โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สังคม

เก็บเลือดลิงบน "เกาะช้าง" ตรวจ "มาลาเรียโนวไซ"

Thai PBS

อัพเดต 23 พ.ค. 2565 เวลา 10.02 น. • เผยแพร่ 23 พ.ค. 2565 เวลา 06.28 น. • Thai PBS
เก็บเลือดลิงบน

กรณีมีรายงานว่าพบโรค "มาลาเรียโนวไซ" ที่แพร่จากลิงสู่คนในพื้นที่ จ.ตราด แล้ว 11 คน เฉพาะเกาะช้างพบ 9 คน บ่อไร่ 2 คน เตือนประชาชนอย่าให้ยุงก้นปล่องกัด เลี่ยงใกล้ชิดลิง

วันนี้ (23 พ.ค.2565) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง และสำนักงานปศุสัตว์อำเภอเกาะช้าง จ.ตราด เข้าเก็บตัวอย่างเลือดจากกลุ่มลิงป่า และลิงบ้าน บนเกาะช้าง จ.ตราด หลังพบผู้ป่วยบนเกาะช้าง ติดเชื้อมาลาเรียโนวไซแล้ว 9 คน

โดยเจ้าหน้าที่สุ่มจับลิงแสมหางยาวจากกลุ่มลิงป่า บริเวณแนวป่าบ้านบางเบ้า ต.เกาะช้างใต้ อ.เกาะช้างจ.ตราด ก่อนนำมาเจาะเลือดเก็บตัวอย่างส่งตรวจวินิจฉัยเพื่อยืนยันโรคมาลาเรียโนวไซ

ก่อนหน้านี้ ช่วงเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา สัตวแพทย์กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช การเก็บตัวอย่างเลือดจากกลุ่มลิงป่าและลิงบ้าน จำนวน 8 ตัวในพื้นที่แนวเขตป่าบนเกาะช้าง เพื่อสุ่มตรวจหาเชื้อมาลาเรียโนวไซ หลังพบผู้ป่วยบนเกาะช้าง ติดเชื้อมาลาเรียชนิดนี้แล้ว 9 คน

แต่ผลการตรวจวินิจฉัยตัวอย่างเลือดจากห้องปฏิบัติการ กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค ไม่พบเชื้อมาลาเรียชนิดโนวไซ แต่พบเชื้อมาลาเรียชนิด พลาสโมเดียม ฟัลซิปารัม (Plasmodium Spp) ในลิงแสมหางยาว 2 ตัว จากกลุ่มลิงป่าบริเวณอ่าวกะรัง ต.เกาะช้างใต้ อ.เกาะช้าง จ.ตราด

สำหรับโรคไข้มาลาเรียสายพันธุ์โนวไซ เป็นโรคไข้มาลาเรียที่ติดต่อจากลิงสู่คน มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค โดยยุงกัดลิงที่มีเชื้อแล้วไปกัดคน ปัจจุบันยังไม่มีรายงานการติดเชื้อจากคนสู่คน มาลาเรียโนวไซเป็นโรคอุบัติใหม่ในประเทศไทย เมื่อปี 2547

ในแต่ละปีมีผู้ป่วยติดเชื้อประมาณ 10 คน กระทั่งช่วงปลายปี 2564-พ.ค.2565 เป็นครั้งแรกที่พบผู้ป่วยติดเชื้อมาลาเรียโนวไซ เกือบ 100 คน และมีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 1 คนที่ จ.สงขลา พบผู้ป่วยสูงสุด 3 อันดับแรกที่ จ.ระนอง สงขลา และตราด โดยเฉพาะบริเวณเขตพื้นที่ป่าแนวชายแดนระหว่างประเทศ

มาลาเรียชนิด โนวไซ ถูกจัดเป็นโรคประจำถิ่นในเขตพื้นที่ชายแดนและพื้นที่ป่าสมบูรณ์ ที่มีทั้งลิงและยุงก้นปล่องพาหะ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง หรือ นักท่องเที่ยวที่ทำกิจกรรมในป่า ควรทราบว่ามีโรคประจำถิ่นและระมัดระวังตัว ไม่ให้ถูกยุงก้นปล่องในพื้นที่กัด ซึ่งจะลดความเสี่ยงของโรคนี้ได้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เกาะช้างเฝ้าระวังลิง พบติด "ไข้มาลาเรียโนวไซ" 8 คน

เตือนระวัง! ไข้มาลาเรียชนิด “โนวไซ” ติดต่อจากลิงสู่คนได้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0