โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ดักเก็บ TU หุ้นอาหาร หนีความวุ่นวายภายในประเทศ

Wealthy Thai

อัพเดต 09 ส.ค. 2566 เวลา 00.27 น. • เผยแพร่ 20 ส.ค. 2564 เวลา 08.50 น. • This’s Alano

จากสถานการณ์ COVID-19ที่ระบาดรุนแรงในประเทศไทย รวมทั้งยังมีประเด็นการเมืองเข้ามากดดันอีกด้วย ทำให้นักลงทุนต่างมองหาโอกาสลงทุนในหุ้นที่อิงกับสถานการณ์ต่างประเทศมากกว่าในประเทศ ซึ่ง TU ก็ถือเป็นหนึ่งในตัวเลือกสำคัญของนักลงทุนมาโดยตลอด ท่ามกลางวิกฤติที่เกิดขึ้นในขณะนี้
TU หรือ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ดำเนินธุรกิจอาหาร เป็นหนึ่งในบริษัทอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก TU เป็นเจ้าของแบรนด์อาหารทะเลชั้นนำต่างๆ ในหลายๆตลาดหลัก รวมทั้งมีเครือข่ายในการจัดหาวัตถุดิบ ผลิตและเครือข่ายการกระจายสินค้าครอบคลุมทั่วโลก โดยมีผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ ทูน่ากระป๋องและกุ้งแช่แข็ง นอกจากนี้ TU ยังมีธุรกิจรับจ้างผลิต ที่ผลิตให้แบรนด์ของลูกค้าอีกด้วย
ทั้งนี้ส่วนใหญ่ TU มีรายได้จากต่างประเทศเป็นหลัก โดยสิ้นไตรมาส 2/64 มีสัดส่วนรายได้จากประเทศไทยราว 10.8% และส่วนที่เหลือจะมาจากต่างประเทศ ซึ่งประเทศที่มีสัดส่วนรายได้ค่อนข้างสูง คือ อเมริกา อยู่ที่ระดับ 42.4% ตามด้วยยุโรป อยู่ที่ 28.6%
โดยทุกครั้งที่เกิดวิกฤติในทั่วโลก สินค้าของบริษัทจะเป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นสิ่งที่ต้องการของตลาด สะท้อนจากสถานการณ์ COVID-19 สินค้าประเภทอาหารกระป๋องมีความต้องการสูงต่อเนื่อง ขณะที่กลุ่มประเทศอเมริกา และยุโรป ที่มีการเปิดประเทศอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่า ก็ยังส่งผลบวกต่อ TU อีกด้วย
สะท้อนจากไตรมาส 2/64มีกำไรสุทธิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2,343 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 37% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลประกอบการดีขึ้นทั้งกลุ่มธุรกิจหลักและการฟื้น ตัวของ Red Lobsterโดยยอดขายในไตรมาส 2/64อยู่ที่ 35,883 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.6% จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ตามยอดขายอาหารทะเลแช่แข็งและแช่เย็นเพิ่มสูงขึ้น 28.7% และยอดขายธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงและผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าสูงขึ้น 12.5%
สำหรับปี 2564 วางเป้ามียอดขายเติบโต 3-5% จากปี 2563 โดยคาดจะมีอัตรากำไรขั้นต้นประมาณ 17-18% (ปรับขึ้นจากเดิมที่ประมาณ 17%) ขณะที่สัดส่วน SG&Aต่อยอดขาย กำหนดไว้ประมาณ 11-12% โดยวางงบลงทุนปีนี้ไว้ที่ระดับประมาณ 5 พันล้านบาท (ปรับลงจาก 6.0-6.5 พันล้านบาท)
มุมมองของบริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ขณะนี้แนะนำ“ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 23.60 บาท โดยCEO ยังคงมั่นใจผลประกอบการในช่วงครึ่งหลังปี 64 ว่าจะเป็นไปตามแผนที่วางไว้ก่อนหน้า บวกกับเงินบาทที่กลับมาอ่อนค่าซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนธุรกิจของ TU ในทางบวก ด้าน CFO ยังคงมองว่า GM ยังคงอยู่ในระดับที่ดีใกล้ 18% ในครึ่งหลังปี 64แม้ว่าอาจจะเทียบกับ 19% ซึ่งถือว่าสูงมากผิดปกติในไตรมาส 2/64ไม่ได้ จึงยังคงคาดกำไรครึ่งหลังปี 64 ยืนระดับที่แข็งแกร่ง
