โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

GSK ชูกลยุทธ์ ‘Healthier People, Healthier Planet’ ดูแลคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

The Bangkok Insight

อัพเดต 17 ม.ค. เวลา 02.59 น. • เผยแพร่ 17 ม.ค. เวลา 02.59 น. • The Bangkok Insight
GSK ชูกลยุทธ์ ‘Healthier People, Healthier Planet’ ดูแลคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

GSK ชูกลยุทธ์ “Healthier People, Healthier Planet” ดูแลคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

กว่า 60 ปีที่ GSK อยู่คู่กับสังคมไทยมุ่งเน้นให้คนไทยมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น GSK เชื่อว่า“ยาดีเข้าถึงได้” คนไทยต้องได้รับการรักษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพราะโลกที่ไร้พรมแดนดูเหมือนเปลี่ยนแปลงหมุนไวกว่าที่เคย บริษัทด้านสุขภาพและยารักษาโรคจึงต้องสร้างองค์กรเติบโตอย่างมีคุณค่า มุ่งก้าวล้ำนำโรค มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และมีธรรมาภิบาล หรือที่เรียกว่า ESG

คุณโสมรสา พงษ์เพิ่มพฤกษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ GSK กล่าวว่า ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว โดยกว่า 20% ของประชากรเป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี สังคมจึงต้องเตรียมพร้อมสำหรับคนกลุ่มนี้ซึ่งเป็น productivity สำคัญของประเทศ เป็นผู้ทำประโยชน์ให้สังคมและประเทศชาติ ให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ซึ่งต้องเริ่มจากสุขภาพและต้องเตรียมพร้อมตั้งแต่ 50+ เพราะหากรอเกษียณอาจสายเกินไป

GSK
GSK

เป้าหมายดูแลผู้คนให้มีสุขภาพดีห่างไกลโรค

GSK ในฐานะบริษัท Biopharma ที่ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาวัคซีนและยา เรามุ่งมั่นมีเป้าหมายที่จะนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และพนักงานของเราทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อร่วมกันดูแลผู้คนให้มีสุขภาพดีห่างไกลโรค ภายใต้แนวคิด Ahead Together

GSK ให้ความสำคัญกับการสร้างโอกาสรวมทั้งแก้ไขปัญหาหลักต่าง ๆ ของโลก และสำหรับปัจจุบันนี้ ความท้าทายจากสังคมผู้สูงอายุ ทำให้เรายิ่งต้องค้นคว้าวิจัยด้านสุขภาพผู้สูงวัยเพื่อให้มีนวัตกรรมการรักษาและป้องกันต่าง ๆ เพื่อดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และร่วมกับพันธมิตรต่าง ๆ ดำเนินโครงการและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

ซึ่งเราเห็นว่า ทุกวันนี้คนวัย 50+ ใช้โซเชียลกันมาก โดยเฉพาะชอบแชร์ข้อมูลสุขภาพ แต่จะมั่นใจได้อย่างไรว่าถูกต้องและเชื่อถือได้ การส่งต่อความรู้สุขภาพที่ถูกต้อง จะช่วยให้วัย 50+ สามารถดูแลตนเองได้ดีขึ้น ลดโอกาสเจ็บป่วย ใช้ชีวิตได้สนุก มีอิสระขึ้น มีความสุขมากขึ้น

GSK
คุณโสมรสา พงษ์เพิ่มพฤกษ์

หนึ่งในโครงการที่ริเริ่มคือ "Gen ยัง Active 50+" Generation ที่ยัง Active ในวัย 50+

GSK ร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน ได้แก่ กรมอนามัย สถาบันวัคซีนแห่งชาติ มูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชน SCG และทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ดำเนินโครงการ ‘Gen ยัง Active 50+’ แพลตฟอร์มออนไลน์ให้ความรู้สุขภาพและไลฟสไตล์ของวัย 50+ ที่ถูกต้องเชื่อถือได้ บนเว็บไซต์และไลน์ (www.genyoungactive.com และ LINE OA: @genyoungactive) ปัจจุบันมีผู้ติดตามในไลน์กว่า 12,000 คน และผู้เข้าชมเว็บไซต์กว่า 50,000 คน

นอกจากการให้ความสำคัญเรื่องสังคมแล้ว GSK ยังตระหนักถึงด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัว ทุกวันนี้ประเทศไทยเผชิญปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ GSK จึงร่วมกับ เทศบาลเมืองลำพูน และลำพูน ซิตี้ แลป ริเริ่มโครงการต้นแบบ ‘ลำพูน สุขก๋าย สบายใจ๋’ (Lamphun Healing Town) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในทุกมิติ ทั้งสุขภาพ สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ

โดยมีเครือข่ายคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย (EACC) ให้คำปรึกษา เพื่อส่งเสริมให้คนหันมาใส่ใจสุขภาพปอดมากขึ้น ซึ่งลำพูนเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจาก PM2.5 ในระดับสูง รวมทั้งมีผู้สูงวัยมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ

