ตลท.เผยต่างชาติถือครอง "หุ้นไทย" มูลค่ารวม 4.73 ล้านล้านบาท ลดลง 7.4% สอดคล้อง SET Index ดิ่ง 8.3% โดย ณ 20 มิถุนายน 2567 ถือครองหุ้นไทยรวม 847 หลักทรัพย์ เพิ่มขึ้นสุทธิ 24 หลักทรัพย์
วันที่ 10 กรกฎาคม 2567 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) รายงานการศึกษาเชิงเปรียบเทียบข้อมูลการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทย ณ สิ้นปี 2566 และ ณ 20 มิถุนายน 2567
โดยพบว่านักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการถือครองหุ้นในตลาดหุ้นไทยรวม 4.73 ล้านล้านบาท ลดลง 7.4% จากสิ้นปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงในทิศทางเดียวกันกับภาพรวมของตลาด
โดย SET Index ลดลง 8.3% และจากการที่มูลค่าการถือครองหุ้นลดลงในสัดส่วนที่น้อยกว่ามูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่ลดลง ส่งผลให้สัดส่วนมูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้นมาจาก 29.43% ณ สิ้นปี 2566 เป็น 29.62% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม
ต่างประเทศถือครอง หุ้นไทย 4.73 ล้านล้านบาท ลดลง 7.4% จากสิ้นปีก่อน
ณ 20 มิถุนายน 2567 มูลค่าการถือครอง หุ้นไทย ของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทยมีมูลค่ารวม 4.73 ล้านล้านบาท ลดลง 0.38 ล้านล้านบาท จากสิ้นปี 2566 ที่มีมูลค่าการถือครองหุ้นในตลาดหุ้นไทยรวม 5.11 ล้านล้านบาท หรือลดลง 7.4% จากสิ้นปี 2566 ซึ่งการลดลงนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับภาพรวมของตลาด
กล่าวคือ ในช่วงเวลาเดียวกันมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของทั้งตลาดลดลง 7.7% และ SET Index ลดลง 8.3% และจากการที่มูลค่าการถือครองหุ้นลดลงในสัดส่วนที่น้อยกว่ามูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่ลดลง
ส่งผลให้สัดส่วนมูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศต่อมูลค่า หลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมทั้งตลาด เพิ่มขึ้นจาก 29.43% ณ สิ้นปี 2566 มาอยู่ที่ 29.62% ณ 20 มิถุนายน 2567
ขณะที่มูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ สังเกตได้จากมูลค่าการถือดรองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศประมาณ 80.6% เป็นการถือครองหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบดัชนี SET50
ดังนั้น มูลค่าการถือดรองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทยจึงเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับดัชนี SET50 ที่ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษาปรับลดลง 7.8%
ต่างชาติถือครองหุ้นไทย 847 หลักทรัพย์ เพิ่มขึ้น 24 หลักทรัพย์จากสิ้นปี 2566
ณ 20 มิถุนายน 2567 นักลงทุนต่างประเทศถือครองหุ้นในตลาดหุ้นไทยรวม 847 หลักทรัพย์ เพิ่มขึ้นจาก 823 หลักทรัพย์ หรือเพิ่มขึ้นสุทธิ 24 หลักทรัพย์จากสิ้นปี 2566
โดยส่วนใหญ่ 817 หลักทรัพย์ เป็นหลักทรัพย์เดิมที่นักลงทุนต่างประเทศถือครองต่อเนื่องทั้ง 2 จุดเวลา (Sill Holds) ที่ทำการศึกษา โดยการเปลี่ยนแปลงด้านจำนวนหลักทรัพย์ที่นักลงทุนต่างประเทศถือครอง สามารถสรุปได้ตามตารางที่ 2 ดังนี้
1) การถือครองหุ้นที่หายไปจากกลุ่มหลักทรัพย์ที่ถูกเพิกถอนออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (Delist) จำนวน 2 หลักทรัพย์
