โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

กทม.จ่อยุบแผงค้า ‘สี่แยกบ้านแขก’ รีโนเวตฟุตปาธ – จัดระเบียบ ‘ตลาดเดินเล่น’ หลายย่าน

MATICHON ONLINE

อัพเดต 22 พ.ย. เวลา 09.44 น. • เผยแพร่ 22 พ.ย. เวลา 09.44 น.
62

กทม.สกัดฝุ่นต่อเนื่อง – จ่อยุบแผงค้า ‘สี่แยกบ้านแขก’ รีโนเวตฟุตปาธ – จัดระเบียบตลาดเดินเล่น ทั้งฝั่งธนฯ – ย่านรัชดา

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 22 พฤศจิกายน ที่เขตธนบุรี นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตธนบุรี โดยมี นายวรชล ถาวรพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ ว่าที่ร้อยตรีเดชาธร แสงอำนาจ ผู้อำนวยการเขตธนบุรี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตธนบุรี สำนักเทศกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล

โดย นายจักกพันธุ์ เริ่มจากติดตาม มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 โครงการก่อสร้างคอนโดเฟล็กซี่ ริเวอร์วิว-เจริญนคร (FLEXI RIVERVIEW-CHAROENNAKORN) ซึ่งเป็นการก่อสร้างอาคารพักอาศัย ความสูง 33 ชั้น จำนวน 1 อาคาร ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามวิธีและเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตในการก่อสร้างตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2526) และแก้ไขเพิ่มเติมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 67 (พ.ศ.2563) และมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

ทั้งนี้ นายจักกพันธุ์ รองผู้ว่าฯ ได้กำชับผู้ประกอบการให้จัดทำบ่อล้างทำความสะอาดล้อรถบรรทุกและรถโม่ปูนด้านหน้าทางเข้า-ออกโครงการ ติดตั้งเครื่องวัดค่าฝุ่น PM2.5 และจอแสดงผลด้านหน้าโครงการให้เห็นเด่นชัด ล้างทำความสะอาดพื้นด้านหน้าทางเข้า-ออกโครงการ เพื่อป้องกันไม่ให้มีเศษหินดินทรายตกค้าง เปิดเครื่องฉีดพ่นละอองน้ำในช่วงการปฏิบัติงานตลอดเวลา ตรวจวัดค่าควันดำรถบรรทุกและรถโม่ปูนให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามรอบที่กำหนด พร้อมทั้งมอบหมายให้เขตฯ จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ ควบคุมไม่ให้ปล่อยมลพิษในอากาศเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างยั่งยืน

