โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

สัตว์บนกาลาปากอส ใช้ชีวิตท่ามกลางขยะพลาสติก

Environman

เผยแพร่ 26 เม.ย. เวลา 00.00 น.

ชีวิตในกลาปากอสอาศัยอยู่ท่ามกลางกองขยะพลาสติก หมู่เกาะอันห่างไกลและเต็มไปด้วยความหลากหลายทางธรรมชาติ กำลังถูกคุกคามจากขยะพลาสติกที่ลอยมาข้ามทวีปเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่ได้ตระหนักถึงปัญหามลพิษพลาสติกที่เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งทำให้เกิดความพยายามที่จะควบคุมในหลายประเทศ แต่ในขณะที่นักการทูตกำลังหาข้อตกลงที่ดีที่สุด กองขวด ต่าขาย และกล่องพลาสติก ก็กำลังลอยน้ำเข้าไปสู่หนึ่งในหมู่เกาะที่ห่างไกลและมีความสำคัญทางชีวภาพอย่างยิ่ง

กาลาปากอส (Galápagos) นั้นเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด และหลายสายพันธุ์ก็ไม่พบที่อื่นใดในโลกอีกแล้ว ความสวยงามในธรรมชาติแห่งนี้เป็นแรงบันดาลใจให้กับ ชาลส์ ดาร์วิน นักธรรมชาติวิทิยาผู้สร้างทฤษฏีวิวัฒนาการเมื่อกว่า 200 ปีก่อนที่ทุกคนรู้จัก แต่ทว่าหมู่เกาะที่สวยงามนี้กลับกลายเป็นสถานที่ที่น่าสะเทือนใจที่สุด

“แนวปะการังเหล่านี้เป็นสถานที่พักพ่อนของนกกระทุงและอีกัวนาทะเล” Mariana Vera ผู้จัดการโครงการอนุรักษ์กาลาปากอสระหว่างประเทศ กล่าว “เต่าเองก็มีเยอะมากเพราะเป็นสถานที่วางไข่ แต่น่าเศร้าและน่าหนักใจที่ได้เห็นพวกเขาเต็มไปด้วยพลาสติก”

สิ่งมีชีวิตบนเกาะแห่งนี้กำลังนั่งอยู่กองขยะพลาสติกไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมง ถังน้ำมัน ภาชนะในครัวเรือน ขวดน้ำ ช้อนส้อม และอื่น ๆ อีกมากมายที่เดินทางข้ามโพ้นทะเลมา งานวิจัยในปี 2019 ระบุว่าพลาสติกส่วนใหญ่ถูกพัดมาจากเปรู เอกวาดอร์ และจีนที่ซึ่งถูกบรรทุกมาโดยเรือประมง

นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่า 20% ของมลพิษพลาสติกในมหาสมุทรนั้นมาจากการประมง แต่สำหรับกาลาปากอสแล้ว ตัวเลขอาจสูงขึ้นถึง 40% เนื่องจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีเรือประมงจำนวนมาก โดยเฉพาะเรือสัญชาติจีนหลายร้อยล้อมรอบเขตสงวนแห่งชาตินี้

จนทำให้เกิดข้อตกลงทางการทูตระหว่างชาติขึ้นมาเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมของเกาะ นับตั้งแต่นั้นมาเรือจีนก็รักษาระยะห่างมากขึ้น แต่การทิ้งขยะพลาสติกอย่างผิดกฎหมายจากเรือและจากแนวชายฝั่งแผ่นดินใหญ่ยังคงดำเนินต่อไป แม้จะมีการควบคุมระยะห่างกับเกาะแล้วก็ตาม

“ขวดพลาสติกเหล่านี้มาจากประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค” Rodrigo Robalino ผู้จัดการด้านสิ่งแวดล้อมของอุทยานแห่งชาติกาลาปากอส กล่าว “แต่ก็ยังมาจากกองเรือประมงระหว่างประเทศ รวมถึงกองเรือของจีนที่ล้อมรอบเขตอนุรักษ์ทางทะเลด้วยเช่นกัน”

ทางหน่วยงานอนุรักษ์จำเป็นต้องทำความสะอาดเกาะทั้ง 4 เกาะถึงสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อเก็บรวบรวมพลาสติกแล้วส่งไปรีไซเคิลหรือฝังกลบ ในปี 2023 ทีมงานเก็บได้มากถึง 13 ล้านตัน แม้กว่า 97% ของเกาะทั้งหมดจะได้รับการคุ้มครองและไม่มีคนอาศัยอยู่ แต่ก็ยังประสบปัญหาที่น่าเศร้าเหล่านี้

“หากเราไม่ทำเช่นนี้ พลาสติกจะแตกตัวออกเป็นเส้นใยที่นกมักใช้ทำรัง และหลังจากนั้นก็จะกลายเป็นไมโครพลาสติก ซึ่งสามารถถูกลมพัดลงสู่มหาสมุทรได้” Robalino กล่าว ไม่เพียงเท่านั้นไม่โครพลาสติกเหล่านี้ยังทำอันตรายต่อร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่รับเข้าไปด้วย

และที่สำคัญเกาะเหล่านี้เป็นพื้นที่วางไข่สำคัญที่สุดเป็นอันดับสองของเต่าทะเล เมื่อ 3 ปีที่แล้ว Nicolás Moity นักนิเวศวิทยาทางทะเลจากมูลนิธิชาลส์ ดาร์วิน ได้ตรวจสอบเม่นทะเลซึ่งพบว่ากว่า 75% ของตัวอย่างได้กินไมโครพลาสติกเข้าไปแล้ว และส่วนประกอบของอุจจาระเต่าทะเล 86% เป็นพลาสติก

“กระแสน้ำเป้นแหล่งแห่งชีวิตในกาลาปากอส” Moity กล่าว “คุณมีกระแสน้ำอุ่นและน้ำเย็นมาผสมผสานกัน ทำให้เกิดชีวิตอันน่าอัศจรรย์มากมายเหลือคณานับ คุณมีทั้งเพนกวินและปะการังอยู่ในที่เดียวกัน”

“แต่ในปัจจุบันในโลกยุคโลกาภิวัฒน์นี้ กระแสน้ำกลับนำพลาสติกมาสู้กาลาปากอส”

เราไม่รู้ว่าแก้วน้ำปั่นและแก้วกาแฟที่คุณทิ้งลงไปในถังขยะเมื่อเช้าจะไปจบลงที่ใด แต่การล้างมันและเก็บไว้เพื่อรวบรวมส่งต่อไปยังกระบวนการรีไซเคิล ก็อาจช่วยสัตว์ทั่วโลกให้ได้รับไมโครพลาสติกน้อยลง

“ไมโครพลาสติกถูกกลืนกินโดยทุกสิ่งตั้งแต่แพลงก์ตอนสัตว์ ไปจนถึงสัตว์ขนาดใหญ่ และเราก็ไม่ทราบผลกระทบ” Moity กล่าว

ที่มา

https://galapagosconservation.org.uk/…/ocean…/

https://www.usc.edu.au/…/global-plastic-pollution…

https://www.theguardian.com/…/currents-bring-life-and…

Photo : Galápagos Conservation Trust

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0