“ล่าสุด ในเดือนธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา เราได้จัดกิจกรรม “ชาวหละปูนฮักปอด” พร้อมเปิด ‘สุขศาลา’ ศูนย์สุขภาพชุมชนถนนรถแก้ว ย่านเมืองเก่าของลำพูน เพื่อให้บริการดูแลสุขภาพปอดเชิงรุกแก่ชาวลำพูน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อโรคทางเดินหายใจจากมลภาวะอากาศ มุ่งเน้นตรวจสมรรถภาพปอดและคัดกรองเบื้องต้น เพื่อให้ประชาชนตรวจสมรรถภาพปอดฟรี จะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงโรคทางเดินหายใจได้”

นอกจากนี้ GSK ยังมุ่งมั่นในการส่งเสริมสุขภาพดีแก่คนไทยอย่างต่อเนื่องตามนโยบาย ‘ยาดี เข้าถึงได้’ หรือ Access to Medicines โดย GSK ได้จัดกิจกรรมอาสาสมัครร่วมกับสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย มานานกว่า 13 ปี ตั้งแต่ปี 2554 รวมไม่ต่ำกว่า 50 ครั้งที่ไปช่วยกันลงพื้นที่ ช่วยกันสร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน ทั้งบริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ บริการตรวจรักษาโรค ให้ความรู้สุขอนามัย การมีสุขภาพดีคือพื้นฐานให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปได้

“ดูแล ‘สุขภาพของคน’ แล้ว เราต้องดูแล ‘สุขภาพของโลกและสิ่งแวดล้อม’ ด้วย ความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลกระทบถึงสุขภาพของคน เราต้องดูแลคนให้มีสุขภาพดี ดูแลสิ่งแวดล้อมให้ดี คุณภาพชีวิตก็จะดีขึ้น เกิดความยั่งยืนในทุกมิติ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) จึงเป็นที่มาของกลยุทธ์ “Healthier People, Healthier Planet” และเรายังก้าวไปอีกขั้นด้วยการตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2573 และการใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2568 ทั่วโลก

รางวัลการันตี การมุ่งส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพดี

คุณโสมรสา กล่าวว่า GSK ซึ่งดำเนินธุรกิจทั่วโลก มี 3 แนวทางชัดเจนวัดผลได้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ จากห้องปฏิบัติการไปจนถึงผู้ป่วย ด้วยการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ซึ่งประมาณ 92% มาจากซัพพลายเออร์และผู้ป่วย ลงทุนในพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนได้ถึง 10,000 ตันต่อปี พัฒนาผลิตใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น เครื่องพ่นยาหอบหืด ช่วยลดการปล่อยก๊าซก๊าซคาร์บอนได้ถึง 90%

ความพยายามของ GSK ที่มุ่งส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพดี เป็นที่ยอมรับสะท้อนผ่านรางวัลมากมายทั้งในระดับนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็น อันดับ 1 ในอุตสาหกรรมเภสัชกรรมจากการประเมินความยั่งยืนขององค์กร โดย S&P Global อันดับ 1 ด้านการเข้าถึงยา (Access to Medicine Index) จากการจัดอันดับโดยมูลนิธิการเข้าถึงยา (Access to Medicine Foundation) ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551 ถึงปี 2566 และในระดับประเทศ อาทิ รางวัล AMCHAM Corporate Social Impact Awards ระดับแพลตินัม จากหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย (AMCHAM) ต่อเนื่อง 15 ปี ได้รับการรับรองมาตรฐาน GIP Plus (Good Importing Practices) ในฐานะองค์กรที่นำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพและรับผิดชอบต่อสังคม จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และรางวัลสุดยอดองค์กรที่น่าร่วมงานด้วยมากที่สุดในเอเชีย จาก HR Asia สื่อชั้นนำด้านทรัพยากรบุคคล

“GSK เชื่อเสมอมาว่าการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันย่อมดีกว่ารักษา ช่วยสังคมสิ่งแวดล้อมโดยรวม ลดการใช้ทรัพยากร ลดภาระบุคลากรทางการแพทย์ และลดงบประมาณของภาครัฐ เราจึงตั้งใจทำโครงการเหล่านี้ให้ครอบคลุม ESG ทุกมิติ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership: PPP) เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงยา มีนวัตกรรมการรักษาและป้องกันสุขภาพทุกช่วงวัย ส่งเสริมสังคมแห่งการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน ดังนั้นเรื่องความยั่งยืน ESG เราต้องทำงานแบบร่วมมือ นำความรู้ความสามารถที่ต่างกันมาร่วมเป็นทีมเดียวกัน ร่วมกันสร้างสมดุลให้ประเทศทั้งด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม” คุณโสมรสา กล่าวทิ้งท้าย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น