โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

“ปานเทพ” งัดงานวิจัยกัญชาม.ขอนแก่นตอบแพทย์จุฬาฯ

INN News

เผยแพร่ 08 ต.ค. 2565 เวลา 07.05 น. • INN News
“ปานเทพ” งัดงานวิจัยกัญชาม.ขอนแก่นตอบแพทย์จุฬาฯ
"ปานเทพ" งัดงานวิจัยม.ขอนแก่น เรื่องกัญชา ตอบแพทย์จุฬาฯ พบช่วยบรรเทา เบาหวาน มะเร็ง มีนัยยะสำคัญ

นายปานเทพ พัวพงศ์พันธุ์ โฆษกคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กัญชากัญชง สภาผู้แทนราษฎร โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว ระบุว่า เรื่องงานวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบการเปิดกัญชาเสรีกับประชาชน ที่แพทย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่ายังไม่มีงานวิจัย โดยระบุว่า นพ.ปัตตพงษ์ เกษสมบูรณ์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง พ.ศ…. สภาผู้แทนราษฎร ได้นำเสนอและนำรายงาน

ผลกระทบของนโยบายกัญชาเสรีต่อเด็กและเยาชน : บทเรียนจากนานาชาติ, เอกสารวิชาการในงานสมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 14 ประจำปี พ.ศ. 2565 เสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง พ.ศ…. สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันจันทร์ที่ 3 ต.ค.65 ซึ่งมีเรื่องที่น่าสนใจหลายประเด็นแต่มิติที่น่าสนใจคือกัญชาในฐานะไม่ใช่เพียงแค่การรักษา แต่ยังอยู่ในฐานะเป็นสมุนไพรที่ส่งเสริมสุขภาพได้ด้วย

คำถามที่น่าจะพิจารณาต่อว่าหากกัญชาไม่ใช่มีแค่สรรพคุณ “รักษา” แต่มีสรรพคุณ “ส่งเสริมสุขภาพ” และลดความเสี่ยงโรคที่ประชาชนป่วยกันมากด้วยแล้ว ควรจะให้ประชาชนได้มีโอกาสใช้กัญชาโดยไม่ต้องรอใบสั่งยาจากแพทย์หรือไม่ เช่น “โรคเบาหวาน” สถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทยเป็นปัญหาหนึ่งที่มีความสำคัญ โดยประมาณการว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีผู้ป่วยเบาหวาน 5 ล้านคน หรือ 1 ใน 10 คนไทย ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป กำลังป่วยด้วยโรคเบาหวาน และมีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณ 1 แสนคนต่อปี

โดยงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร BMJ Journal/ BMJ Open ในหมวดงานวิจัยเกี่ยวกับโรคเบาหวานและวิทยาต่อมไร้ท่อ เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2555 พบเรื่องที่น่าสนใจว่าประชากรที่ยิ่งบริโภคกัญชากลับลดความเสี่ยงโรคเบาหวานได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยคนที่ไม่เคยใช้กัญชาเลยเป็นเบาหวาน 8.7%, คนที่ใช้กัญชา 1-4 ครั้งต่อเดือนเป็น เบาหวานน้อยกว่าเหลือ 4.2%, และคนที่ใช้กัญชาตั้งแต่ 5 ครั้งต่อเดือนขึ้นไปยิ่งเป็นเบาหวานลดลงเหลือเพียงร้อยละ 3.2% ตัวอย่างถัดมาคือบทบาทของกัญชาต่อการลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง โดยถ้าการใช้กัญชาช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง แล้วเราจะควรให้ประชาชนเข้าถึงกัญชาได้มากขึ้นหรือไม่

อย่างไรก็ตามกัญชานั้นไม่ได้มีแต่ผลดี แต่ก็มีผลเสียด้วยเช่นกัน โดยนพ.ปัตตพงษ์ ได้ทำการทบทวนงานวิจัยแล้วสรุปว่า เมื่อมีจำนวนคนใช้กัญชาเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีบางคนที่เกิดอาการแพ้กัญชา อาเจียนรุนแรง เมา ใจสั่น วิตกกังวล ง่วงนอน หลอน จนต้องเข้ารับการบำบัดรักษาในโรงพยาบาล” แต่จากสถิติของมลรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ซึ่งแก้กฎหมายให้ใช้กัญชาแบบนันทนาการได้ เมื่อปี57 กลับพบว่ามีคนไข้เกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังจากใช้กัญชาจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมีจำนวนลดลง

เพราะประชาชนเกิด “การเรียนรู้” และ “เข็ด” ไม่ใช้เกินขนาด” นพ.ปัตตพงษ์ จึงเห็นว่าการเข้าการรับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นปรากฏการณ์ในช่วงแรกที่สังคมจะได้เรียนรู้และเข็ดจนลดระดับไปเองตามธรรมชาติ ซึ่งไม่ใช่ปัญหาที่น่าวิตกเทียบกับผลดีต่อสังคมโดยรวมที่ประเทศจะได้ในเรื่องสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ข้อมูลและการนำเสนอของนพ.ปัตตพงษ์ เป็นการพลิกความเชื่อเดิมๆของคนทั่วไปอย่างสิ้นเชิง เพราะเป็นการถอดบทเรียนจากหลายประเทศที่มีการใช้กัญชามาแล้วนับสิบหรือหลายสิบปี จึงเป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง พ.ศ…. สภาผู้แทนราษฎร และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0