โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

พบ 2 ผลข้างเคียงใหม่จากการฉีด “แอสตร้าเซเนก้า” ยันเกิดขึ้นได้ยากมาก

PPTV HD 36

อัพเดต 23 ก.พ. เวลา 05.04 น. • เผยแพร่ 23 ก.พ. เวลา 05.02 น.
พบ 2 ผลข้างเคียงใหม่จากการฉีด “แอสตร้าเซเนก้า” ยันเกิดขึ้นได้ยากมาก
นักวิจัยตรวจพบผลข้างเคียงจากวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิดใหม่ 2 ชนิดซึ่งพบได้ยาก คือความผิดปกติทางระบบประสาทและไขสันหลังอักเสบ

นักวิจัยที่ทำงานเป็นส่วนหนึ่งของ Global Vaccine Data Network ได้ทำการศึกษาวิจัยข้อมูลผู้คนมากกว่า 99 ล้านคนจากออสเตรเลีย อาร์เจนตินา แคนาดา เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ และสกอตแลนด์ เพื่อศึกษาผลข้างเคียงที่เกิดจากการฉีดวัคซีนโควิด-19

นักวิจัยใช้ข้อมูลการดูแลสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์แบบไม่ระบุตัวตน เพื่อเปรียบเทียบอัตราการเกิดผลข้างเคียงในสมอง ระบบเลือด และหัวใจ 13 รูปแบบ หลังวัคซีนไฟเซอร์ โมเดอร์นา หรือแอสตร้าเซเนก้า เทียบกับอัตราก่อนเกิดโรคระบาด

ศูนย์จีโนม เผยข้อมูลโพลจากศพ“แท่งย้วยสีขาว”ล่าสุดยังรอการพิสูจน์ยืนยัน

สถาบันวัคซีน แจง “แท่งย้วยสีขาว” เป็นปกติตามธรรมชาติไม่เกี่ยวกับวัคซีน mRNA

"สถาบันวัคซีน" ยันไม่ปกปิดข้อมูล การเสียชีวิตจากวัคซีน ย้ำไม่มีหลักฐานชัดเจน!

การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Vaccine ยืนยันความเชื่อมโยงระหว่างวัคซีน mRNA คือไฟเซอร์และโมเดอร์นา กับอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นน้อย

ส่วนแอสตร้าเซเนก้าพบว่ามีโอกาสน้อยที่จะเกิดกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์แร (ปลายเส้นประสาทอักเสบจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน) และภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำในสมอง

แต่นักวิจัยพลผลข้างเคียงที่เกิดได้ยากชนิดใหม่ ได้แก่ อาการสมองอักเสบชนิดแพร่กระจายเฉียบพลัน (ADEM) หรืออาการอักเสบและบวมในสมองและไขสันหลัง โดยในการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่ามีความเชื่อมโยงกับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า

ศาสตราจารย์ จิม บัตเตอร์รี ผู้อำนวยการร่วมของ Global Vaccine Data Network กล่าวว่า การค้นพบนี้ทำให้นักวิจัยต้องยืนยันผลข้างเคียงอีกครั้ง โดยทำการศึกษาครั้งที่สองด้วยการวิเคราะห์ชุดข้อมูลแยกต่างหากของชาวออสเตรเลีย 6.8 ล้านคนที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า

การศึกษาในออสเตรเลียยืนยันว่า อาการไข้สมองอักเสบชนิดแพร่กระจายเฉียบพลันเป็นผลข้างเคียงที่พบได้หลังฉีดแอสตร้าเซเนก้าจริง แต่เกิดได้ยาก

นอกจากนี้ ข้อมูลจากกลุ่มที่ฉีดแอสตร้าเซเนก้าจำนวนมากยังช่วยให้สามารถตรวจพบผลข้างเคียงที่พบได้ยากชนิดที่ 2 คือ ไขสันหลังอักเสบ (Transverse Myelitis)

นอกจากนี้ การศึกษาในออสเตรเลียยังพบว่า มีความเสี่ยงน้อยมากที่จะเกิดผลข้างเคียงอาการสมองอักเสบเฉียบพลันชนิดแพร่กระจาย โดยอยู่ที่ 0.78 รายต่อทุก ๆ ล้านโดส ส่วนไขสันหลังอักเสบมีโอกาสเกิดอยู่ที่ 1.82 รายต่อหนึ่งล้านโดส

บัตเตอร์รีกล่าวว่า “สำหรับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ยาก เราจะไม่รู้เกี่ยวกับผลข้างเคียงเหล่านี้เลยจนกว่าวัคซีนจะถูกนำมาใช้กับคนหลายล้านคน … ไม่มีการทดลองทางคลินิกใดที่สามารถตอบคำถามเหล่านั้นได้ ดังนั้นเราจึงพบมันหลังจากมีการฉีดวัคซีนแล้วเท่านั้น”

บัตเตอร์รียืนยันว่า ประโยชน์ของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ยังคงมีมากกว่าความเสี่ยง โดยชี้ให้เห้นว่า ความเสี่ยงของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อโควิด-19 ตามธรรมชาติยังสูงกว่าจากการฉีดวัคซีน

ด้าน ศาสตราจารย์ จูลี ลีสก์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีนแห่งมหาวิทยาลัยซิดนีย์ กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือ การติดเชื้อโควิด-19 จะเพิ่มความเสี่ยงต่อสภาวะที่หายากเหล่านี้มากกว่าวัคซีน

เธอกล่าวว่า การศึกษายังยืนยันว่า “ผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีนของเรากำลังให้ความสนใจเมื่อวัคซีนทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรง และพวกเขากำลังดำเนินการแก้ไข … การมีความมั่นใจในระบบตรวจจับปัญหาและแก้ไข ถือเป็นส่วนสำคัญมากของโครงการฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ”

เรียบเรียงจาก The Guardian

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0