โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ชาวไร่อ้อยเฮ! ดีพร้อมนำทีมผลักดันงานวิจัยสมาร์ทฟาร์มสู่ไร่อ้อย ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต อัปเกรดเกษตรอุตฯ

สยามรัฐ

อัพเดต 24 มิ.ย. 2565 เวลา 04.47 น. • เผยแพร่ 24 มิ.ย. 2565 เวลา 04.47 น.
ชาวไร่อ้อยเฮ! ดีพร้อมนำทีมผลักดันงานวิจัยสมาร์ทฟาร์มสู่ไร่อ้อย ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต อัปเกรดเกษตรอุตฯ

ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และในฐานะประธาน Spearhead ด้านเศรษฐกิจ ในประเด็นแผนงานวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และแผนงานระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะ นำทีมกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ผนึกกำลังทีมนักวิจัยไทยแก้ปัญหาชาวไร่อ้อย ผ่านแพลตฟอร์มบริการ FPS (Field Practice Solutions) ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตให้กับชาวไร่อ้อยและกลุ่มอุตสาหกรรมไร่อ้อย เพื่อลดปัญหาคุณภาพของอ้อยต่ำกว่าเกณฑ์และ
มีความหวานไม่คงที่ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่อตันน้ำตาลสูงขึ้น ซึ่งสามารถลดต้นทุนการผลิตน้ำตาล หรือพลังงานชีวมวลจากการใช้งานระบบได้มากกว่าร้อยละ 20 คิดเป็น ประมาณ 50 ล้านบาทต่อปีต่อโรงงาน

ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหมได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธาน Spearhead ด้านเศรษฐกิจ ในประเด็นแผนงานวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และแผนงานระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะ รวมถึงนโยบายของ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ได้สั่งการให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลที่เป็นกลไกหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงปัจจุบันพบว่าชาวไร่อ้อยกำลังเผชิญกับปัญหาไม่สามารถควบคุมคุณภาพรวมถึงปริมาณการเก็บเกี่ยวได้ ประกอบกับปัญหาคุณภาพของอ้อยต่ำกว่าเกณฑ์และมีความหวานไม่คงที่ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่อตันน้ำตาลสูงขึ้น ซึ่งทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลลดลง

โดยการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามามีบทบาท ในการพัฒนาการเกษตรของไทยให้เป็น Smart Farmer รวมถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อใช้ในการกำหนดรูปแบบแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่ม (value added) ให้แก่ผลผลิตการเกษตร โดยการนำใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาช่วยแก้ปัญหาการทำเกษตรอย่างถูกต้อง ตลอดจนการจัดการแบบเกษตรแม่นยำ ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนทั้งในด้านวัตถุดิบและเวลาให้กับชาวไร่อ้อยได้นั้น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) จึงได้นำนโยบาย DIPROM CARE มาประยุกต์ใช้ผ่านการพัฒนา และวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมมาเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนทั้งในด้านวัตถุดิบและเวลาให้กับภาคการเกษตร รวมถึงการบูรณาการระหว่างพันธมิตรภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คนไทยสามารถวิจัยแพลตฟอร์มบริการ FPS (Field Practice Solutions) ได้สำเร็จ อาทิ ระบบประมวลผลเพื่อสร้างแผนที่ผลผลิตและแผนที่การระบาดของโรคพืชจากภาพถ่ายทางอากาศ ระบบประมวลผลเพื่อสร้างฐานข้อมูลในระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) จากแผนที่ผลผลิต ระบบผสมสารและบรรจุลงถังบรรจุอัตโนมัติสำหรับโดรน ระบบฉีดพ่นสาร แบบแปรผันอัตโนมัติติดตั้งบนโดรนชุด Mobile-KIT และ Mobile Application สำหรับระบุพิกัดแปลงและติดตามกิจกรรมในแปลง และระบบ AI สำหรับเสนอแนะแผนการทำงาน บันทึกและแสดงผลการทำงานของเครื่องจักรเกษตร และแนะนำการให้ปุ๋ยแบบแม่นยำสูงรายแปลงอัตโนมัติซึ่งระบบจะช่วยเรื่องการตัดสินใจในงานบำรุงรักษา เก็บเกี่ยว และเชื่อมโยงกับระบบตรวจวัด

