โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

‘ความโสด’ ที่ไม่ธรรมดา และไม่ได้มาเล่นๆ (ตอน 1) - newness

LINE TODAY SHOWCASE

เผยแพร่ 22 มี.ค. 2565 เวลา 14.37 น. • newness

"ทำไมยังโสด" คำถามนี้เราอาจจะเคยถามตัวเอง

ถามเพื่อน ถามคนรอบตัว แต่ที่หนักหนาที่สุด คือเมื่อเราถูกถามซะเอง

อาจจะดูเป็นคำถามที่ เหมือนจะตอบง่าย แต่ทำไมต้องคิดนาน

บางทีอาจมีอาการเจ็บแปล๊บทางช่องอกค่อนมาทางซ้าย (หรือทางขวาสำหรับบางคน) ร่วมด้วย

ความโสดไม่ใช่เรื่องพื้นๆ อีกต่อไป ไม่ใช่ปัญหาแค่เฉพาะตัวเรา (เมื่อถูกถาม)

หรือของแม่เรา ญาติเรา (เมื่อกี่ปีๆ ผ่านไป เราก็ฉายเดี่ยวทุกเทศกาล)

ความโสดของผู้คน กำลังจะกลายเป็นปัญหาสำคัญระดับโลกในอีกไม่กี่ปีนับจากนี้

และขณะนี้เป็นปัญหาสำคัญในหลายๆ ประเทศ รวมถึงประเทศเราด้วย

เพราะเมื่อโสด อัตราการเกิดต่ำ ประชากรวัยทำงานถดถอย วัยชรามาแทนที่

ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคม ขยายวงออกไป และเราจะหยุดประเด็นนี้ไว้แต่เพียงเท่านี้

  มาวิเคราะห์ความโสดกันต่อดีกว่า

เรื่องความโสด ก็เหมือนเรื่องลึกลับอีกหลายๆ เรื่อง เหมือนคดีที่ยังปิดไม่ลง

เหมือนขอบเขตของจักรวาลที่จินตนาการไม่ถึง

งานวิจัยด้าน ความโสด ก็ยังมีอยู่น้อย ส่วนใหญ่มักเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์

การพัฒนาความสัมพันธ์ หรือคนที่มีคู่กันอยู่แล้วนั่นเอง

เพื่อที่จะให้เราได้พอมีเส้นทางเดินไปสู่ความสว่างท่ามกลางความมืดมน

มีงานวิจัยที่ได้เชื่อมโยงความโสด และ รูปแบบความผูกพัน (attachment style) ไว้

และได้นำเสนอแนวคิด 3 หนทางไปสู่ความโสดจากการวิจัยนี้

ก่อนไปค้นหาที่มาของความโสด มารู้จักคำ "รูปแบบความผูกพัน" กันก่อน

รูปแบบความผูกพันเป็นระบบประสาทที่มีมาตั้งแต่กำเนิด ซึ่งจะขับเคลื่อนความต้องการ

ที่จะแสดงความเป็นเจ้าของและความแนบชิดสนิทสนม โดยถือเป็นเรื่องธรรมดาที่จะพบได้ในมนุษย์ทั่วไป และในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนใหญ่

รูปแบบความผูกพัน มี 4 รูปแบบ

• รูปแบบมั่นคง (Secure Attachment Style) : มีความฉลาดทางอารมณ์ แสดงออกถึงความใกล้ชิด

สนิทสนมได้ หากต้องการรักษาระยะห่างก็สามารถทำได้อย่างดี อยู่คนเดียวก็เป็นสุข อยู่กับคนอื่นก็สนุกดี

มองความสัมพันธ์กับผู้คนรอบตัวในแง่ดี แก้ไขปัญหาในความสัมพันธ์ได้อย่างสันติ และเมื่อต้องจบ

ความสัมพันธ์ลง ก็สามารถยอมรับความเสียใจ เรียนรู้ และก้าวต่อไปได้

• รูปแบบวิตกกังวล-หมกมุ่น (Anxious-Preoccupied Attachment Style) :

ไม่แน่ใจและวิตกเมื่อมีความสัมพันธ์ ทั้งจากความเป็นจริงและที่จินตนาการขึ้น ซึ่งแสดงออกเป็นความหึงหวง

ความเป็นเจ้าของ บงการ มีอารมณ์แปรปรวน หรืออ่อนไหวมากเกินไป มองโลกในแง่ร้าย เรียกร้องการแสดงความรัก

เพื่อพิสูจน์คุณค่าในตัวเอง ชอบสร้างเรื่องเพื่อให้มีประเด็นในความสัมพันธ์ ไม่ชอบการอยู่คนเดียว

• รูปแบบหมางเมิน-หลีกเลี่ยง (Dismissive-Avoidant Attachment Style) : เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง

หลีกเลี่ยงความสนิทสนมใกล้ชิดเพราะจะทำให้อ่อนแอ ต้องการอิสรภาพทางกายและอารมณ์ ความรักเป็น

เรื่องท้ายๆ ของลำดับความสำคัญในชีวิต ชอบที่จะโสดแต่ถึงแม้จะมีความสัมพันธ์ที่จริงจังได้ ก็จะยังเอาตัวเอง

เป็นที่ตั้งอยู่ดี อาจจะดูมีคนล้อมรอบเยอะ แต่ที่สนิทกันจริงๆ มีไม่กี่คน บางคนอาจเป็นพวกไม่แสดงอารมณ์แง่ลบ

ออกมาโดยตรง และ/หรืออาจเป็นพวกหลงตัวเองด้วยก็ได้ (ตามไปอ่านบางส่วนของบุคลิกภาพแบบหลงตัวเองได้ที่

https://today.line.me/th/v2/article/wJrK5ga?liff.referrer=https%3A%2F%2Ftodayshowcase.line.me%2F)

• รูปแบบหวาดกลัว-หลีกเลี่ยง (Fearful-Avoidant Attachment Style) : กล้าๆ กลัวๆ ที่จะมีความสัมพันธ์

มักอยู่กับความเชื่อมั่นและพึ่งพาคนอื่น กลัวการอยู่ในความรักทั้งทางกายและอารมณ์ รวมถึงสถานการณ์

ที่จะนำไปสู่ความใกล้ชิดสนิทแนบ มองโลกแง่ร้าย มีคนสนิทในชีวิตจำกัดเพราะผลักไสผู้อื่นออกไป

 ตอนต่อไป เราจะมาดูกันว่า รูปแบบของความผูกพันเหล่านี้ มีผลต่อความรัก ความสัมพันธ์ได้อย่างไร

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0