2) การถือครองหุ้นหายไปจากกลุ่มหลักทรัพย์ที่นักลงทุนต่างประเทศขายหุ้นออกไป (Sold off) จำนวน 4 หลักทรัพย์
3) การถือครองหุ้นเพิ่มขึ้นในกลุ่มหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนเข้าซื้อขายใหม่ จำนวน 17 หลักทรัพย์
4) การถือครองหุ้นที่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มหลักทรัพย์ที่นักลงทุนต่งประเทศเข้าไปซื้อหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนก่อนปี 2567 (Now Holds) และถือครองจนถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2567 อีก 13 หลักทรัพย์
จากกิจกรรมต่าง ๆ ข้างต้น ส่งผลให้จำนวนหลักทรัพย์ที่นักลงทุนต่างประเทศถือครองหุ้นเพิ่มขึ้นสุทธิ 24 หลักทรัพย์
และ ณ 20 มิถุนายน 2567 มูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทย อยู่ที่ 4, 725.63 พันล้านบาท ลดลง 380.47 พันล้านบาท
โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากมูลค่าการถือครองหุ้นของกลุ่มหลักทรัพย์ที่นักลงทุนต่างประเทศถือครองต่อเนื่อง ทั้ง 2 จุดเวลา (Still Holds) ที่ทำการศึกษา โดยหลักทรัพย์กลุ่มนี้มีมูลค่าการถือครองหุ้นลดลง 387.57 พันล้านบาท
อย่างไรก็ตามสามารถแยกพิจารณาการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศตามกลุ่มหลักทรัพย์ต่าง ๆ
กลุ่มที่ 1 หลักทรัพย์ที่นักลงทุนต่างประเทศถือครองทั้ง 2 จุดเวลา (Still Holds)
ณ สิ้นปี 2566 นักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่การถือครองหุ้นในหลักทรัพย์กลุ่มนี้ 817 หลักทรัพย์ รวม 5,101.39 พันล้านบาท
โดยตลอดช่วงเวลาที่ทำการศึกษา นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิในหลักทรัพย์กลุ่มนี้ 115.22 พันล้านบาท (ประมาณ 2.3% ของมูลค่การถือครองหุ้นรวมของนักลงทุนต่างประเทศ) ดังนั้นมูลค่าการถือครองหุ้นควรอยู่ที่ 4,986.67 พันล้านบาท
แต่กลับพบว่า ณ 20 มิถุนายน 2567 มูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศกลับลดลงไปอยู่ที่ 4,714.32 พันล้านบาท ซึ่งจะเห็นได้ว่ามูลค่าการถือครองหุ้นที่ลดลงนั้น (387.57 พันล้านบาท) มีมูลค่ามากกว่าการขายสุทธิ (115.22 พันล้านบาท)
แสดงให้เห็นชัดเจนว่า นอกจากผลกระทบจากการขายสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศแล้ว มูลค่าการถือครองหุ้นยังได้รับผลกระทบจากกิจกรรมอื่นด้วย ซึ่งจะนำเสนอในส่วนต่อไป
กลุ่มที่ 2 หลักทรัพย์ที่ถูกเพิกถอนระหว่างช่วงที่ศึกษา (Dolist)
ณ สิ้นปี 2566 นักลงทุนต่างประเทศถือครองหุ้นของ 2 หลักทรัพย์แต่ในช่งเวลาที่ทำการศึกษา พบว่า หลักทรัพย์ดังกล่าวถูกเพิกถอนออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
ทั้งนี้หลักทรัพย์กลุ่มนี้มีมูลค่าการถือครองหุ้นรวม 4.19 พันล้านบาท และก่อนเพิกถอนฯ นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิในหลักทรัพย์กลุ่มนี้ 0.01 พันล้านบาท อย่างไรก็ตาม ณ 20 มิถุนายน 2567 จึงไม่มีข้อมูลการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศในหลักทรัพย์กลุ่มนี้
กลุ่มที่ 3 หลักทรัพย์ที่นักลงทุนต่างประเทศขายหุ้นออก (Sold of)
ณ สิ้นปี 2566 นักลงทุนต่างประเทศถือครองหุ้นของ 4 หลักทรัพย์ด้วยมูลค่าการถือครองหุ้นรวม 0.02 พันล้านบาท
และในช่วงเวลาที่ทำการศึกษาหลักทรัพย์ดังกล่าว นักลงทุนต่างประเทศขายหลักทรัพย์กลุ่มนี้ออกไปด้วยมูลค่าขายสุทธิ 0.02 พันล้านบาท
