เราตรวจสอบไปยังเฟซบุ๊กของหญิงสาวที่เป็นเจ้าของบริษัท พบมีภาพการทำบุญของบริษัท และป้ายบริษัท มีการเขียนคำขวัญเอาไว้ว่า ปกป้อง คุ้มภัย มีระเบียบวินัย ใส่ใจบริการ
จากการตรวจสอบเฟซบุ๊กของหญิงสาว ที่มีชื่อเป็นกรรมการบริษัท รปภ.แห่งนี้ พบว่าเธอเองมีสามีตำรวจยศร้อยตำรวจเอกสังกัดกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ทีมข่าวพยายามขอสอบถามข้อมูลจากตำรวจท่านนี้ ได้รับการชี้แจงว่า ธุรกิจเป็นของภรรยา ขอให้ไปสอบถามทางผู้จัดการ จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากกว่า ตนเองไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจของภรรยาแต่อย่างใด
เผยคลิปนาทีรปภ.หื่น บุกขืนใจลูกบ้าน
ตร.เร่งล่าตัว รปภ.ล่วงละเมิดลูกบ้าน
ต่อมา ทีมข่าวได้ไปพูดคุยกับบริษัท รปภ.แห่งอื่น เพื่อขอทราบถึงขั้นตอนการขอใบอนุญาตให้กับพนักงาน ว่ามีขั้นตอนอย่างไร ยุ่งยากหรือไม่และได้พบกับนายสันติ สาระชาติ ผู้จัดการบริษัทฮาลาเดียม บอกกับเราว่า ขั้นตอนการสมัครเป็นพนักงาน รักษาความปลอดภัย ค่อนข้างยุ่งยาก ซับซ้อน เพราะ ผู้ที่มาสมัคร จะต้องยื่นเอกสารให้กับบริษัทต้นสังกัด ตรวจสอบ
จากนั้นบริษัทจะทำใบส่งตัว เพื่อไปตรวจประวัติอาชญากรรม ถ้าหากอยู่กรุงเทพมหานครจะต้องส่งตรวจที่กองทะเบียนประวัติอาชญากรรมแต่หากอยู่ต่างจังหวัดจะส่งตรวจที่ สำนักงานพิสูจน์หลักฐาน
ในกรณีที่ ผู้สมัครถ้ามีประวัติเคยต้องโทษมาก่อน จำเป็นต้องไปขอเอกสารยืนยันสิ้นสุดคดีที่ศาลเพื่อมารับรองจากนั้นบริษัทจึงจะนำเอกสารทั้งหมด ไปยื่นให้นายทะเบียนจังหวัด ซึ่งกระบวนการทั้งหมดจะต้องรอพิจารณาอีก 60วันแต่มีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้ที่เคยก่อคดีทางเพศ ที่จะมาทำงาน รปภ.ไม่ได้
นายสันติ บอกอีกว่า กรณีดังกล่าว ส่วนตัวตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีการ ปลอมแปลงเอกสารเนื่องจากตามกฎระเบียบของการยื่นขอใบอนุญาติ ผู้สมัครจะต้องไม่มีประวัติต้องโทษคดีทางเพศ แต่หากเป็นคดีอื่น จะต้องสิ้นสุดคดีมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี จึงจะสมัครได้
ขณะที่พล.ต.ต. นิธิธร จินตกานนท์ รองโฆษกกองบัญชาการตำรวจนครบาล เปิดเผยว่า ได้มีการสั่งการให้ฝ่ายอำนวยการ 5 กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ตรวจสอบกรณีการออกใบอนุญาต ธภ.7 ของนายมนตรีแล้ว เนื่องจากเป็นหน่วยที่มีหน้าที่รับเรื่อง ตรวจสอบ และอนุญาตให้ใบประกอบอาชีพ ว่ามีการบกพร่องในส่วนใดอย่างไรหรือไม่
โดยปกติขั้นตอนการขอใบอนุญาต ผู้ที่มีความประสงค์จะประกอบอาชีพพนักงานรักษาความปลอดภัย จะต้องมีเอกสารผ่านการอบรมการรักษาความปลอดภัย โดยมายื่นคำร้องด้วยตนเอง หรือยื่นในนามบริษัทรักษาความปลอดภัย เพื่อขอใบอนุญาตที่ฝ่ายอำนวยการ 5 กองบังคับการอำนวยการกองบัญชาการตำรวจนครบาล
จากนั้นก็จะส่งข้อมูลให้กองทะเบียนประวัติอาชญากรตรวจสอบ ตรวจสอบประวัติว่าเคยต้องคดีที่ต้องห้ามหรือไม่ จากนั้นก็จะส่งผลการตรวจสอบมายังฝ่ายอำนวยการ 5 กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล พิจารณาให้ใบอนุญาต เป็นไปตาม พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย
ซึ่งนายมนตรีเคยต้องโทษคดีข่มขืนกระทำชำเรา เป็นความผิดทางเพศ ซึ่งคุณสมบัติต้องห้ามสำหรับผู้ที่จะมาขออนุญาตทำใบประกอบอาชีพพนักงานรักษาความปลอดภัย ทางกองบัญชาการตำรวจนครบาล จึงสั่งให้ตรวจสอบว่ามาจากความบกพร่องในส่วนใด ทำไมถึงให้ใบหรือญาติกับนายมนตรีไปประกอบอาชีพได้ทั้งที่มีคุณสมบัติต้องห้าม ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง
ความเห็น 8
Redstar503
ยิ่งขุดคุ้ยยิ่งเจอวีรกรรม บ.ยามส่วนมากเป็นของคนมีสีทั้งนั้น แต่ให้ครอบครัวบริหารเพื่อเลี่ยงปัญหารับผิดชอบเข้าตัวเอง หรือระเบียบราชการให้เป็นเจ้าของหรือกรรมการ แต่จริงๆแล้วก้อเจ้าของนั่นแหละ ผมเคยอยู่วงการนี้มาก่อน
06 ม.ค. 2565 เวลา 15.22 น.
ยุทธ คับ
เจ้าของบริษัทยามส่วนมากจะเป็นคนมีสีเกือบทั้งนั้น
06 ม.ค. 2565 เวลา 23.16 น.
Coco
ถุย ใครเชื่อก็ควายละ
06 ม.ค. 2565 เวลา 16.35 น.
WUT
มาตราฐานไม่มี
06 ม.ค. 2565 เวลา 21.17 น.
catmeaw6395
เดี๋ยวนี้ใครมักง่ายรับคนมั่ว
06 ม.ค. 2565 เวลา 17.37 น.
ดูทั้งหมด