โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ย้อนแย้งหรือไม่? รัฐหนุนรถยนต์ไฟฟ้า-หวังลดมลพิษ-แต่คิดภาษีโหด

Beartai.com

อัพเดต 29 มิ.ย. 2562 เวลา 03.21 น. • เผยแพร่ 29 มิ.ย. 2562 เวลา 03.21 น.
ย้อนแย้งหรือไม่? รัฐหนุนรถยนต์ไฟฟ้า-หวังลดมลพิษ-แต่คิดภาษีโหด
ย้อนแย้งหรือไม่? รัฐหนุนรถยนต์ไฟฟ้า-หวังลดมลพิษ-แต่คิดภาษีโหด

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) ได้ทำการเปิดตัว “NEW MG ZS EV” รถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% รุ่นแรกของเอ็มจี เพื่อตอบรับกระแสความต้องการของผู้บริโภคที่กำลังมองหารถยนต์พลังงานสะอาด และเป็นที่ฮือฮายิ่งขึ้นไปอีกกับราคาเปิดตัวที่ 1,190,000 บาท ซึ่งถือว่าถูกที่สุดในตลาดตอนนี้ เรียกว่าตั้งใจมาท้าชนกับ นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) ที่ได้ทำการเปิดตัว “The All New Nissan Leaf” ไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ในราคา 1,990,000 บาท และจะทำการส่งมอบภายในปีนี้

NEW MG ZS EV

หลายคำถามเกิดขึ้นหลังการเปิดตัวของรถยนต์ไฟฟ้าทั้ง 2 ค่าย แต่ประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือ ‘ราคา’ หลายคนสงสัยว่าทำไมถึงแพงขนาดนี้? รัฐบาลไม่สนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าหรือ?

เพื่อที่จะตอบคำถามเหล่านั้น เราอาจจะต้องลงมาดูในรายละเอียดของราคารถยนต์ไฟฟ้าทั้ง 2 ค่ายกันสักนิด ก่อนจะบอกได้เต็มปากเต็มคำว่าราคาที่เปิดตัวมานั้นแพงหรือไม่

 

ข้อมูลจากตารางด้านบนสะท้อนให้เห็นว่า ราคารถยนต์ไฟฟ้าของทั้งเอ็มจีและนิสสันนั้น คือราคาที่มีการบวกภาษี 4 ประเภทด้วยกัน คือ 

  • ภาษีศุลกากรขาเข้า
  • ภาษีสรรพสามิต
  • ภาษีเพื่อมหาดไทย
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม

จุดที่ทำให้ทั้ง 2 ค่ายแตกต่างกันคือ อัตราภาษีศุลกากรขาเข้าที่ปกตินั้นต้องเสียในอัตรา 80% สำหรับรถยนต์ที่นำเข้าจากต่างประเทศทั้งคัน ซึ่งทางเอ็มจีนั้นอยู่ในเขตการค้าเสรีไทย-จีน (Free Trade Area : FTA) จึงได้อัตราภาษีศุลกากรขาเข้าอยู่ที่ 0% ส่วนทางนิสสันอยู่ในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย – ญี่ปุ่น (Japan – Thailand Economic Partnership Agreement: JTEPA) จึงได้อัตราภาษีศุลกากรขาเข้าอยู่ที่ 20%

จากข้อมูลดังกล่าวจึงเริ่มเห็นข้อแตกต่างว่า ทำไมเอ็มจีจึงสามารถเปิดตัวได้ในราคาที่ต่ำกว่านิสสัน ซึ่งทางนิสสันเองก็รับทราบในจุดนี้ จึงพยายามลดทอนเทคโนโลยีและฟังก์ชันที่ไม่จำเป็นออก เพื่อปรับสมดุลราคาไม่ให้แพงจนเกินไป

The All New Nissan Leaf

ตั้งภาษีสูงขนาดนี้ รัฐบาลไม่สนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าหรือ?

รัฐบาลเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจในเรื่องนี้ เพราะได้มีการอนุมัติให้ผู้ประกอบการเข้ารับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิตจากเดิม 8% เหลือแค่ 2% ด้วยอัตรานี้จึงทำให้ต้นทุนถูกลงมาอีก

เท่านั้นยังไม่พอ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้ปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนลงเหลือ 0% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2565 รวมระยะเวลา 3 ปี เรียกได้ว่าช่วงเวลานี้ถือเป็น Bonus Time ของผู้ประกอบการและผู้บริโภคเลยทีเดียว ใครที่อยากได้รถยนต์ไฟฟ้าก็ขอแนะนำว่าให้รีบซื้อช่วงนี้ เพราะตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2568 รถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจะกลับไปใช้อัตราภาษีสรรพสามิตที่ 2% และรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตหลังปี 2568 ให้ใช้อัตราภาษีสรรพสามิตที่ 8% ตามเดิม

แล้วมันคำนวณยังไงกันล่ะ?