ดังนั้น ณ 20 มิถุนายน 2567 จึงไม่มีข้อมูลการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศนหลักทรัพย์กลุ่มนี้
กลุ่มที่ 4 หลักทรัพย์ที่นักลงทุนต่างประเทศถือครองเพิ่มขึ้นจากหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนเข้าซื้อขายใหม่
ในช่วงวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง 20 มิถุนายน 2567 มีหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนเข้าซื้อขายใหม่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ จำนวน 17 หลักทรัพย์
และ ณ วันแรกที่หลักทรัพย์เหล่านี้ซื้อขายในตลาด (first trading day) นักลงทุนต่างประเทศได้เข้าถือครองหลักทรัพย์เหล่านี้ทุกหลักทรัพย์ ด้วยมูลค่าการถือครองรวม 10.99 พันล้านบาท และตลอดช่วงเวลาที่ทำการศึกษานักลงทุนต่างประเทศมีการซื้อสุทธิ 0.29 พันล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ณ 20 มิถุนายน 2567 นักลงทุนต่างประเทศยังคงมีมูลค่าการถือครองหุ้นในหลักทรัพย์กลุ่มนี้ 10.99 พันล้านบาท
กลุ่มที่ 5 หลักทรัพย์ที่ถือครองเพิ่มจากซื้อเพื่อถือครอง (New Holds) จำนวน 13 หลักทรัพย์
เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศ ณ 2 จุดเวลาที่ทำการศึกษา พบว่า ณ 20 มิถุนายน 2567 นักลงทุนต่างประเทศถือครองหุ้นเพิ่มเดิม 13 หลักทรัพย์
หลักทรัพย์เหล่านี้มีการซื้อขายอยู่ในตลาดก่อนปี 2567 แต่นักลงทุนต่างประเทศมีการซื้อและถือครองจนถึง 20 มิถุนายน 2567 และตลอดช่วงเวลาที่ทำการศึกษา นักลงทุนต่งประเทศซื้อสุทธิในหลักทรัพย์ กลุ่มนี้ด้วยมูลค่า 0.06 พันล้านบาท
ซึ่ง ณ 20 มิถุนายน 2567 นักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการถือครองหุ้นในหลักทรัพย์กลุ่มนี้ รวม 0.31 พันล้านบาท
แสดงให้เห็นว่านอกจากจะได้รับผลกระทบจากการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศแล้ว หลักทรัพย์กลุ่มนี้ยังได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงราคาและกิจกรรม Corporate Actions อื่นๆ ด้วย
จากการจำแนกกลุ่มหลักทรัพย์ในการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทย ออกเป็น 5 กลุ่มตามที่กล่าวมาข้างต้นจะพบว่า
กลุ่มแรกที่เป็นหลักทรัพย์ที่นักลงทุนต่างประเทศถือดรองต่อเนื่องทั้ง 2 จุดเวลา (Still Holds) ที่ทำการศึกษา มีมูลค่าการถือครองหุ้นรวมสูงสุด คือ 99.99% ของมูลค่าการถือครองหุ้นรวมทั้งหมดของนักลงทุนต่างประเทศ
ดังนั้นในการศึกษาต่อไปที่ต้องการศึกษาถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงราคา (Price Effect) และการเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นในการถือครองหุ้น (Volume Effect) ต่อมูลค่าการถือครองหุ้นที่เปลี่ยนแปลงไปจึงทำการศึกษาเฉพาะหลักทรัพย์กลุ่มนี้
ซึ่งพบว่าเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบภาพรวมของมูลค่การถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทย ณ สิ้นปี 2566 และ ณ 20 มิถุนายน 2567 พบว่า 555 หลักทรัพย์มีมูลค่าการถือครองหุ้นลดลงและมีมูลค่าถือครองหุ้นลดลงรวม 562,167 ล้านบาท
ขณะที่ 249 หลักทรัพย์ มีมูลค่าการถือครองหุ้นเพิ่มขึ้นและมีมูลค่าถือครองหุ้นเพิ่มขึ้นรวม 17,599 ลัานบาท ขณะที่ 13 หลักทรัพย์มีมูลค่าการถือครองหุ้นเท่าเดิม (เนื่องจากหลักทรัพย์กลุ่มนี้เป็นหลักทรัพย์ที่ติดการขึ้นเครื่องหมายทำให้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงราคาและจำนวนหุ้นในการถือครอง)
