โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

หุ้น การลงทุน

“ประกันชีวิต-ประกันสุขภาพ”…ควรมีหรือไม่ ?

Wealthy Thai

อัพเดต 21 มี.ค. เวลา 10.11 น. • เผยแพร่ 16 พ.ค. 2566 เวลา 08.53 น. • เกศิณี เพ็ชรแสนงาม

Wealth EZ: ปัจจุบันยังมีคำถามว่า “จำเป็นแค่ไหนที่จะต้องมีประกันชีวิตและประกันสุขภาพ” ในความคิดเห็นของผู้เขียนให้ความสำคัญกับการทำทุน “ประกันชีวิต” และ “ประกันสุขภาพ” เท่าเทียมกัน โดยเฉพาะ“เจ้าของธุรกิจ” ซึ่งไม่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล และประกันสังคม ดังนั้น สิ่งที่ต้องเตรียมคือแผนประกันชีวิตที่ครอบคลุมภาระ ที่ตนเองรับผิดชอบ และประกันสุขภาพ ที่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล แบบระยะยาว ยาวถึงอายุ 85ปี หรือ 99ปี (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแบบประกัน)
ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณา คือ ถ้ามีเงินแต่สุขภาพไม่ดี หากสมัครทำประกัน บริษัทประกันจะคุ้มครองแบบมีเงื่อนไข คือ “ไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนทำประกัน” หรืออาจ “เพิ่มเบี้ยประกัน” เนื่องจากสุขภาพที่มีประวัติการเป็นโรคถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานของคนทั่วไป ดังนั้น เบี้ยประกันจะถูกปรับเพิ่ม ดังนั้น การวางแผนการทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ควรทำตอนที่มีเงินและมีสุขภาพดี
หลายคนมองว่าถ้าไม่ป่วยก็ไม่คุ้มค่า เสียดายเบี้ยประกันที่จ่ายทิ้งไป แต่ในหลักการวางแผนโอนย้าย ความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญของการวางแผนชีวิต อย่าลืมว่า “เบี้ยประกันส่วนน้อยไม่ได้ทำให้จนลง แต่ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมีโอกาสทำให้เราจนลง และอนาคตคนในครอบครัวจบลงได้”
โลกใบนี้มีความผันผวนและจำเป็นต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมรับมือหากเกิดความผันผวนรุนแรงและไม่สามารถควบคุมได้ก็ต้องโอนความเสี่ยง เช่น มีประกันชีวิตและประกันสุขภาพในช่วงการแพร่ระบาด COVID-19
“ถึงแม้ว่านวัตกรรมทางการแพทย์เจริญก้าวหน้า แพทย์ดีมีความสามารถ สามารถรักษาโรค โรคร้ายรักษาหายได้ แต่ก็แลกมาด้วยค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่สูง ทางออกที่น่าสนใจเพื่อลดค่าใช้จ่าย คือ ‘การทำประกันสุขภาพ’ ที่สำคัญควรทำประกันตั้งแต่สุขภาพแข็งแรง เพราะหากทำเมื่อเจ็บป่วยก็จะมีเงื่อนไขจากบริษัทประกันเยอะมากขึ้น และเบี้ยประกันจะสูงตามไปด้วย”
โดยทั่วไป ช่วงชีวิตที่พบกับความท้าทายมากที่สุด มักจะอยู่ในช่วงอายุ 35- 45ปีเพราะเป็นช่วงที่กำลังสร้างฐานะ และเป็นช่วงสะสมทรัพย์สินและความมั่งคั่ง แต่ในขณะเดียวกันก็มีภาระทางการเงินที่ต้องรับผิดชอบรอบด้าน ซึ่งความเสี่ยงที่น่ากลัวที่สุดสำหรับวัยนี้ คือ ปรากฏการณ์ “แก่ก่อนรวย” “ป่วยก่อนใช้” เนื่องจากอาจเจอภาระค่าใช้จ่ายรอบด้าน ทั้งค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูครอบครัว อีกทั้งภาระหนี้สินที่ยังต้องผ่อน รวมถึงความจำเป็นที่ต้องเก็บเงินตามเป้าหมายส่วนตัว ในขณะที่การงานและรายได้เพิ่งเริ่มมั่นคงและเติบโต ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่อาจจะมีเงินไม่พอใช้จ่าย หรือมีเงินเก็บไม่พอกับเรื่องที่จำเป็นต้องใช้ หากไม่ได้วางแผนเตรียมตัวไว้ล่วงหน้า และหากต้องเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงเรื้อรัง หรือเกิดอุบัติเหตุรุนแรง ต้องใช้เงินจำนวนมาก ในการรักษาพยาบาล ช่วงเจ็บป่วยก็ไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม

ดังนั้น “เพื่อความมั่นคงของชีวิต” เราจึงควรเตรียมตัวรับมือและมองหาวิธีการจัดการกับภาระทางการเงินที่พร้อมจะให้แบกภาระเพิ่มมากขึ้น ด้วย 4แนวทางแนะนำ ดังนี้

1.บริหารและควบคุมค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับรายได้และฐานะ

ต้องมีวินัยในการใช้จ่าย โดยใช้วิธีทำงบการเงิน หรือทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อควบคุมการใช้จ่ายของตัวเองให้อยู่ในงบประมาณที่เหมาะสม เพื่อที่จะสามารถรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้อย่างไม่มีปัญหา

