ไขรหัส ‘ผลโพลล์’ สำรวจคนส่วนใหญ่จากไหน? ทำไมไม่เคยโดนถาม? ทำไมผลโพลล์ถึงย้อนแย้งกับใจเรา?
ว้อทเดอะโพลล์?
คำว่า “โพลล์” (Poll) มีรากศัพท์มาจากภาษาเยอรมันโบราณหมายถึง “หัว” ในการนับหัว เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสาร (Information) จากประชาชน และโพลล์กับงานวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) คือสิ่งเดียวกัน เพียงแต่ว่า โพลล์ถูกใช้โดยองค์กรสื่อมวลชน แต่งานวิจัยเชิงสำรวจถูกทำขึ้นโดยนักวิจัยของสถาบันการศึกษา อย่างไรก็ตามโพลล์ก็ยังมีการแบ่งคุณภาพได้หลายๆ แบบ ทั้ง โพลล์ที่ดีโพลล์ที่แย่และโพลล์ที่รับไม่ได้
ไขรหัสโพลล์ที่ดี โพลล์ที่แย่ และโพลล์ที่รับไม่ได้
เนื่องจากโพลล์สำรวจเป็นการสำรวจความคิดเห็นของคนจำนวนหนึ่งที่เรียกว่า ‘กลุ่มตัวอย่าง’ แทนการสำรวจ ‘ประชากร’ ทั้งหมดของสังคม การเลือกกลุ่มตัวอย่างที่สามารถสะท้อนความเป็นจริงของประชากรทั้งหมดในสังคม โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง และสามารถคลาดเคลื่อนได้ บ่อยครั้งโพลล์สำรวจจึงไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริงของสังคมได้ เราจึงรู้สึกว่าผลสำรวจที่ออกมาช่างย้อนแย้งกับความรู้สึกที่เรามีต่อเรื่องนั้นๆ เหลือเกิน อย่างไรก็ดี ความรู้สึกอันย้อนแย้งนั้นก็ไม่ได้เป็นมาตรวัดที่เที่ยงตรงว่าโพลล์นั้นดีหรือแย่เพราะมันอาจจะเป็นโพลล์ที่สะท้อนความเป็นจริงก็ได้ทว่ามันอาจไม่ตรงกับใจเราเท่านั้นเอง
โพลล์เครื่องมือของอำนาจทุน
ในฐานะที่ผู้เขียนมีประสบการณ์การใช้บริการจากสถาบันโพลล์สำรวจมาบ้าง พบว่าในเชิงของการค้ามีการใช้โพลล์อย่างแพร่หลาย โดยอาศัยความไม่เที่ยงตรงและความคลาดเคลื่อนที่อาจเป็นได้จากการทำโพลล์สำรวจนั้นเอง มาเป็นตัวกำหนดอุปสงค์ต่อสินค้าให้เกิดขึ้น ยกตัวอย่างสมมติ เช่น กรุงเกษมโพลล์สำรวจพบว่าคนไทย 67% หวาดกลัวสารตกค้างในโฟมล้างหน้า ก็จะเป็นที่มาของการเปิดตัวสินค้าโฟมล้างหน้ายี่ห้อหนึ่งที่ไร้สารตกค้าง ซึ่งแน่นอนว่าในการทำโพลล์ย่อมต้องมีค่าใช้จ่าย และผู้รับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ก็คือโฟมล้างหน้ายี่ห้อดังกล่าวนั่นเอง
ลองคิดกลับกันว่าหากสำนักโพลล์นั้นได้รับการว่าจ้างจากฝั่งขั้วอำนาจทางการเมือง ก็คงจะมีผลต่อคะแนนความนิยมต่อขั้วนั้นๆ อยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว
ถามจริงตอบจริงล็อกเลขจริง
ปัจจุบันการทำโพลล์สำรวจของสำนักต่าง ๆ มีทั้งการออกเก็บข้อมูลเพื่อทำแบบสอบถามแบบตัวต่อตัว ซึ่งย่านที่มีการสำรวจนั้น ก็ดูจะมีผลต่อผลสำรวจอยู่ไม่น้อย เช่น หากมีการสำรวจความนิยมของคนในแต่ละภาคต่อพรรคการเมืองหนึ่งๆ ก็เห็นจะเลี่ยงไม่ได้ว่าแต่ละภาคก็มีพรรคที่ยึดหัวหาดความนิยมไว้อยู่แล้ว และในอีกแบบคือการสำรวจทางโทรศัพท์ ซึ่งแม้จะมีการสำรวจจริง แต่การโทร.หาคนเดิมซ้ำๆ ก็ค่อนข้างคาดเดาคำตอบได้อยู่แล้วว่าคนปลายสายจะมีความเห็นต่อเรื่องที่ถามว่าอย่างไร
แล้วยังจะเชื่อโพลล์อยู่อีกหรือ?
ตราบใดที่สถาบันโพลล์ หรือสถาบันสื่อต่างๆ ของเมืองไทย ยังคงสามารถว่าจ้างได้ หรือยังมีท่อน้ำเลี้ยงจากขั้วอำนาจใดขั้วอำนาจหนึ่งอย่างชัดเจน ก็ขอตอบเลยว่ายังไม่สามารถเชื่อโพลล์เหล่านั้นได้ หากจะเชื่อโพลล์ใดๆ ขอให้ลองกลับไปดูว่าสำนักที่ทำโพลล์นั้นมีความเป็นอิสระต่ออำนาจหรือทุนมากน้อยแค่ไหน ค้นให้เจอว่าการนำเสนอโพลล์ครั้งนั้นๆ มีนัยยะอะไรแฝงอยู่ หรือพลังของโพลล์นั้นสั่นคลอนความเชื่อของผู้อ่านได้มากน้อยเพียงใด ก่อนจะปักใจเชื่อหรือยอมเปลี่ยนความคิดของตัวเอง
ขอสติจงสถิตย์อยู่กับตัวท่าน.
https://deepsouthwatch.org/th/node/7933
http://campus.sanook.com/924835/
ภาพประกอบจาก
http://www.elportal.com.do
www.prachachat.net
www.posttoday.com
ความเห็น 25
เรื่องเชื้อเพลิงและพลังงานก็อย่างงี้ๆ
25 ต.ค. 2561 เวลา 09.22 น.
โกมินทร์
ไม่เคยเชื่อถือโพลส์เลย
24 ต.ค. 2561 เวลา 09.52 น.
ข้าราชการขี้ฉ้อมันก้อทำอย่างนี้แหละ ไม่ได้โกงแค่เลียแข้งเลียขาก้อได้ผลประโยชน์แล้ว
22 ต.ค. 2561 เวลา 23.43 น.
ตามนั้นมันมั่วอยู่แล้ว
22 ต.ค. 2561 เวลา 03.27 น.
Jackrit.
ยังไม่เคยเห็นใครมาสอบถามเรื่องต่างๆอะไรเลยตลอดสามสี่สิบปี.ก็น่างงว่าผลโพลที่ออกมาให้เราเห็นพวกเขาไปถามความคิดเห็นใคร ว่าเราชอบอะไร.นิยมอะไร.อยากได้อะไรฯลฯ.. งงกับเมืองไทยนะ
22 ต.ค. 2561 เวลา 03.09 น.
ดูทั้งหมด