ขณะเดียวกันยังรวมทั้งมีระบบที่จะสามารถรองรับคำสั่งเพื่อให้เกิดการปรับการปฏิบัติงานในฟาร์มไปตามแผนงานใหม่ ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการออกแบบแปลงการปลูก การบำรุงรักษาและอารักขาพืช การเก็บเกี่ยวและการขนส่ง และสามารถปรับรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้บริการแต่ละราย หรือพืชแต่ละชนิด ซึ่งช่วยลดการสูญเสียในด้านคุณภาพของผลผลิต ลดเวลารอคอยที่ไม่เกิดงานและเพิ่มความสามารถของเครื่องจักรได้ เช่น กรณีของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย จะช่วยให้สามารถลดต้นทุนการผลิตน้ำตาลหรือพลังงานชีวมวลได้มากกว่าร้อยละ 20 คิดเป็น ประมาณ 50 ล้านบาทต่อปีต่อโรงงาน ซึ่งสามารถกำหนดตารางการเก็บเกี่ยวอ้อยขณะที่อ้อยแต่ละแปลงมีน้ำหนักและความหวานสูงสุด สามารถใช้งานเครื่องจักรเก็บเกี่ยวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้สามารถลดจำนวนเครื่องจักรและลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง และจัดการให้มีวัตถุดิบอ้อยเข้าโรงงานที่มีคุณภาพและมีปริมาณเต็มศักยภาพการผลิตของโรงงานในแต่ละวัน ลดการเสื่อมสภาพของวัตถุดิบ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อย รวมทั้งสามารถลดจำนวนวันที่เปิดหีบ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำตาลต่อตันได้

รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ รองผู้อำนวยการด้านบริหารงานวิจัย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กล่าวว่า โครงการนี้นับเป็นตัวอย่างความสำเร็จจากความร่วมมือของคณะวิจัยจากสถาบันการศึกษาและบริษัทเอกชนในการต่อยอดงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่ง ภายใต้แผนงาน Spearhead ด้านเศรษฐกิจ โดยมี สวทช.เป็นหน่วยงานบริหารจัดการและส่งมอบผลลัพธ์ หรือ ODU ช่วยกำกับดูแล และสามารถผลักดันผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริงต่อภาคเกษตรอุตสาหกรรมของไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้นำการส่งออกระดับโลก การทำงานในพื้นที่เพาะปลูกด้วยเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำ และการบริหารจัดการไร่อ้อยแบบอัตโนมัติด้วยระบบแนะนำแผนการทำงานเพื่อการตัดสินใจ ผ่านแพลตฟอร์มบริการ FPS (Field Practice Solutions) ของโครงการ จะช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลิตภาพให้กับกลุ่มเกษตรกรพืชไร่ และเพิ่มระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับกลุ่มโรงงานแปรรูปในห่วงโซ่อุปทานด้านอุตสาหกรรมเกษตรด้วยเทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่โครงการได้พัฒนาขึ้น”

รศ.ดร.ขวัญตรี แสงประชาธนารักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กล่าวว่า “เกษตรกรที่ปลูกอ้อยนั้นทราบถึงปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตและอยากลดรายจ่ายส่วนนี้ แต่ปัญหาคือที่ผ่านมายังไม่มีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใดๆที่เข้ามาช่วยเกษตรกรประเมินความเสี่ยงในการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตในไร่อ้อยได้อย่างแม่นยำ ตนเองจึงได้ทำการวิจัยและพัฒนาร่วมกับภาคเอกชนเพื่อพัฒนาระบบวิเคราะห์และแปลผลภาพถ่ายทางอากาศที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน เพื่อนำข้อมูลที่จำเป็นไปสู่ขั้นตอนของการวิเคราะห์ และวางแผนการผลิต เพื่อลดความเสี่ยงในการจัดการไร่อ้อยของเกษตรกรหรือผู้ประกอบการ” ทางทีมวิจัยจึงร่วมมือกับบริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัดที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบ Artificial Intelligence (AI) และ บริษัท โกลบอล ครอปส์ จำกัด โดยการนำโดรนมาใช้ในการสำรวจ เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาให้ตรงจุด ตามหลักการ “เกษตรแม่นยำ (Precision Agriculture)”

ดร.มหิศร ว่องผาติ บริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัด กล่าวว่า จากผลสำเร็จดังกล่าวส่งผลให้มีการขยายผลไปสู่เชิงพาณิชย์บ้างแล้ว โดยในปัจจุบันมีโรงงานน้ำตาลหลายแห่งสนใจจะจ่ายค่า Service ให้ทีมไปทดลองทำตั้งแต่ปีแรกของโครงการ ส่วนในปีที่สองจะเน้นไปที่การควบคุมต้นทุนในการผลิตและการจัดการแปลง เช่น การให้ปุ๋ยหรือยาที่เหมาะสม ซึ่งเป็นการจัดการเฉพาะจุด ส่วนปีสุดท้ายจะเป็นการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ให้เกิดเป็นข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจวางแผนระยะยาว รวมถึงให้ข้อมูลว่าแต่ละวิธีหรือแต่ละทางออก มีต้นทุน มีความเสี่ยงเท่าไหร่ เพื่อให้เกษตรกรหรือโรงงานตัดสินใจต่อไป

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น