โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เด็กไทยเจ๋ง กวาดรางวัลประกวดโครงงานวิทย์ระดับโลกที่สหรัฐ

MATICHON ONLINE

อัพเดต 21 พ.ค. 2566 เวลา 09.08 น. • เผยแพร่ 21 พ.ค. 2566 เวลา 09.08 น.
อว2
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เด็กไทยเจ๋ง กวาดรางวัลประกวดโครงงานวิทย์ระดับโลกที่สหรัฐ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แจ้งว่า ในการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสำหรับเยาวชน ระดับโลก REGENERON ISEF 2023 ที่เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา จัดโดย Society for Science & the Public วันที่ 13-19 พฤษภาคม โดยในปีนี้มีนักเรียนกว่า 1,600 คน จาก 63 ประเทศจากทั่วโลก โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำทีมเยาวชนไทยเข้าร่วม

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ปรากฏว่า ทีมจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สมาชิกประกอบด้วย นายปูรณ์ ตระกูลตั้งมั่น นายทีปกร แก้วอำดี และนายปัณณธร ศิริ มีนายชนันท์ เกียรติสิริสาสน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา คว้ารางวัลใหญ่ที่สุดของการประกวด คือรางวัลสุดยอดนักวิทยาสตร์รุ่นเยาว์ Regeneron Young Scientist Awards สนับสนุนโดย Regeneron and Society for Science รางวัลโครงงานนวัตกรรมการวิจัยที่สะท้อนถึงการทำงานอย่างจริงจังของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ในการหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาความท้าทายของโลกในอนาคต โดยใช้แนวที่สร้างสรรค์ และแตกต่าง ได้รับเงินรางวัล 50,000 ดอลล่าร์ พร้อมรางวัล Grand Awards อันดับ 1 สาขาสัตวศาสตร์ พร้อมเงินรางวัล 5,000 ดอลล่าร์ กับโครงงาน “การเพิ่มอัตราการรอดของแมลงช้างปีกใส (Mallada basalis) จากพฤติกรรมการฟักและการเลือกกินอาหาร (Innovation for Optimizing Lacewing Survivability)”

นอกจากนี้ ยังมีทีมเยาวชนไทยที่สามารถคว้ารางวัล Grand Awards และ Special Awards อีกหลายสาขา ได้แก่ 1.โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จ.เชียงราย รับรางวัล Grand Awards อันดับที่ 2 สาขาสัตวศาสตร์ โครงการวิธีการใหม่ในการตรวจสอบการติดเชื้อโรคเพบริน (Pebrine Disease Detection Using Silkworm Phototaxis) มีสมาชิกคือ นายธนวิชญ์ น้ำใจดี นายพณทรรศน์ ชัยประการ และ น.ส.กัญญาริณทร์ ศรีวิชัย มีนายเกียรติศักดิ์ อินราษฎร เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

2.โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี รับรางวัล Grand Award อันดับที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์โลกและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนานวัตกรรมซ่อมแซมป่าหลังเกิดไฟป่าเลียนแบบโครงสร้างของผลน้อยหน่าเครือ (Kadsura coccinea) (A Novel Seed Delivery System for Effective Reforestation) มีสมาชิกคือ นายจิรพนธ์ เส็งหนองแบน นายนฤพัฒน์ ยาใจ และนายพรหมพิริยะ ขัตติยวงษ์ มีนายขุนทอง คล้ายทอง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

3.โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ รับรางวัล Grand Awards อันดับที่ 3 สาขาสัตวศาสตร์ โครงงาน “วิธีการยั่งยืนในการควบคุมปัญหาการเป็นศัตรูพืชของหนอนด้วงสาคู” (Approach to Control Red Palm Weevil Pests) นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัล Special Award อันดับที่ 2 จากหน่วยงาน : U.S. Agency for International Development (USAID) ในสาขา Agriculture and Food Security มีสมาชิกคือ นายสัญพัชญ์ อัครจีราวัฒน์ และนายธนัตถ์กรณ์ เชาวนสมิทธิ์ มี น.ส.วนิดา ภู่เอี่ยม เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

4.โรงเรียนกำเนิดวิทย์ จ.ระยอง รับรางวัล Grand Award อันดับที่ 3 สาขาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ โครงงานการศึกษาแบบจาลองผลของสนามแม่เหล็กต่อพายุทรงหลายเหลี่ยมบนดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์โดยหลักความไม่เสถียรเชิงอุทกพลศาสตร์ (Study of Polygonal Cyclones on Jupiter and Saturn) มีสมาชิกคือ น.ส.จินต์จุฑา ปริปุรณะ นายปวริศ พานิชกุล และ น.ส.อมาดา ภานุมนต์วาที มี ดร.ปริญญา ศิริมาจันทร์ และนายศรัณย์ นวลจีน เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

5.โรงเรียนกำเนิดวิทย์ จ.ระยอง รับรางวัล Grand Award อันดับที่ 4 สาขาชีววิทยาเชิงคำนวณและชีวสารสนเทศศาสตร์ โครงการ PROSynMOGN: การปรับปรุง Graph Neural Networks สำหรับโมเลกุลเพื่อทำนายการเสริมฤทธิ์ของยาคู่ผสมสำหรับรักษาโรคมะเร็งที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลการแสดงออกของโปรตีน มีสมาชิกคือ นายติสรณ์ ณ พัทลุง นายเมธิน โฆษิตชุติมา และนายกิตติพัศ พงศ์อรุโณทัย มีดร.ธนศานต์ นิลสุ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ นายบัณฑิต บุญยฤทธิ์ สถาบันวิทยสิริเมธี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

6.โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ รับรางวัล Grand Award อันดับที่ 4 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ปริวรรต โครงงาน ออร่า “ผู้ช่วยป้องกัน ชะลอ และฟื้นฟูข้อเสื่อม” (O-RA: Osteoarthritis Rehabilitation Assistant) นอกจากนี้โครงการนี้ยังได้รับรางวัล Special Award อันดับที่ 1 จากหน่วยงาน : Sigma Xi, The Scientific Research Honor Society ในสาขา: Life Sciences Discipline มีสมาชิกคือ น.ส.นภัสชล อินทะพันธุ์ นายแก้วกล้า สร้อยกาบแก้ว และนายกฤตภาส ตระกูลพัว มีนายกฤติพงศ์ วชิรางกุล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา