โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

"บิ๊กต่าย" สั่งด่วนตำรวจทุกพื้นที่ออกช่วยเหลือพยพ ปชช.กรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหวรับรู้ได้ทั่วประเทศ

สยามรัฐ

อัพเดต 28 มี.ค. เวลา 14.44 น. • เผยแพร่ 28 มี.ค. เวลา 14.43 น.
"บิ๊กต่าย" สั่งด่วนตำรวจทุกพื้นที่ออกช่วยเหลือพยพ ปชช.กรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหวรับรู้ได้ทั่วประเทศ
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

วันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สั่งการด่วนตำรวจทุกพื้นที่ ให้ดูแลช่วยเหลือพี่น้องประชาชน หลังจากเวลาประมาณ 13.30 น. เกิดแผ่นดินไหว จุดศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน สามารถรับความรู้สึกสั่นไหวบริเวณกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ โดยในกรุงเทพมหานคร เกิดเหตุอาคารทรุด มีผู้ประสบภัยจำนวนมาก

พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ กล่าวกำชับให้ตำรวจทุกพื้นที่ติดตามความเคลื่อนไหวและข่าวสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้ออกตรวจตรา และให้ความช่วยเหลือ อพยพประชาชนออกนอกอาคารหรือตึกสูงไปยังพื้นที่ปลอดภัย กรณีที่พื้นที่ใดมีผลกระทบหรือมีเหตุตึกอาคารทรุดหรือไม่ปลอดภัย ให้เร่งเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยและนำไปยังพื้นที่พยาบาลหรือพื้นที่ปลอดภัย พร้อมจัดเตรียมบริหารจัดการเหตุในพื้นที่ อำนวยความสะดวกด้านการจราจร เพื่อนำส่งการสนับสนุนด้านต่าง ๆ เน้นการติดต่อสื่อสารสั่งการในพื้นที่ พร้อมสั่งการให้โรงพยาบาลตำรวจจัดบุคลากรทางการแพทย์เตรียมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่จะต้องให้การสนับสนุนช่วยเหลือพี่น้องประชาชนตามข้อสั่งการ ผบ.ตร.

1. ให้ บช น. สำรวจจุดที่เกิดเหตุ ทั้งหมดของ มีกี่จุด ที่ไหน มีความเสียหายอย่างไร แต่ละจุด มอบหมายใครเป็นผบ.เหตุการณ์ และ ตั้ง ศปก.ที่ไหน อย่างไร

2. ให้ บช.น. กำหนดแผนปฏิบัติ และมอบหมาย ผู้รับผิดชอบในการบริหารการจัดการจราจร/การประสานงาน/ การสอบสวน และการประชาสัมพันธ์กับสื่อ ให้ชัดเจน

3. ให้ ผบ.ชา ชี้แจง กำชับ แนะนำ ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติตามแผน ขั้นตอน ในการป้องกันในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนาย ต้องรู้หน้าที่ว่าต้องทำอะไรบ้าง

4. วางแผน บริหาร การจัดการจราจรและอำนวยการจราจรในที่เกิดเหตุและบริเวณใกล้เคียง เพื่อไม่ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเข้ามายังบริเวณที่เกิดเหตุและเพื่อให้เกิดความสะดวก คล่องตัวกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

5. ประชาสัมพันธ์เส้นทาง จร. ทางสื่อสาธารณะ ช่องทางโซเชียลมีเดีย ทุกช่องทาง

6. ประสานงานและอำนวยความสะดวก นำส่งผู้ได้รับบาดเจ็บไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

7. นำสุนัขตำรวจมาช่วยในการค้นหาผู้รอดชีวิตและสนับสนุนการปฏิบัติเมื่อได้รับการร้องขอทันที

8. จำนวนยอดผู้เสียชีวิต ผู้ได้รับบาดเจ็บ ให้ประสานกับรายงานจาก ปภ. เพื่อให้ข้อมูลเกิดความถูกต้องที่สุด

9. จัดเจ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำอยู่ที่กองอำนวยการร่วมของ ปภ. เพื่อการประสานงานและการรับข้อมูลที่ชัดเจน ถูกต้อง

10. สำรวจความเสียหาย กำลังพล ยานพาหนะ ที่ทำการ ของทางราชการและเจ้าหน้าที่ตำรวจ

11. ให้ถือเป็นภารกิจที่มีความสำคัญในการทำตามหน้าที่ ทั้งการสนับสนุนช่วยเหลืออย่างเต็มกำลังความสามารถ

12. ผบช.น. ต้องมอบหมายให้ มีผู้รับผิดชอบในการรวบรวมข้อมูลการปฏิบัติและเป็นผู้รายงานข้อมูลให้ผู้บังคับบัญชาระดับ ตร. / และผู้บังคับบัญชาระดับสูง

13. กำหนดแผนการสอบสวน /การชันสูตรพลิกศพในที่เกิดเหตุ / การตรวจพิสูจน์ทางนิติเวช การตรวจอัตลักษณ์บุคคล

14.ให้ รพ.ตร. และ สพฐ.ตร. จัดเตรียมชุดปฏิบัติการพร้อมปฎิบัติอยู่ที่ ศปก.ส่วนหน้าของ บช.น. เพื่อดำเนินการตามหน้าที่และสนับสนุนข้อมูลในการสอบสวนอย่างถูกต้อง

15. ให้ ผบช.น.,รอง ผบช.น., และ ผบ.ขา ทุกระดับชั้น หมั่นตรวจให้คำแนะนำ ให้กำลังใจและดูแลความเป็นอยู่ การส่งกำลังบำรุง อาหาร น้ำ และอื่นๆกับกำลังพลที่ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

16. ให้ ศปก.ตร. เป็นศูนย์สั่งการ บริหารงาน การประสานงานด้านข้อมูลและการปฎิบัติ ที่ถูกต้องชัดเจนแล้วรายงานให้ ผบ.ชา ทราบทุกระยะ

17. ให้ บก.02 รับผิดชอบในการรับข้อมูล ตรวจสอบสภาพการจราจร ในเส้นทางต่างๆ และรายงานต่อ ผบ.ชา และ ศปก.ตร. รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ ให้การบริหารจัดการการจราจรเกิดประสิทธิภาพและเกิดความคล่องตัวโดยเร็วที่สุด

18. ให้สายตรวจเพิ่มความเข้มในการสอดส่องตรวจตราดูแลความปลอดภัยและการก่อเหตุอาชญากรรมซ้ำซ้อนอันเป็นการซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน