โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

นั่งเฉยๆ อยู่ในเครื่องบิน อาจอันตรายยิ่งกว่าอยู่ใกล้แผงนิวเคลียร์

LINE TODAY

เผยแพร่ 03 ม.ค. 2561 เวลา 05.34 น. • mint.nisara

ทั้งแรงกดอากาศ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในห้องโดยสาร และการบินข้ามไทม์โซน แน่นอนว่าการขึ้นเครื่องบินแต่ละครั้ง นั่งไฟลท์ยาวๆ ก็ทำให้เรารู้สึกเหนื่อยและหมดพลังไปได้แล้ว ยิ่งคนที่ต้องเดินทางถี่ๆ ปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้ก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายของเราในระยะยาวได้ แต่รู้หรือไม่ว่าอันตรายจากเครื่องบินมีมากกว่านั้น!

ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์จากองค์การ NASA บอกว่าการโดยสารเครื่องบินนั้นส่งผลอันตรายยิ่งกว่าการนั่งอยู่ใกล้ๆ กับแผงนิวเคลียร์เสียอีก อ้างอิงจากเว็บไซต์ New York Post “เวลาที่เครื่องบินๆ อยู่ในอากาศ นั่นคือช่วงเวลาที่เราจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และนั่นหมายถึงความเสี่ยงที่ร่างกายของเราจะได้รับรังสีคอสมิก คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูง และสารกัมมันตภาพรังสีก็มีมากยิ่งขึ้นเช่นกัน” จากหลักวิทยาศาสตร์แล้ว ยิ่งสูงจากพื้นโลกมากขึ้นเท่าไร ชั้นบรรยากาศจะมีความเบาบางมากขึ้นเท่านั้น ถ้าเปรียบเทียบด้วยปริมาณของแก๊ซที่ลอยอยู่ในอากาศด้วยพื้นที่ขนาดเดียวกันแล้ว บนความสูง 35,000 ฟุตที่เครื่องบินส่วนใหญ่มักใช้สัญจร จะมีโมเลกุลของพวกแก๊ซต่างๆ น้อยกว่า และเหตุนี้ทำให้รังสีจากดวงอาทิตย์สามารถฉายทะลุลงมาได้อย่างง่ายดายโดยที่ตัวโครงสร้างของเครื่องบินก็ไม่สามารถป้องกันรังสีเหล่านี้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 

หากเทียบกับพนักงานในโรงงานนิวเคลียร์และนักบินอวกาศ กลุ่มคนที่ถูกจัดอยู่ในประเภทเสี่ยงต่อการได้รับกัมมัตภาพรังสีในระดับที่มากกว่าก็คือนักธุรกิจที่ต้องเดินทางข้ามประเทศบ่อยๆ และที่มากไปกว่านั้นคือพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บทความจาก Business Insider บอกว่าในโรงงานไฟฟ้าที่ใช้นิวเคลียร์ส่วนใหญ่ มีมาตรการที่เคร่งครัดมากขึ้นและเปลี่ยนจากคนเป็นการใช้หุ่นยนต์ในการทำงาน ส่วนองค์การ NASA มีการจัดการและควบคุมเรื่องนี้ โดยออกกฎไม่ให้นักบินอวกาศใช้เวลาอยู่นอกโลกเกินกว่า 1 ปี แต่สำหรับอาชีพแอร์โฮสเตสยังไม่มีการตั้งลิมิต ซึ่งถ้าเปรียบเทียบด้วยหน่วยวัดปริมาณรังสีสมมูลหรือมิลลิซีเวิร์ตแล้ว กลุ่มลูกเรือจะได้รับรังสีมากกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า

ผลที่ตามมาอาจจะไม่ได้แสดงในระยะเวลาสั้นๆ แต่ความเสี่ยงนี้อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่การก่อตัวของมะเร็งได้ในอนาคต วิธีการหลีกเลี่ยงอาจจะเป็นไปได้ยากสำหรับคนที่จำเป็นต้องเดินทาง แต่หากเป็นไปได้ลองเลือกเที่ยวบินช่วงกลางคืนและงดการโดยสารเครื่องบินช่วงระหว่างตั้งครรภ์ 

อ้างอิง

https://nypost.com/2017/12/28/flying-in-a-plane-is-like-standing-next-to-a-nuclear-reactor-but-worse

https://theconversation.com/air-travel-exposes-you-to-radiation-how-much-health-risk-comes-with-it-78790

http://uk.businessinsider.com/flying-airplane-cancer-radiation-risk-2017-12?r=US&IR=T

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 15

  • จตุรภุช (Yong)
    วิจัย ให้ได้ข้อสรุป อีกนะ ไอ้หนู ว่าจะเอาเท่าไร่เกิน ลิมิต อาชีพ แอร์ นี้มีมานาน จำนวนตัวอย่างมากพอ เอาย่อๆ คนกลัวพอดี
    03 ม.ค. 2561 เวลา 08.28 น.
  • Tarurotte
    35,000 feet มั๊ง ก็สูงกว่าพื้นประมาณ 10 กิโลเมตร (1 foot = 30.48 cm) ซึ่งก็อยู่ประมาณ stratosphere ชั้นเมฆสูง
    03 ม.ค. 2561 เวลา 12.05 น.
  • KONGKITPILOT
    บินสูงกว่าสถานีอวกาศ?
    03 ม.ค. 2561 เวลา 10.26 น.
  • Thanakit Sports99
    เอามาจากไหน35,000ไมล์ บ้ารึเปล่า ข่าวเขาก็เขียนตัวใหญ่อยู่ว่า **ฟุต** สงสัยตาเข๋นะเธอ
    03 ม.ค. 2561 เวลา 22.18 น.
  • pui pui
    นักบินน่าจะไปก่อนเพราะนั่งหน้ารับรังสีเต็มๆ แอร์ยังเดินหลบแสงบ้าง
    04 ม.ค. 2561 เวลา 12.40 น.
ดูทั้งหมด