โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เรื่องผักๆ ที่คุณอาจเข้าใจผิด

WWF-Thailand

เผยแพร่ 13 พ.ย. 2561 เวลา 17.00 น.

พืชคือสิ่งที่ธรรมชาติสร้างมาให้เติบโตในดิน เราอยากให้คนกินและคนผลิตได้ฉุกคิดซักนิดจะได้เลือกกินได้ถูกใจ ปลอดภัยกับเราและโลก 

#ผักไฮโดรโปนิกส์ 

คือผักที่ปลูกโดยไม่ใช้ดินคือผักที่ปลูกในน้ำคือผักที่คนนิยมปลูกกันมากเพราะใช้พื้นที่น้อย คือผักที่คนเข้าใจผิดคิดว่าได้ผลผลิตที่ปลอดภัย เพราะการปลูกพืชในน้ำและในสภาพแวดล้อมที่ปิด เป็นการฝืนธรรมชาติของพืช ทำให้ขาดแร่ธาตุที่ควรได้รับจากการปลูกในดิน และอาจมีการให้สารอาหารพืชสังเคราะห์ทั้งที่เป็นเคมีหรืออินทรีย์สังเคราะห์ ใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงเพื่อเร่งผลผลิต ที่อาจก่อให้เกิดปริมาณสารไนเตรทที่เป็นอันตรายต่อร่างกายเมื่อได้บริโภคเข้าไปการหมุนเวียนระบบน้ำหลังจากการปลูกอาจมีสารเคมีตกค้างและปล่อยสู่แหล่งน้ำต่อไป

#ผักปลอดสาร 

แท้จริงแล้วควรหมายถึงผลผลิตจากระบบเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมี หรือไม่มีสารพิษปนเปื้อนหรือพบสารพิษปนเปื้อนในปริมาณที่ไม่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค…แต่ความเป็นจริงในกระบวนการปลูกอาจมีบางเรื่องที่ถูกมองข้าม อาจมีการใช้เมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs)อาจไม่มีการป้องกันสารปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้น ทั้งจากลม น้ำ ที่พัดเอาสารเคมีจากแปลงที่ไม่ได้รับการดูแลเข้ามาเจือปน หรือแม้กระทั่งขั้นตอนจากการขนย้ายอาจไม่ได้ใช้ยาฆ่าแมลงเคมี แต่ใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อสร้างผลผลิต ซึ่งนับว่าเป็นสารพิษชนิดหนึ่ง 

#ผักออร์แกนิก 

ผลผลิตจากระบบเกษตรอินทรีย์มีมาตรฐานการรับรองที่เชื่อถือได้ว่าปลอดภัยตลอดกระบวนการจนถึงมือผู้บริโภค พืชต้องเติบโตธรรมชาติไม่ผ่านการสังเคราะห์ในทุกขั้นตอน ช่วยลดต้นทุนในการผลิตของผู้ผลิต ช่วยให้สุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภคดีขึ้นแหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ต้องไม่มีการตัดแต่งพันธุกรรม ใช้เมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่และมีความหลากหลายของพืชพรรณปัจจัยที่ใช้เร่งการเจริญเติบโตต้องไร้สารเคมี สารสังเคราะห์ที่ปนเปื้อนทุกชนิด ต้องคำนึงถึงระบบนิเวศตลอดการจัดการดูแล จดบันทึก เก็บเกี่ยว คัดแยก ทำความสะอาด เก็บรักษา บรรจุภาชนะ และการขนส่ง ต้องเอาใจใส่ทั้งกระบวนการ ดูแลทั้งคน สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อม

Eat Better โครงการจาก WWF Thailand ที่อยากชวนให้คนศึกษาข้อมูลทั้งก่อนการกินและก่อนจะเป็นผู้ผลิต ช่วยกันปรับความเข้าใจทั้งถูกและผิดที่อาจคลาดเคลื่อน

สามารถติดตามเพจ Eat Better ได้ที่: https://www.facebook.com/kindeekwa/

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น