โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

Virtual Twin เทคโนโลยีพลิกโฉมอุตสาหกรรมรถยนต์สู่ EV

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 01 มิ.ย. 2565 เวลา 13.09 น. • เผยแพร่ 01 มิ.ย. 2565 เวลา 13.09 น.
digital-twin-technology-post-pandemic (1)

“แดสสอลท์ ซิสเต็มส์” ชี้ไทยมีศักยภาพสูงในการทรานฟอร์มอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์จากสันดาปสู่ “EV” แนะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Virtual Twin พลิกโฉมอุตสาหกรรมยานยนต์

วันที่ 1 มิ.ย. 2565 แดสสอลท์ ซิสเต็มส์ ผู้ให้บริการโซลูชั่น 3DEXPERIENCE เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยและทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายจากปริมาณความต้องการรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่เพิ่มมากขึ้น และปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลในอุตสาหกรรม

นางสาวโจเซฟิน ออง กรรมการผู้จัดการ แดสสอลท์ ซิสเต็มส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใต้ กล่าวว่าความสามารถของเทคโนโลยี Virtual Twin ช่วยยกระดับศักยภาพของผู้ผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยให้สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วทันกับความต้องการใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในตลาดได้ จากเดิมประเทศไทยเป็นผู้นำในเรื่องการผลิตรถยนต์สันดาปในระดับภูมิภาคอยู่แล้วจึงมีทั้งโรงงานผู้เชี่ยวชาญ และทรัพยากรในการผลิตพร้อม

อย่างไรก็ตามการก้าวไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV เป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่ไทยต้องคำนึง 3 สิ่ง คือ

1.การแข่งขัน เพราะผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศอื่น ๆ กำลังเติบโตจากส่วนแบ่งการตลาด EV ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงผู้เล่นที่ไม่ได้เป็นผู้ผลิตรถยนต์แบบดั้งเดิม

2. การเปลี่ยนผ่านของตลาด (Market Transition) ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปแบบห่วงโซ่อุปทาน วัตถุดิบในการผลิต EV และปรับการบริหารเพื่อรองรับวิธีการทำงานใหม่ๆ และจัดการกับความซับซ้อนในการผลิตรถ EV ที่ใช้เทคโนโลยีที่ไม่เคยมีมาก่อน

3. Talent Gap การจัดการแรงงานดิจิทัลที่กำลังขาดแคลน การเพิ่มทักษะ และฝึกทักษะใหม่โดยนการใช้เทคโนโลยีหากต้องการเป็นผู้นำตลาด EV

“คำถามที่ว่ามีโอกาสแค่ไหนที่ไทยหรือภูมิภาคอาเซียนจะเป็นผู้นำตลาด EV ต้องบอกว่าตลาดแข่งขันสูงมาก ธุรกิจนอกวงการ เช่นสตาร์ทอัพ หรือบริษัทใหม่ๆ สามารถออกแบบและพัฒนารถ EV ตอบสนองต่อลูกค้าอย่างยืดหยุ่นไม่มีมาตรฐานตายตัว เป็นอุตสาหกรรมใหม่ เทคโนโลยีใหม่ ดังนั้นโอกาสจึงอยู่ที่ว่าอุตสาหกรรมรถยนต์เก่าจะปรับตัว และนำเทคโนโลยีไปใช้ในกระบวนการผลิตได้รวดเร็วแค่ไหน”

ถามว่า ทำไม Virtual Twin จึงสำคัญต่อกระบวนการผลิตรถยนต์ EV

นายกีโยม เชอ-คฮองโดร์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายพัฒนาอุตสาหกรรมการขนส่งและยานยนต์ Dassault Systèmes แห่งเอเชีย กล่าวว่า อุตสาหกรรม EV เป็นอุตสหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีซับซ้อนจำนวนมาก เมื่อใช้แล้วจะเข้าไปตัดวงจรชีวิตของการผลิตให้เร็วขึ้น การออกแบบรถยนต์ต้องตอบสนองเทรนด์ของผู้บริโภคอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน การผลิตในโรงงานต้องการ Optimal Platform โดยมีหัวใจคือการ Collabarate ทั้งระบบตั้งแต่การออกแบบ

“เราไม่จำเป็นต้องสร้าง Prototype ขึ้นมาให้เสียเวลาเพราะทำใน Virtaul Twin ได้ ดังนั้นกระบวนการผลิตก็มาใช้ Virtual Twin จำลองการผลิตจริงได้ทุกขั้นตอนด้วยเทคโนโลยี 3D Experience จนถึงการทำตลาดก็ทำ Real Time Marketing ได้ทัน เพราะการสื่อสารทั้งหมดเชื่อมต่อกันทำให้การตัดสินใจทุกกระบวนการวางอยู่บนฐานข้อมูลเดียวกัน”

จากกรณีศึกษาของลูกค้าของแดสสอล์ท ซิสเต็มส์ พบว่า เทคโนโลยี Virtual Twin ช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการผลิตและส่งผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด รวมถึงลดค่าใช้จ่ายสำหรับระบบขับเคลื่อนใหม่ ทั้งการออกแบบตัวถังน้ำหนักเบา และแบตเตอรี่สำหรับ EV รวมทั้งเป็นผู้ช่วยสำคัญในการพัฒนาระบบขนส่งอัตโนมัติได้
สำหรับประเทศไทยต้องเริ่มปรับตัว (Adapt) และนำไปใช้ (Adopt) ตั้งแต่เรื่องของ “คน”

“แรงงานเป็นเรื่องที่ต้องจัดการเร็วที่สุด เพราะเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้การผลิตรถยนต์ EV ใช้ Autonomate และการวิเคราะห์ประเมินโดย AI เป็นการทำให้เป็นดิจิทัลทั้งหมด เรื่องคนจึงต้องสร้าง Mind set เรื่องดิจิทัลในองค์กร ในสภาพแวดล้อมที่เป็นดิจิทัล ต้องรีสกิล อัพสกิลแรงงาน เมื่อบุคลากรภายในพร้อมจะส่ง Mind set ที่มีร่วมกันนั้นไปเปลี่ยนแปลงองค์กรและอุตสาหกรรม”

นายกีโยมทิ้งท้ายด้วยว่า การทรานสฟอร์มโรงงานผลิตยานยนต์สำคัญที่สุด เพราะโลกเปลี่ยนแปลงเร็ว และประเทศไทยอยู่ในตำแหน่งที่ดีในอุตสหกรรมยานยนต์แบบเก่า ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การจะยืนอยู่ในจุดนี้จึงจะไม่ใช่จุดที่ดีอีกต่อไป

เผยความสามารถของเทคโนโลยี Virtual Twin ที่จะช่วยยกระดับศักยภาพของผู้ผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยให้สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วเท่าทันกับความต้องการใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในตลาด