โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ผลสำรวจเผย “คนกรุงเทพฯ” โดนขโมยความสุข! คุ้มใช่มั้ยการใช้ชีวิตในเมืองหลวง!

Another View

เผยแพร่ 29 มี.ค. 2562 เวลา 01.00 น.

ผลสำรวจเผย “คนกรุงเทพฯโดนขโมยความสุข! คุ้มใช่มั้ยการใช้ชีวิตในเมืองหลวง!

จากปัญหารถติดสะสม, ฝุ่น pm 2.5 เรื่อยมาจนถึงปัญหาค่าครองชีพที่แพงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคอาเซียน ทำให้ชาวออฟฟิศหลาย ๆ คนที่ต้องจากบ้านต่างจังหวัดเข้ามาทำงานในเมืองหลวงเริ่มถามตัวเองแล้วว่า เรามาทำอะไรกันอยู่ที่นี่?”

แม้ว่า “กรุงเทพฯ” จะได้รับการโหวตจากนักท่องเที่ยวให้เป็นเมืองน่าเที่ยวที่สุดในโลก 2 ปีซ้อน แต่หากประเมินกรุงเทพฯ ในแง่มุมของการเป็นเมืองที่จะอยู่อาศัยและใช้ชีวิต กลับรั้งท้ายเป็นอันดับที่ 169 จาก 177 เมืองดัชนีคุณภาพชีวิตที่ดีของโลก หรือพูดกันง่าย ๆ คือ กรุงเทพฯเป็นเมืองน่าเที่ยวแต่ไม่น่าอยู่

เหตุผลสำคัญที่ทำให้หลาย ๆ คนต้องตัดสินใจเลือกออฟฟิศในกรุงเทพฯ มากกว่าการกลับไปทำงานในต่างจังหวัด ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องความเติบโตของตลาดงานที่มีมากกว่า โดยเฉพาะในบางสาขาอาชีพซึ่งตลาดงานต่างจังหวัดไม่ได้มีรองรับ และที่สำคัญคือ เรื่อง ฐานเงินเดือน

แม้ว่าเงินเดือนที่ได้จากออฟฟิศในกรุงเทพจะแพงกว่าในต่างจังหวัด แต่นั่นอาจจะเป็นเพียงตัวเลขหลอก ๆ เพราะตัวเลขที่แท้จริง คือ เงินคงเหลือซึ่งหักค่าใช้จ่ายและครองชีพออกไปแล้วต่างหาก! เมื่อเทียบกันแล้วสัดส่วนของรายได้ที่มากขึ้น กลับน้อยกว่า สัดส่วนของรายจ่ายที่มากกว่าเป็นเท่าตัว

ปัจจุบันรายได้เฉลี่ยของมนุษย์เงินเดือนกรุงเทพฯ อยู่ที่ 24,000 บาท/เดือน ส่วนรายจ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 21,000 บาท/เดือน (ไม่รวมค่าเช่าที่พักอาศัย) สำหรับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดของคนกรุงเทพฯ ในปี 2562 นี้ คือ ค่าอาหารในร้านอาหาร รองลงมาคือค่าเช่าที่พักอาศัย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้!

นอกจากเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ แล้ว เรื่อง คุณภาพชีวิต และ สุขภาพจิต ก็อาจไม่คุ้มที่จะเอามาเสี่ยงอยู่ในเมืองใหญ่ ต้องยอมรับว่าคนกรุงฯ มีคุณภาพชีวิตห่างจากเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) อยู่มาก กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวต่อสัดส่วนประชากรเพียง 6.18 ตรม./คน เท่านั้น ในขณะที่ WHO กำหนดไว้คือ 9 ตร.ม./คน ซึ่งพื้นที่สีเขียวนั้น ถือเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในเมือง

อีกทั้งในปี 2561 ที่ผ่านมานี้ กรมสุขภาพจิตเปิดเผยว่าสุขภาพใจคนวัยทำงานในกทม.ร้อยละ45 ถูกความเครียดขโมยความสุขซึ่งสาเหตุที่ทำให้เครียด อันดับ 1 คือ ปัญหาการเงิน รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย และยังพบว่ามีความเครียดมาจากการเสพข่าวมากเกินไปและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้วย

ในยุคนี้ มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ อาจจะต้องวางแผนให้รอบด้านมากขึ้น ตัวเลขเงินเดือนเพียงอย่างเดียว คงไม่เพียงพอที่จะใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกที่ทำงานอีกต่อไป แต่ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและสภาพแวดล้อมรอบตัวเราต่างหาก ที่เราจะต้องทบทวนกันหนัก ๆ 

ที่สำคัญ..เราคงต้องตอบตัวเองให้ได้ ว่าที่ใช้ชีวิตกันอยู่..คุ้มค่าแค่ไหน? ในเมืองใหญ่แห่งนี้!

 

แหล่งข้อมูล

https://www.pptvhd36.com/news

http://www.bltbangkok.com

ภาพประกอบ

https://www.thairath.co.th/content/1471581

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0