โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

แพทย์ฉุกเฉินขาดแคลน มหาวิทยาลัย 10 แห่ง ตั้งเป้าร่วมกันผลิต 1.5 หมื่นคน

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 03 ส.ค. 2565 เวลา 08.43 น. • เผยแพร่ 03 ส.ค. 2565 เวลา 04.29 น.
แพทย์ หมอ

แพทย์ฉุกเฉินขาดแคลน มหาวิทยาลัย 10 แห่ง ตั้งเป้าช่วยกันผลิตบัณฑิต 1.5 หมื่นคน ช่วยเหลือผู้ป่วยวิกฤตนอกโรงพยาบาล ลดอัตราการเสียชีวิต

วันที่ 3 สิงหาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ที่ผ่านมา ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เป็นประธานเปิดงานและลงนามความร่วมมือกับองค์กรภาคีเครือข่าย 10 สถาบัน ได้แก่ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ, มหาวิทยาลัยมหิดล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยพะเยา, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และสถาบันพระบรมราชชนก

โดยมี ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมตัวแทนผู้บริหารสถานศึกษาและสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ 10 สถาบันร่วมลงนาม “องค์กรภาคีเครือข่าย10 สถาบัน เพื่อผลิตบัณฑิตฉุกเฉินการแพทย์ ด้วยการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา” เพื่อผลิตบัณฑิตฉุกเฉินการแพทย์ที่ตอบโจทย์นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ

ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวว่า การร่วมมือระหว่างรัฐบาลและเอกชน จะสามารถสร้างประโยชน์ต่อประชาชนไทย และประเทศชาติได้อย่างมาก ในปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่ต้องทำงานให้ดี ในปริมาณมาก รวดเร็ว และประหยัด นอกจากนี้จะต้องสวมหัวใจผู้บุกเบิก เพื่อให้ทุกงานออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ด้านศาสตราจารย์คลินิก แพทย์หญิงโฉมศรี โฆษิตชัยวัฒน์ อธิการบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เผยว่า การบริการการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล เป็นงานบริการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบสุขภาพของประเทศ โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า การที่ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตได้รับการปฏิบัติการทางการแพทย์ขั้นสูงตั้งแต่เมื่ออยู่นอกโรงพยาบาล ทำให้มีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ดังนั้นการบริหารการแพทย์ฉุกเฉินจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการทำหน้าที่บริบาลผู้ป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลอันเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ป่วยฉุกเฉิน

ในทางกลับกัน ประเทศไทยได้มีการจัดการศึกษาด้านการแพทย์ฉุกเฉินการแพทย์ระดับปริญญามาแล้วประมาณ 13 ปี จนปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้สำเร็จการศึกษาสาขาฉุกเฉินการแพทย์ที่มีความสามารถในระดับนี้จำนวน 674 คน (ข้อมูลเดือนเมษายน พ.ศ. 2565) และมีอัตราการผลิตบัณฑิตฉุกเฉินการแพทย์เพียงปีละ 180 – 200 รายเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ

สำหรับบทบาทความร่วมมือในครั้งนี้ คือการจัดหาและเตรียมความพร้อมให้อาจารย์ผู้สอน สถาบันฝึกอบรมความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินทุกแห่ง รวมถึงเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติการ และจัดหาอาจารย์ผู้สอน, กระทรวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสภากาชาดไทย

รวมทั้งสถานพยาบาลและหน่วยปฏิบัติการอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉิน บทบาทคือ เป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติการ จัดหาอาจารย์ผู้สอน และครูช่วยฝึกปฏิบัติการ รวมทั้งเป็นผู้ใช้บัณฑิต ระยะเวลาการดำเนินการปีงบประมาณ 2566-2675 โดยเริ่มรับผู้เรียนปีงบประมาณ 2566-2570 เริ่มมีผู้จบการศึกษาปี 2568 เป็นต้นไป คาดว่าจะผลิตบัณฑิตได้ทั้งหมดราว 15,000 คน ในช่วงปีงบประมาณดังกล่าว

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น