค่ะ! ก็อย่างที่รู้กันว่า ระบบการออกเสียงของญี่ปุ่น จะจำกัดอยู่ที่ 5 เสียง ( อะ อิ อุ เอะ โอะ ) เท่านั้น เขาจะออกเสียงควบกล้ำ รัวลิ้น หรือเสียงที่ต้องเป่าลมจากปากเหมือนภาษาไทย ภาษาอังกฤษได้ค่อนข้างยาก ความหลากหลายของคำจึงค่อนข้างน้อย ดังนั้นจึงมีคำที่ออกเสียงซ้ำกัน ' เยอะมากๆ ' จนเหมือนเป็นเรื่องปกติไปเลยแหละ -__- 
ถ้าจะดูความแตกต่าง ต้องดูที่ตัวคันจิอย่างเดียว แม้แต่ในสนามสอบ ยังมีข้อสอบที่วัดความจำคันจิจากเสียงอ่านด้วยซ้ำไป เช่น au ( อะอุ) สามารถออกเสียงได้เหมือนกันเด๊ะ จากคำกริยาหกตัวอย่างที่เห็นในรูปด้านบน คืออ่านว่าอะอุทั้งหมดเลยจ้า - - ดังนั้นเวลาอ่านบทความ หรือป้ายอะไรก็ตาม ต้องเช็คดีๆ ว่าเราเข้าใจความหมายถูกจริงๆ หรือเปล่า จากตัวคันจิที่เขาเขียนนั่นเอง

7. 'สำเนียงภาษาญี่ปุ่น' เลียนแบบให้เหมือนได้ยากมากๆ! ฟังก็ยากเช่นกัน

ช่วงที่เรียนภาษาญี่ปุ่นเดือนแรก เรางงมาก เกือบร้องไห้ เพราะคนญี่ปุ่น ( แม้กระทั่งครูที่ควรจะพูดช้าให้นักเรียนตามทัน ) พูดเร็วมากแม่! พูดเหมือนรัวปืนกล พูดเหมือนปวดอึไม่ไหวแล้วต้องรีบไปเข้าห้องน้ำ เออ เร็วประมาณนั้นแหละ! ต้องใช้สติและสมาธิมากในการฟัง ไม่อย่างนั้นจะหลุดประเด็นที่เขาจะสื่อได้ง่ายๆ เลย แม้ว่าจะเรียนมาเกือบปี เริ่มจับใจความสำคัญได้แล้ว ก็ยังไม่ชินอยู่ดี นี่คือสิ่งหนึ่งที่นักเรียนภาษาต้องปรับตัวให้ได้ เพราะชีวิตจริงคงไม่ใช่ทุกคนที่จะพูดช้าๆ ให้เราฟังเนอะ เผลอๆ รำคาญ เดินหนีเราไปอีก -*-
ประเด็นสุดท้ายที่อยากฝาก คือ ' สำเนียงภาษาญี่ปุ่น ' ที่เรารู้สึกว่าเลียนแบบให้เสียงคล้าย native ได้ยากกว่าภาษาอื่นๆ มาก ด้วย phonetics ( การออกเสียง ) ของเขาค่อนข้างมีเอกลักษณ์เฉพาะ การทำรูปปาก ออกเสียงผ่านลิ้นและฟัน ถ้าไม่ได้เรียนรู้มาตั้งแต่เด็ก ก็ยากมากๆ ที่จะเสียงกลมกลืนไปกับคนญี่ปุ่นได้แต่ถามว่าเราแคร์ไหมก็ไม่ ฮ่าๆ ขอแค่พูดแล้วอีกฝ่ายรู้เรื่องเราก็ดีใจแล้ว ถือว่ามิชชั่นคอมพลีท!

-------------------------------------
หลักๆ ความโหดของภาษาญี่ปุ่นก็จะประมาณนี้ค่ะ! เป็นไง ถอดใจกันไปบ้างแล้วหรือยัง นี่ยังไม่นับรายละเอียดจุกจิกยิบย่อยอีกนะ เช่น การใช้คำแทนตัวเอง คำแทนคนอื่นที่แตกต่างกัน แต่ความหมายเดียวกัน  การเติมคำนำหน้าคำศัพท์ต่างๆ เพื่อความสุภาพ ภาษาปกติ ภาษาเชิงธุรกิจ ถ้าไประดับสูงๆ ก็จะมีคำเฉพาะที่ใช้ในโรงพยาบาล ในโรงงานอีก มีแต่จะยากขึ้นไปเรื่อยๆ ต้องเตรียมความมุ่งมั่นและสมองที่จำแม่นให้ดี สาวๆ ถึงจะรอด!
แต่สำหรับสาวซิสที่แค่อยากอ่านภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานพอรู้เรื่อง ระดับกลางก็น่าจะกำลังดี ไม่ยากเกินเอื้อมจนเกินไป ที่สำคัญภาษานี้นำไปสู่อาชีพและรายได้ที่ค่อนข้างดีด้วย ใครที่มีแพชชั่นกับภาษาญี่ปุ่น ก็ขอเชียร์ให้ไปถึงฝั่งได้ในที่สุด แม้จะมีอุปสรรคระหว่างทาง ก็อย่าท้อถอย สู้เข้าไว้ มาสนุกกับภาษาญี่ปุ่นไปด้วยกันนะคะ กัมบัตเตะรุ!!! 

ติดตามบทความใหม่ๆได้ที่ SistaCafe Facebook
SistaCafe เว็บไซต์รวบรวมบทความสำหรับผู้หญิง https://sistacafe.com
♥ ดาวน์โหลด App SistaCafe ฟรีได้แล้ววันนี้! ♥
iOS : AppStore
Android : PlayStore

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0