ถ้าเรากำหนดให้รถทุกคัน ราคาต้นทุนอยู่ที่ 1,000,000 บาท เราจะคำนวณอัตราภาษีได้ดังนี้

 

จะเห็นได้ว่าการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าทั้งคันในอัตราภาษีเต็มขั้น ไม่มีลดหย่อน ทำให้ราคาขายของรถนั้นพุ่งสูงถึง 2 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2 เท่าจากราคาต้นทุน!!! ซื้อรถอีกคันได้เลยนะเนี่ย

จากการคำนวณ เราจะเห็นได้ว่าภาษีสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศทั้งคันนั้นมีน้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าทั้งคัน ซึ่งจุดนี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลทำเพื่อจูงใจให้ผู้ผลิตย้ายมาสร้างฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าในไทยและหากเกิดขึ้นจริง ผู้ได้รับผลประโยชน์ย่อมไม่ใช่แค่รัฐบาลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้บริโภคอย่างเรา ที่จะได้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในราคาที่ถูกลงอีกด้วย

ประเทศที่สามารถทำให้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถใช้งานได้อย่างแพร่หลายและมีราคาจับต้องได้คือ จีน สืบเนืองมาจากมลพิษในอากาศที่สูงมากจนอยู่ในภาวะอันตราย รัฐบาลจีนจึงออกนโนบายมาแก้ไขปัญหานี้ ทั้งการปิดโรงงานและโรงไฟฟ้าที่ก่อมลพิษ จำกัดปริมาณรถยนต์ในเมืองใหญ่ สร้างอาคารกรองอากาศขนาดยักษ์ รวมไปถึงการสนับสนุนการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า

ภาพมุมสูงของนครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน

ซึ่งต้องบอกเลยว่า รัฐบาลจีนจัดเต็มจริง ๆ กับรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งผลักดันและส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้แก่สตาร์ทอัป และจูงใจประชาชนให้หันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าด้วยการจ่ายเงินอุดหนุนตั้งแต่ 20,000-44,000 หยวนหรือประมาณ 92,000-200,000 บาทต่อคัน ตบท้ายด้วยสิทธิพิเศษในการขอจดทะเบียนรถยนต์ ที่ปกติแล้วขอได้ยากมาก ๆ อันเป็นผลจากนโยบายจำกัดปริมาณรถยนต์ ยากแค่ไหน? ก็แค่ระดับที่ว่าในปักกิ่งอนุญาตให้จดทะเบียนรถยนต์ได้แค่ 3,000 คันต่อเดือน จากจำนวนผู้ขอทั้งหมด 3 ล้านคนต่อเดือน!!! แต่ใครที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้า รัฐบาลจีนก็การันตีให้จดทะเบียนรถยนต์ได้เลย ไม่ต้องไปนั่งลุ้นให้เมื่อย

ดูจากความสำเร็จของจีนแล้ว คาดว่าไทยน่าจะตามทันได้ จากนโยบายของรัฐบาลที่ออกมาสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าและภาคเอกชนที่ขานรับอย่างดี แต่เมื่อไรที่คนไทยจะได้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าราคาถูกนั้น คงต้องติดตามกันต่อไป

ที่มา 1

ที่มา 2

ที่มา 3

 

แชร์โพสนี้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 36

  • .
    มิน่าถึงแย่งกันเป็นรมต.พลังงาน
    29 มิ.ย. 2562 เวลา 08.03 น.
  • dad
    รถนำเข้าภาษีซ้ำซ้อนในขั้นตอนสุดคือVAT คิดภาษีซ้ำจากราคาบวกภาษีนำเข้าภาษีสรรพสามิตภาษีมหาดไทย มิน่า ต้นทุนซื้อ 100 นำเข้ากลายเป็นต้นทุน 200
    29 มิ.ย. 2562 เวลา 07.33 น.
  • จรศ
    ด้านภาษีก็ว่ากันไป ด้านสลากเบอร์ 5 รถยนต์ไฟฟ้า ยังไม่เห็นออกมาสักคันเลยนะครับ
    29 มิ.ย. 2562 เวลา 08.15 น.
  • kantheedet456
    คงทำเพื่อ ปตท.ละมั้ง
    29 มิ.ย. 2562 เวลา 08.12 น.
  • ʝʊռɢ_աɨռ
    คิดกว้างๆ ปัจจุบันรถน้ำมันสามารถประกอบภายในประเทศ มีการจ้างงาน มีโรงงานประกอบ มีโรงงานผลิตชิ้นส่วน หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจประเทศ หลายแสนล้านบาทต่อปี ขณะที่รถไฟฟ้า เรายังนำเข้าจากต่างชาติ จะเปิดตลาดรถไฟฟ้า ต้องให้โรงงานไทยพร้อมผลิตเองก่อน ไม่งั้น เศรษฐกิจไทย ล้มเป็นโดมิโน่แน่
    29 มิ.ย. 2562 เวลา 10.19 น.
ดูทั้งหมด