จากนั้น เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ โรงเรียนวัดบางน้ำชน ถนนเจริญนคร พื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน โดยมีครูบุคลากรและนักเรียน 95 คน เข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะตั้งแต่ปี 2566 วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะอินทรีย์ คัดแยกขยะเศษอาหารที่เหลือจากการรับประทาน นำมาปุ๋ยอินทรีย์และทำน้ำหมักชีวภาพ ส่วนที่เหลือส่งเขตฯ นำไปกำจัด 2.ขยะรีไซเคิล คัดแยกขยะรีไซเคิล นำไปทำสิ่งประดิษฐ์ประกอบการเรียนการสอน บางส่วนคัดแยกนำไปขาย นอกจากนี้ ยังเป็นภาคีเครือข่ายร่วมกับโรงแรมอนันตรารีสอร์ทแอนด์สปา ในการร่วมทำบุญผ้าป่ารีไซเคิล โดยทางโรงแรมจ ะเข้ามาจัดกิจกรรมและนำขยะรีไซเคิลมาให้โรงเรียน จากนั้นโรงเรียนนำไปร่วมทำบุญกับเขตฯ เมื่อมีการจัดผ้าป่ารีไซเคิล 3.ขยะทั่วไป คัดแยกขยะทั่วไป ที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ รวบรวมเก็บไว้ในจุดที่กำหนด รอเขตฯ จัดเก็บ 4.ขยะอันตราย คัดแยกรวบรวมไว้ แจ้งเขตฯ จัดเก็บ สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนและหลังคัดแยก 5 กิโลกรัม/วัน ขยะรีไซเคิลก่อนและหลังคัดแยก 10 กิโลกรัม/เดือน ขยะอินทรีย์ก่อนและหลังคัดแยก 4.80 กิโลกรัม/วัน ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ให้คำแนะนำแก่ทางโรงเรียนในการคัดแยกขยะประเภทต่างๆ เพื่อให้การคัดแยกขยะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ต่อมา นายจักกพันธุ์ ตรวจการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน บริเวณตลาดเดินเล่น ถนนรัชดาภิเษก ปัจจุบันเขตฯ มีพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน จำนวน 3 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 172 ราย ได้แก่ 1.ตลาดดาวคะนองทั้ง 2 ฝั่ง ฝั่งขาเข้า ผู้ค้า 40 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-22.00 น. ฝั่งขาออก ผู้ค้า 26 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-23.00 น. รวมผู้ค้า 66 ราย 2.ตลาดเดินเล่น ถนนรัชดาภิเษก (ตลาดไทยช่วยไทยเดิม) ผู้ค้า 32 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-22.00 น. 3.ตลาดสำเหร่ทั้ง 2 ฝั่ง ฝั่งขาเข้า ผู้ค้า 60 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-23.00 น. ฝั่งขาออก ผู้ค้า 14 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 08.00-23.00 น. รวมผู้ค้า 74 ราย ปัจจุบันเหลือผู้ค้า 16 ราย ทำการค้าได้ถึงวันที่ 31 ธ.ค.67 โดยมีผู้ค้า 59 ราย ได้รับเงินค่าทดแทนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ กำหนดยกเลิกทำการค้าปี 2568 ส่วนพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 2 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 46 ราย ได้แก่ 1.ซอยอิสรภาพ 13-15 ผู้ค้า 33 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 15.00-24.00 น. 2. หน้าคอนโด Whizdom ถนนรัชดาภิเษก ผู้ค้า 13 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 12.00-24.00 น. ซึ่งในปี 2567 เขตฯ ยกเลิกจุดทำการค้า จำนวน 2 จุด ได้แก่ 1.หน้าสถานีรถไฟตลาดพลู ซอยเทอดไทย 25 ผู้ค้า 15 ราย 2.ภายในซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน 19-21 ผู้ค้า 13 ราย ยกเลิกเมื่อวันที่ 30 ก.ย.67

นอกจากนี้ กรุงเทพมหานคร มีโครงการปรับปรุงทางเท้าถนนอิสรภาพ ช่วงจากถนนประชาธิปกจนถึงถนนสุทธาวาส ครอบคลุมพื้นที่เขตธนบุรี เขตบางกอกใหญ่ และเขตบางกอกน้อย ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2567 สิ้นสุดวันที่ 14 มกราคม 2568 ซึ่งพื้นที่เขตธนบุรี มีจุดทำการค้าบริเวณสี่แยกบ้านแขก ผู้ค้า 33 ราย จึงมีความจำเป็นต้องยกเลิกจุดทำการค้าดังกล่าว เพื่อใช้พื้นที่ในการปรับปรุงทางเท้าถนนอิสรภาพ ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยบริเวณพื้นที่ทำการค้าอย่างต่อเนื่อง ขอความร่วมมือผู้ค้าให้เก็บอุปกรณ์ทำการค้าหลังเลิกทำการค้าในแต่ละวัน เตรียมพร้อมการตรวจประเมินตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทำการค้าปี 67 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป

