โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

บุกรุก-ทำลายทรัพย์สินทางราชการ และทำร้ายผู้อื่น โดนโทษอะไรบ้าง?

Campus Star

เผยแพร่ 24 ก.พ. 2562 เวลา 15.32 น.
บุกรุก-ทำลายทรัพย์สินทางราชการ และทำร้ายผู้อื่น โดนโทษอะไรบ้าง?
บุกรุก-ทำลายทรัพย์สินทางราชการ และทำร้ายผู้อื่น โดนโทษอะไรบ้าง? โดยการกระทำผิดดังกล่าวส่อผิดกฎหมายหลายอัตราด้วยกัน มีรายละเอียดดังนี้

จากกรณีที่มีกลุ่มวัยรุ่นบุกเข้าทำร้ายครูและนักเรียนที่เดินทางมาสอบGAT/PAT (PAT2 และ PAT5) ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 ณ สนามสอบโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ล่าสุด!! กลุ่มวัยรุ่นได้เข้าพบตำรวจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อรับทราบข้อกล่าวหา (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : คลิกที่นี่)

กฎหมายน่ารู้ บุกรุก-ทำลายทรัพย์สินทางราชการ และทำร้ายผู้อื่น

ในเบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ลงพื้นที่ เพื่อทำการสอบปากคำผู้ที่เกี่ยวข้องและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ แล้ว โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งดำเนินคดีกับกลุ่มวัยรุ่นใน 3 ข้อหาหลัก ดังนี้

1. ความผิดฐานบุกรุกสถานที่ราชการ
2. ทำร้ายร่างกาย​ผู้อื่น
3. ทำลายทรัพย์สินทางราชการ

การกระทำผิดดังกล่าวส่อผิดกฎหมายหลายอัตราด้วยกัน มีรายละเอียดน่ารู้ ดังต่อไปนี้

การกระทำอนาจารแก่บุคคลอื่น

มาตรา ๒๗๘ ผู้ใดกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปีโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยบุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุอันตราย

มาตรา ๒๙๕ ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทำให้เสียหาย ทำให้เสื่อมค่า

มาตรา ๓๕๘ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

บุกรุกอาคาร/สถานที่ ของผู้อื่น

มาตรา ๓๖๔ ผู้ใดโดยไม่มีเหตุอันสมควรเข้าไป หรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถาน อาคารเก็บรักษาทรัพย์หรือสำนักงานในความครอบครองของผู้อื่น หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้น เมื่อผู้มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ดื่มสุราในวัด ก็ผิดกฏหมาย…

นอกจากนี้ หากใครดื่มสุราของมึนเมาภายในวัดก็ผิดกฎหมายเช่นกัน ตาม พ.ร.บ ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปี 2551 มีรายละเอียดดังนี้

มาตรา ๓๑ ห้ามมิให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณ ดังต่อไปนี้

(๑) วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา เว้นแต่เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา
(๒) สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล
(๓) สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี
(๔) สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี หรือสถานศึกษาที่สอนการผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
(๕) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง หรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
(๖) สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป
(๗) สถานที่อื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ”

มาตรา ๔๒ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๑ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับเนื้อหาข่าว

อ้างอิงข้อมูลจาก : news.mthai.com, ทวิตเตอร์ @Lawyer_R14

เนื้อหาข่าวเพิ่มเติม : สนามสอบ GAT PAT วุ่น! กลุ่มชายไล่ทำร้ายนร.-ครู หลังให้งดใช้เสียงในงานบวช

บทความที่น่าสนใจ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0