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบภาพรวมตามภาพที่ 4 ตามแนวนอน พบว่า 446 หลักทรัพย์ถือครองด้วยจำนวนหุ้นลดลงส่งผลให้มูลค่าการถือครองหุ้นลดลง 470,144 ล้านบาท
และอีก 355 หลักทรัพย์ ถือครองด้วยจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มูลค่าการถือครองหุ้นเพิ่มขึ้น 82.605 ล้านบาท ขณะที่อีก 16 หลักทรัพย์ถือครองด้วยจำนวนหุ้นเท่าเดิม แต่มีมูลค่าการถือครองหุ้นเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยจากการเปลี่ยนแปลงราคา
และในการศึกษาเชิงลึก (In-depth study) เพื่อพิจารณาผลกระทบจากราคา (Price Effect) และผลกระทบจากจำนวนหุ้น (Volume Effect) ในแต่ละหลักทรัพย์ ตามหมายเหตุท้ายการศึกษานี้ ต่อมูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงจึงพิจารณาเฉพาะกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการถือครองหุ้นเพิ่มขึ้นและกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการถือครองหุ้นลดลงเท่านั้น ซึ่งสรุปผลการศึกษาได้ตามตารางที่ 5
จากภาพรวมของเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศ (Still Holds) ตามตารางที่ 5 พบว่า ณ 20 มิถุนายน 2567 มูลค่าการถือครองหุ้นลดลงรวม 387,568 ล้านบาท จากสิ้นปี 2566 โดยเป็นผลจาก
1) การเปลี่ยนแปลงราคาหุ้นที่มีมูลค่ารวมการถือครองหุ้นรวมลดลง 309,015 ล้านบาท หรือ คิดเป็น 80% ของมูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศที่เปลี่ยนแปลง และ
2) 20% เป็นผลของการเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้น ที่มีมูลค่ารวมการถือครองหุ้นรวมลดลง 78,554 ล้านบาท หรือ คิดเป็น 20% ของมูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศที่เปลี่ยนแปลง
หากพิจารณาเฉพาะกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่การถือครองหุ้นลดลง พบว่า หลักทรัพย์กลุ่มนี้มีมูลค่าการถือครองหุ้นลดลง 562,167 ล้านบาท พบว่ามูลค่าการถือครองหุ้นส่วนใหญ่ที่ลดลง (487,219 ลัานบาท) เป็นผลจากทั้งจำนวนหุ้นในการถือครองที่ลดลงและราคาที่ลดลง
ซึ่งมีสาเหตุสำคัญจากราคาหุ้นของหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ปรับตัวลงมาก การขายสุทธิเพื่อปรับพอร์ต ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นกลยุทธ์ การปรับโครงสร้างบริษัทในเครือ การเปลี่ยนแปลงตามการปรับองค์ประกอบใน Intemational Benchmarking Index เป็นต้น
โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่า ณ 20 มิถุนายน 2567 นักลงทุนต่างประเทศมีการถือครองหุ้นในจำนวนหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นแต่มูลค่าการถือครองหุ้นลดลง โดยนักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการถือครองหุ้นในตลาดหุ้นไทยรวม 4.73 ล้านล้านบาท ลดลง 7.4% จากสิ้นปีก่อน ลดลงในทิศทางเดียวกันกับภาพรวมของตลาดที่ SET Index ลดลง 8.3%
และพบว่า 80% ของมูลค่าการถือครองหุ้นที่เปลี่ยนแปลงเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงราคา (Price Effect) ขณะที่อีก 20% เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นจากกิจกรรมอื่น ๆ
อาทิ การเข้าจดทะเบียนซื้อขายของหลักทรัพย์ใหม่, กิจกรรมซื้อขายหลักทรัพย์, กิจกรรม Corporate Actions และการระดมทุนในตลาดรอง ตลอดจนการเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน เป็นต้น