โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

คราบน้ำมันขึ้นฝั่งยาว 5 กม. ประกาศห้ามเข้า-ออกหาดแม่รำพึง

IGreen

เผยแพร่ 29 ม.ค. 2565 เวลา 11.13 น. • iGreen
เจ้าหน้าที่กำลังเก็บกู้คราบน้ำมัน เครดิตภาพ @MFPThailand
เจ้าหน้าที่กำลังเก็บกู้คราบน้ำมัน เครดิตภาพ @MFPThailand

นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าฯ ระยอง ได้ประกาศให้พื้นที่ ม.1 ต.บ้านเพ และ ม.5 และ ม.10 ต.ตะพง อ.เมือง จ.ระยอง เป็นเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าปฏิบัติงาน โดยจะปิดชายหาดแม่รำพึง ห้ามผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าออก โดยมีเจ้าหน้าที่สกัดปิดเส้นทางเข้าออก เพื่อป้องกันอันตราย รวมทั้งขอความร่วมมือให้ร้านค้าริมหาดแม่รำพึงปิดร้านทั้งหมดจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ

เจ้าหน้าที่เก็บคราบน้ำมัน เครดิตภาพ Afnan Abdulloh
เจ้าหน้าที่เก็บคราบน้ำมัน เครดิตภาพ Afnan Abdulloh

ทั้งนี้ส่งหน่วยแพทย์ลงไปในพื้นที่เพื่อช่วยรักษาผู้มีอาการแพ้สารเคมี และกลิ่นของน้ำมัน พร้อมฝากเตือนประชาชนในพื้นที่ ไม่ควรอยู่ในพื้นที่คราบน้ำเกยหาด เพราะอาจจะเกิดอาการแพ้ได้ ควรอยู่ห่างจากจุดที่มีกลิ่นน้ำมัน หากเกิดอาการแพ้ก็รีบเข้าพบแพทย์ทันที

ข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ประเมินสถานการณ์น้ำมันรั่วที่มาบตาพุด จ.ระยอง เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2565 ดังนี้

1.มวลน้ำมันในทะเลขนาด 1,713,388 ตรม. ทีมเรือบูมและเรือฉีดสารปฎิบัติการอยู่ พิกัดที่อยู่ระยะห่างฝั่งห่างเกาะเสม็ด 11.5 กม. ห่างเขาแหลมหญ้า 7.36 กม. ห่างหาดแม่รำพึงตรงๆ 2.6 กม.

2.พิกัดมวลน้ำมันเกยชายหาดแม่รำพึง ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ได้รับผลกระทบชายหาดแม่รำพึงความยาวประมาณ 5.5 กิโลเมตร

3.กรณีเปลี่ยนทิศการเคลื่อนตัวของมวลน้ำมันตรงเข้าบริเวณเกาะเสม็ด และหัวเขาแหลมหญ้าจะก่อเกิดผลกระทบทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบริเวณหมู่เกาะเสม็ด และปะการัง จำนวน 1,708.77 ไร่ หญ้าทะเลรวม 1,885.38 ไร่

ด้าน สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ใช้ภาพจากดาวเทียมไทยโชต (THAICHOTE) บันทึกภาพเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2565 เวลา 10.35 น. พบคราบน้ำมันลอยแผ่เป็นบริเวณกว้างและบางส่วนเคลื่อนตัวเข้าบริเวณหาดแม่รำพึง (กรอบสีแดง กรอบสีเหลือง และเส้นสีม่วงตามภาพ) คิดเป็นพื้นที่ 67 ตารางกิโลเมตร (42,673 ไร่)

เครดิตภาพ : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA
เครดิตภาพ : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA

แบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ คือพื้นที่คราบน้ำมันที่มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์ม (Sheen oil หรือ Thin oil) (กรอบสีแดง) คิดเป็นพื้นที่ 51 ตารางกิโลเมตร (32,478 ไร่) และพื้นที่คราบน้ำมันที่มีลักษณะความหนา (Thick Oil) (แสดงในพื้นที่กรอบสีเหลือง) คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 16 ตารางกิโลเมตร (10,195 ไร่) 

คราบน้ำมันดังกล่าวได้เคลื่อนตัวเข้าบริเวณหาดแม่รำพึงแล้วคิดเป็นความกว้างประมาณ 5 กิโลเมตร (เส้นสีม่วง) ในขณะที่กลุ่มคราบน้ำมันยังห่างจากเกาะเสม็ด ประมาณ 7 กิโลเมตร

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เปิดเผยว่า สามารถเก็บกู้คราบน้ำมันตามแนวชายหาดด้วยการใช้เครื่องดูดคราบน้ำมันได้แล้วกว่า 13 คิว ส่วนที่เหลือจะใช้วิธีการซับคราบน้ำมันเพื่อควบคุมไม่ให้ขยายวงกว้างไปด้านข้าง ควบคู่กับการใช้สารขจัดคราบน้ำมันทางชีวภาพกำจัด หรือ Bio Dispersant และขุดร่องน้ำชายหาดให้คราบน้ำมันไหลมารวมยังจุดเดียวเพื่อง่ายต่อการกำจัด 

นอกจากนี้ จะเฝ้าระวังคราบน้ำมันในทะเลอีกระลอกใหญ่ที่อยู่ห่างฝั่งเพียง 3 กิโลเมตร รวมถึงใกล้แนวเขตเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ดที่มีคราบน้ำห่างอยู่อีก 3 กิโลเมตรเช่นกัน 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0