2.วางแผนเก็บออมเงินสำหรับเป็นเงินเกษียณของตัวเอง

ใช้เครื่องมือการออมหรือการลงทุนที่ช่วยสร้างวินัยการออม เช่น ประกันชีวิตแบบบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ RMF ที่มีเงื่อนไขบังคับให้เราต้องออมเงินหรือลงทุนในระยะยาว โดยต้องออมหรือลงทุนอย่างสม่ำเสมอทุกปี และไม่สามารถถอนเงินออกมาใช้ได้ระหว่างทาง ต้องรอจนกว่าจะเกษียณจึงจะได้รับเงินที่ออมหรือลงทุนไว้ ควรมีแบบประกันที่มีความคุ้มครองชีวิตสูง เพื่อเพียงพอกับภาระต่างๆ

3.วางแผนค่าใช้จ่ายของลูกให้ครอบคลุมจนสำเร็จการศึกษา

โดยการสำรวจค่าเล่าเรียน และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของสถาบันการศึกษาที่วางแผนจะส่งบุตรไปเรียน ตั้งแต่ปัจจุบัน จนจบระดับชั้นที่ต้องการ ว่ารวมแล้วเป็นจำนวนเงินทั้งหมดเท่าไหร่ โดยสำหรับค่าเล่าเรียนในระดับชั้นสูงๆ ที่ยังมีเวลาอีกหลายปีกว่าจะถึงเวลาต้องจ่าย อาจจะใช้วิธีการลงทุน หรือออมเงินในรูปแบบต่างๆ เพื่อช่วยเตรียมเงินให้เพียงพอกับค่าเล่าเรียนในอนาคตได้
“ในส่วนนี้ เรานำยอดรวมค่าใช้จ่ายทางการศึกษาที่คำนวณได้ นับรวมเป็นส่วนหนึ่งของทุนประกันชีวิต ที่หัวหน้าครอบครัวควรมีหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นกับหัวหน้าครอบครัว ทุนประกันนี้จะใช้ส่งเสียค่าเล่าเรียนบุตรได้อย่างเพียงพอ จนจบการศึกษา”
4. วางแผนทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันโรคร้ายแรง และประกันอุบัติเหตุ เพื่อโอนย้ายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ควรทำประกันชีวิตให้มีความคุ้มครองหรือจำนวนเงินเอาประกันภัยเพียงพอกับ“ภาระทางการเงิน” ในชีวิตทั้งหมดที่เรามีอยู่ ได้แก่ “ภาระหนี้สินคงค้าง ค่าเลี้ยงดูผู้อยู่ในอุปการะจนกว่าจะเลี้ยงดูตัวเองได้ (รวมไปถึงค่าเล่าเรียน และค่าประกันชีวิตบุตร ตั้งแต่ปัจจุบันจนเรียนจบ) + เงินที่ต้องการทิ้งไว้ในช่วงปรับตัว มูลค่าเงินเก็บทั้งหมดที่เรามีอยู่” ยกเว้นบ้าน หรือรถ (เพราะคนในครอบครัวยังต้องใช้ ) เพื่อให้แน่ใจว่าหากจากไปกะทันหัน ภาระค่าใช้จ่ายที่ดูแลอยู่ ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวหรือธุรกิจ จะสามารถดำเนินต่อไปได้โดยไม่สะดุดและไม่เดือดร้อนยิ่ง ด้วยสภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลให้ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ดังนั้น “ควรทำประกันสุขภาพ” ดังนี้
*ค่าคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแบบเหมาจ่าย ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล ต่อรอบปีกรมธรรม์ แต่เบี้ยประกันก็จะค่อนข้างสูงที่สุด เมื่อเทียบกับแบบประกันค่ารักษาแบบ package
* ค่ารักษาพยาบาลแบบ package (New Health Standard) คุ้มครองครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล ทั้งผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD)***** คุ้มค่า แบบนี้เบี้ยประกันก็จะสูงกว่า ค่ารักษาแบบไม่มี OPD
* โรคร้ายแรง ซึ่งเมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายแรงก็จะได้รับเงินก้อนช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวในด้านอื่นๆด้วย เพราะคนที่ป่วยเป็นโรคร้ายมักจะไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม และเพิ่มเติมด้วยค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นหากต้องรับประทานอาหารเสริม เพื่อช่วยให้อาการเจ็บป่วยทุเลาลง ยิ่งถ้ามีค่าผ่อนต่างๆ ยังคงค้างอยู่ไม่ว่าจะผ่อนบ้านผ่อนรถหรือแม้แต่ค่าเล่าเรียนลูกเงินก้อนที่ได้หลักล้านหรือหลายล้านบาท ก็อาจจะช่วยทดแทนแหล่งรายได้เดิมที่ตนเองไม่สามารถจะทำต่อได้
การเตรียมความพร้อม ทั้ง “ประกันชีวิต” และ “ประกันสุขภาพ” จะทำให้การเงินของครอบครัวไม่สะดุด เป้าหมายชีวิตที่วางไว้ยังสามารถไปต่อได้ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันสิ่งที่หนักก็จะกลายเป็นเบาและที่สำคัญในระหว่างที่ได้วางแผนชีวิตเราจะเกิดความสงบสุขทางใจ ว่าตลอดเส้นทางของการดำเนินชีวิตที่ได้เตรียมแผนรองรับไปแล้ว
ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpageและ www.tfpa.or.th

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0