โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

สั่งลา 5 ปี 250 ส.ว. มรดกคสช. เปิดภารกิจเลือก 2 นายกฯ ตีตกร่าง แก้รธน.25 ฉบับ

MATICHON ONLINE

อัพเดต 09 พ.ค. เวลา 12.55 น. • เผยแพร่ 09 พ.ค. เวลา 10.10 น.
201

สั่งลา 5 ปี 250 ส.ว. มรดกคสช. เปิดภารกิจเลือก 2 นายกฯ ตีตกร่างแก้รธน.25ฉบับ

ที่มา 250 ส.ว. ตามบทเฉพาะกาล 5 ปี

สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ทั้ง 250 คน เป็นวุฒิสภาชุดที่ 12 มีที่มาตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 269 มาจากการแต่งตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เตรียมหมดวาระ 10 พฤษภาคมนี้แล้ว มติชนออนไลน์ ได้รวบรวมเกร็ดของ ส.ว.ชุดนี้ไว้ดังนี้

ส.ว.ชุดนี้ ประกอบด้วย 3 กลุ่ม โดย 194 คน มาจากคณะกรรมการสรรหาของ คสช., 6 คนเป็น ส.ว. โดยตำแหน่ง (ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และ ผบ.ตร.) และอีก 50 คนมาจากการเลือกกันเองในกลุ่มอาชีพ จากระดับอำเภอ จังหวัด และประเทศ แล้วส่งรายชื่อให้ คสช. เลือกในขั้นสุดท้าย

มีวาระทำหน้าที่ 5 ปี โดยจะครบวาระการทำหน้าที่วันที่ 10 พฤษภาคม 2567 มี นายพรเพชร วิชิตชลชัย เป็นประธานวุฒิสภา พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 นายศุภชัย สมเจริญ รองประธานวุฒิสภา คนที่ 2

ช่วงการทำหน้าที่ 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2562-9 เมษายน 2567 มีการประชุมทั้งสิ้น 258 นัด ใช้เวลารวม 1,579 ชั่วโมง 55 นาที

โหวตเลือกนายกฯ

มีอำนาจร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญ

ร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี 2 ครั้ง ครั้งที่ 1.วันที่ 5 มิ.ย.2562 รัฐสภามีมติ 500 ต่อ 244 เห็นชอบ ให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. เป็นนายกฯ คนที่ 29 ที่เสนอโดยพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)
ครั้งที่ 2 วันที่ 22 ส.ค.2566 รัฐสภามีมติ 482 ต่อ 165 เห็นชอบ ให้ “เศรษฐา ทวีสิน” เป็นนายกฯ คนที่ 30 ที่เสนอโดยพรรคเพื่อไทย (พท.)

ลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ

เห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) พ.ศ. … (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83 และมาตรา 91) 1 ฉบับ เสนอโดยพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 10 ก.ย.2564

สาระสำคัญ คือ การกลับไปใช้บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบ 2 ใบ

ไม่เห็นชอบ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่เสนอโดยพรรคการเมือง และภาคประชาชน รวม 25 ฉบับ

พิจารณากฎหมาย-ตั้งกระทู้

พิจารณากฎหมาย 68 ฉบับ แบ่งเป็นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) 54 ฉบับ พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) 14 ฉบับ

ร่างกฎหมายที่ผ่านการพิจารณา และประกาศใช้แล้ว อาทิ กฎหมายอนุญาโตตุลาการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562

แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีการพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 34) พ.ศ.2562

ระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562, แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 31) พ.ศ.2562

แก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2562

แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2562

ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2561

ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2562

ร่าง พ.ร.บ.รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561

ตั้งกระทู้ถามรวม 488 กระทู้ (ตามมาตรา 150 ของรัฐธรรมนูญ) แบ่งเป็น
กระทู้ถามด้วยวาจา 167 กระทู้ รัฐมนตรีมาตอบ 59 กระทู้ ตกไป 108 กระทู้
กระทู้ถามเป็นหนังสือ 321 กระทู้ แบ่งเป็น กระทู้ที่ขอให้ตอบในที่ประชุมฯ 170 กระทู้
ตอบแล้ว 115 กระทู้ ค้างตอบ 6 กระทู้ ตกไป 49 กระทู้
กระทู้ที่ขอให้ตอบในราชกิจจานุเบกษา 151 กระทู้
ตอบแล้ว 112 กระทู้ ค้างตอบ 19 กระทู้ ตกไป 20 กระทู้

แต่งตั้งบุคคคลเป็นองค์อิสระและองค์กรอื่น

ช่วง 5 ปี พิจารณาบุคคลเป็นองค์อิสระและองค์กรอื่น รวม 107 คน แบ่งเป็น เห็นชอบ 89 คน ไม่เห็นชอบ 18 คน

มีการเห็นบุคคลเป็นองค์กรอิสระ 24 คน ไม่เห็นชอบ 12 คน แบ่งเป็น
เห็นชอบ 24 คน แบ่งเป็น

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 7 คน

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 6 คน

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) 5 คน

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 2 คน

ผู้ตรวจการแผ่นดิน 2 คน

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) 1 คน และผู้ว่าการ สตง. 1 คน

ไม่เห็นชอบ 12 คน แบ่งเป็น

กรรมการ กสม. 5 คน

กรรมการ ป.ป.ช. 4 คน

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 1 คน

ผู้ตรวจการแผ่นดิน 1 คน

กรรมการ คตง. 1 คน

มีการเห็นชอบ บุคคลเป็นองค์กรอื่นๆ 65 คน ไม่เห็นชอบ 6 คน แบ่งเป็น

เห็นชอบ 65 คน แบ่งเป็น

ตุลาการศาลปกครองสูงสุด 50 คน

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) 6 คน

อัยการสูงสุด (อสส.) 3 คน

ประธานศาลปกครองสูงสุด 2 คน

เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) 2 คน

เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) 1 คน

เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา 1 คน

ไม่เห็นชอบ 6 คน แบ่งเป็น

กรรมการ กสทช. 2 คน

ตุลาการศาลปกครองสูงสุด 2 คน

ประธานศาลปกครองสูงสุด 1

เลขาธิการ ปปง. 1 คน

ค่าตอบแทน (เฉพาะเงินเดือน ส.ว.)

ประธานวุฒิสภา 1 คน ค่าตอบแทนเดือนละ 119,920 บาท รวม 5 ปี เป็นเงิน 7,195,200 บาท
รองประธานวุฒิสภา 2 คน ค่าตอบแทนเดือนละ 115,740 บาท รวม 5 ปี คิดเป็นเงิน 13,888,800 บาท
ส.ว. 247 คน ค่าตอบแทนเดือนละ 113,560 บาท รวม 5 ปี คิดเป็นเงิน 1,682,959,200 บาท
รวมค่าตอบแทนเฉพาะเงินเดือน 5 ปี รวม 1,704,043,200 บาท

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : สั่งลา 5 ปี 250 ส.ว. มรดกคสช. เปิดภารกิจเลือก 2 นายกฯ ตีตกร่าง แก้รธน.25 ฉบับ

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.matichon.co.th

0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0