ทั้งนี้ยังคงมุมมองบวกต่อกำไรในครึ่งหลังปี 64 ว่าจะยืนในระดับสูงต่อเนื่องจากครึ่งปีแรก แม้ว่าในครึ่งหลังปี 64อาจเห็นอัตราการเติบโตเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนไม่มาก เนื่องจากฐานกำไรที่สูงมากในไตรมาส 3/63รวมถึงการเผชิญกับความท้าทายอย่างมากสำหรับกำไรในปี 65 ที่จะเติบโตจากฐานที่สูงมากในปี 64แต่จากกำไรที่คาดว่าจะยังคงยืนในระดับสูงในครึ่งหลัง 64 ซึ่งมองว่า upside จะมาจากค่าเงินบาทที่กลับไปอ่อนค่าในในครึ่งหลังปี 64 จะส่งผลบวกต่อยอดขายและ GM รวมถึงขาดทุน RL ที่อาจน้อยกว่าคาด
เช่นเดียวกันกับนักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า มีมุมมองบวกต่อผลดำเนินการในระยะยาวของ TU คาดแนวโน้มไตรมาส 3/64 จะยังเติบโตได้จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้มีฐานที่สูงในปี 2564 ขณะที่ปี 2565 เติบโตได้ต่อจากกลุ่มธุรกิจ Value-added และ ส่วนแบ่งกำไรจาก RL ฟื้นตัวได้ชัดเจนมากขึ้น ผลของการปรับประมาณการกำไรปี 2565 ขึ้น ได้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 26.50 บาท และปรับคำแนะนำขึ้นเป็น “ซื้อ”
ขณะที่นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด ก็ยังแนะนำ ซื้อ เช่นกัน และคงราคาเป้าหมายที่ 25.00 บาท โดยบอกว่า จากแนวโน้มกำไรที่ยังดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะไตรมาส 3/64 ที่ยังมีปัจจัยสนับสนุนมาจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า และแนวโน้มกำไรระยะยาว ที่จะเติบโตจากธุรกิจใหม่ที่มีอัตราการทำกำไรที่สูง และจะลดการพึ่งพิงธุรกิจที่อิงสินค้า commodityรวมทั้งมองว่าผลการดำเนินงานของบริษัทมีโอกาสเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยปัจจัยการเติบโตหลักมาจากธุรกิจ Value added ซึ่งมีมาร์จิ้นสูงเป็นหลัก โดยความเสี่ยงหลักของธุรกิจมาจากความผันผวนของค่าเงินบาท และราคาปลาทูน่า
ดังนั้นจึงคงประมาณการกำไรสุทธิปี 64 อยู่ที่ 7,116 ล้านบาท เติบโต 14% จากปีก่อน และกำไรสุทธิปี 65 อยู่ที่ 7,500 ล้านบาท เติบโต 5%จากปี 64สาเหตุหลักมาจาก ประมาณการรายได้ปี 64 เติบโต 3% และปี 65 เติบโต 4% รวมทั้ง gross margin อยู่ที่ 17.5% ใกล้เคียงปี 63ที่ 17.7% ขณะที่ SG&A/Sales ลดลงมาอยู่ที่ 5.2% จาก 5.7% ของปี 63จาก cost reduction program และ economies of scale
ส่วนนักวิเคราะห์บริษัท หลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ระบุว่า TU มีกลยุทธ์ระยะยาวจากการเพิ่มรายได้จากธุรกิจผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เช่น ส่วนผสมอาหารเสริมจากอาหารทะเล (เช่น แคลเซียม, คอลาเจน, น้ำมันทูน่า) และโปรตีนทางเลือกอีก 10% โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงกว่า 20% ดังนั้นยอดขายของ PetCare, ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และธุรกิจอื่น จะเพิ่มขึ้นจาก 20% เป็น 30% และช่ายเพิ่มกำไรขั้นต้นรวมของกลุ่มเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1%
อย่างไรก็ตามมีมุมมองเป็นกลางต่อภาพครึ่งหลัง เนื่องจากยอดขายที่แข็งแกร่งจากอาหารทะเลแช่แข็งจะถูกชดเชยความต้องการอาหารทะเลแปรรูปอ่อนแอ หลังสถานการณ์ COVID-19 เริ่มชะลอตัวหลังการฉีดวัคซีน จึงคงคำแนะนำ ถือ กำหนดราคาเป้าหมายใหม่ 22.4 บาทต่อหุ้น

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0