จากนั้น นายจักกพันธุ์ เป็นประธานเปิดกิจกรรม POP PARK BKK ครั้งที่ 2 เปิด 6 สวน พื้นที่สวน 15 นาที ผสานประเด็น มุ่งเน้นพื้นที่สุขภาวะ เขตธนบุรี บริเวณสวนวุฒากาศ ใต้สะพานลานเพลินติดกับสถานีรถไฟวุฒากาศ เชื่อมต่อการสัญจรภายในเมือง ซึ่งกลุ่ม We!park ร่วมกับสถาบันอาศรมศิลป์ ภาคีเครือข่าย และสำนักงานเขตธนบุรี จัดทำพื้นที่ต้นแบบเพื่อพัฒนาสวน 15 นาที เพื่อพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวที่มุ่งเน้นการกระตุ้นให้เกิดการรับรู้พื้นที่ รวมถึงการทดสอบการใช้งานของประชาชน เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาระยะยาวต่อไป

สำหรับกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย กิจกรรมเปลี่ยนพื้นที่ขึ้นลงรถไฟสถานีวุฒนากาศ ให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ กิจกรรมออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า กิจกรรมร่วมพูดคุยกับชุมชน หารือแนวทางการจัดกิจกรรมระยะยาวในพื้นที่ โดยรวบรวมความคิดเห็นในการพัฒนาพื้นที่และการจัดกิจกรรมในอนาคต ปัจจุบันเขตฯ มีสวน 15 นาที จำนวน 4 แห่ง ได้แก่

1.สวนภายในสำนักงานเขตธนบุรี พื้นที่ 100 ตารางเมตร (วัดเวฬุชิณ)

2.พื้นที่ว่างใต้สะพานข้ามแยกตากสิน-สาทร ถนนราชพฤกษ์ เฟส 1 พื้นที่ 1,600 ตารางเมตร กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของกรมทางหลวงชนบท ที่ผ่านมาเขตฯ ได้ปรับปรุงภูมิทัศน์พัฒนาเป็นสวน 15 นาที โดยจัดทำทางเดิน-วิ่งออกกำลังกาย ปลูกต้นไม้เพิ่มเติม ได้แก่ ต้นประดู่บ้าน ต้นทองอุไร ต้นไทรเกาหลี ต้นเฟื่องฟ้า ต้นไทรทอง ต้นชาฮกเกี้ยน

3.สวนข้างสถานี BTS วุฒากาศ พื้นที่ 800 ตารางเมตร กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย

4.สวนร่วมแรงร่วมใจ พื้นที่ว่างใต้สะพานข้ามแยกตากสิน-สาทร ถนนราชพฤกษ์ เฟส 2 ขนาดพื้นที่ 2,400 ตารางเมตร กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของกรมทางหลวงชนบท โดยศูนย์ก่อสร้างฯ

5.ดำเนินการปรับพื้นดิน ปูกระเบื้องใต้สะพานและรอบทางระบายน้ำ ปรับพื้นลงหินคลุก ปูอิฐตัวหนอนจากวัสดุเหลือใช้จากการปรับปรุงทางเท้า เทพื้นแอสฟัลต์ทางเดิน-วิ่งออกกำลังกาย ปลูกต้นไม้เพิ่มเติม

นอกจากนี้ เขตธนบุรี ยังได้สำรวจพื้นที่เพิ่มเติม เพื่อจัดทำสวน 15 นาที อีก 3 แห่ง ได้แก่ 1.สวนหย่อม 12 สิงหา 2.สวนท่าน้ำวัดดาวคะนอง 3.สวนเกาะกลางถนนราชพฤกษ์ จากเฟส 2 ถึงสถานี BTS โพธิ์นิมิต เฟส 3 ทั้งนี้ รองผู้ว่าฯ ได้มอบหมายให้เขตพิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้พื้นที่เพื่อจัดทำสวน 15 นาทีให้ครบทั้ง 10 แห่ง ตามนโยบายของผู้ว่าฯกทม. โดยออกแบบพื้นที่ใช้สอยภายในสวนให้ตรงกับความต้องการของประชาชนที่เข้ามาใช้บริการ

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : กทม.จ่อยุบแผงค้า ‘สี่แยกบ้านแขก’ รีโนเวตฟุตปาธ – จัดระเบียบ ‘ตลาดเดินเล่น’ หลายย่าน

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.matichon.co.th

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น